ลักษณะของลายสือไทย


ลักษณะของลายสือไทย

มีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลายสือไทยต่างๆกัน บ้างก็ว่ามาจากอักษรปัลลวะ อักษรมอญ

และอักษรขอม     ซึ่งพระองค์คงจะเอาเลือกเอาลักษณะของตัวอักษรที่สะดวกแก่การเขียนมากที่สุด

มาดัดแปลงเป็นอักษรไทย ดังนี้

             - รูปพยัญชนะส่วนใหญ่นั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม บางส่วนก็มาจากปัลลวะ และมอญ
             - รูปสระนั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม มีครบทุกเสียงในภาษาไทย 
             - รูปวรรณยุกต์คิดขึ้นใหม่ทั้งหมด มี ๒ รูป คือ ไม้เอก และไม้โท
             - ตัวเลขนั้นดัดแปลงมาจากตัวเลขขอม

 

คุณลักษณะพิเศษของลายสือไทย คือ ความสูงต่ำของตัวอักษรนั้นเสมอกันและวางรูป

พยัญชนะและสระทุกตัวไว้ในบรรทัดเดียวกัน ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ รูปอักษรมีมากพอ

รูปอักษรส่วนมากเป็นเส้นเดียวกันตลอด ทำให้้เขียนง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องยกปากกา

การเปลี่ยนแปลงอักษรของพ่อขุนรามคำแหง

             ในรัชกาลพญาลิไท ( พ.ศ. ๑๙๐๐ ) การเขียนตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

หลายประการ เช่น
             - รูปสระ อิ อี อื อยู่บนพยัญชนะ อุ อู อยู่ล่าง 
             - รูปสระ ใ ไ โ สูงขึ้นเกินพยัญชนะ
             - เริ่มใช้ไม้หันอากาศบ้าง แต่ยังไม่ใช้ทั่วไป
             - ตัว ญ เขียนเช่นเดียวกับปัจจุบัน
             - เพิ่มตัว ฤา ฦา

             ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ ๒๒๓๑)ได้มีการเปลี่ยนแปลง  

 ลักษณะอักษรและอักขระวิธี ดังนี้

             - ใช้ไม้หันอากาศโดยทั่วไป
             - สระเอีย ใช้เช่นเดียวกับปัจจุบัน ทั้งแบบมีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด
             - สระอือ สระออ เมื่อไม่มีตัวสะกดใช้ อ เคียง
             - สำหรับวรรณยุกต์นั้น สันนิษฐานว่ามีครบ ๔ รูป เช่นเดียวกับปัจจุบัน ดัังหลักฐานที่ปรากฏใ
นหนังสือจินดามณีซึ่งแต่งในรัชกาลนี้

หมายเลขบันทึก: 521495เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท