ความสำคัญของ "ภาษา" เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีประชากรจากต่างประเทศอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ.2558 การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติเสรีก็จะยิ่งทำให้ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศส่งออกและนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น “ภาษา” จึงเป็นกลไลที่สำคัญ ในการติดต่อ สื่อสาร และเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน การพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจึงไม่ควรมีลักษณะที่เป็นชาตินิยมและควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกคนเป็นสำคัญ และเมื่อมนุษย์ในสังคมได้รับการยอมรับและพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน มนุษย์ก็จะมีความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจในที่สุด

ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกซึ่งความต้องการ การอธิบายเหตุผล หรือแม้แต่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคนในสังคม ภาษาจะถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในทุกสถานการณ์ ในทางตรงกันข้าม หากสังคมใดมีข้อจำกัดในการใช้ภาษาแล้ว ปัญหาระหว่างคนในสังคมก็มักจะเกิดขึ้นได้โดยง่ายเช่นเดียวกัน ภาษาจึงเป็นทั้งเครื่องมือในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามและอาจจะส่งผลในด้านลบหากถูกละเลยหรือนำมาใช้อย่างไม่เหมาะสม “การพัฒนาเศรษฐกิจ” ของประเทศเองก็จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่สร้างสรรค์เพื่อผลักดันไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน


การพัฒนาเศรษฐกิจส่งผลประโยชน์ใน 2 ลักษณะ 

ประการแรก การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นยิ่งในการพัฒนาประเทศโดยรวม ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ก็คือ ในปัจจุบันเครื่องมือทางเศรษฐกิจได้กลายเป็นมาตรการในทางระหว่างประเทศเพื่อลงโทษประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกากีดกันการนำเข้ากุ้งของไทย เนื่องจากในอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทยถูกระบุว่าเป็นมีการใช้แรงงานเด็กและการคุ้มครองแรงงานต่ำกว่ามาตรฐานสากล เป็นต้น ในทางกลับกัน เศรษฐกิจก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสันติภาพในทุกพื้นที่ทุกยุคทุกสมัยอีกด้วย อาทิ การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคต่างๆ เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การรวมตัวของประชาคมอาเซียนเองก็เริ่มต้นนำเศรษฐกิจมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศและภูมิภาค 

ประการที่สอง การพัฒนาเศรษฐกิจก็ยังมีสำคัญต่อมนุษย์ในสังคม เมื่อเศรษฐกิจมีการพัฒนา ประชาชนในประเทศมีงานทำ คุณภาพชีวิตของประชากรก็จะถูกยกระดับขึ้น ในท้ายที่สุดความขัดแย้งในประเทศก็จะลดระดับลง


ในทำนองเดียวกัน มนุษย์เองก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในฐานะผู้ประกอบการหรือลูกจ้าง มนุษย์ทุกคนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้เป็นต้นทุนที่ดีของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ มนุษย์ควรมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ในการนี้ “ภาษา” จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นสื่อกลางเพื่อการพัฒนาคนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อมๆ กัน


ดังที่ทราบกันดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีประชากรจากต่างประเทศอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี พ.ศ.2558 การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติเสรีก็จะยิ่งทำให้ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศส่งออกและนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น “ภาษา” จึงเป็นกลไลที่สำคัญ ในการติดต่อ สื่อสาร และเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน การพัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจึงไม่ควรมีลักษณะที่เป็นชาตินิยมและควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกคนเป็นสำคัญ และเมื่อมนุษย์ในสังคมได้รับการยอมรับและพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน มนุษย์ก็จะมีความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจในที่สุด


ท้ายนี้ เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึง “การยอมรับความต่างของสมาชิกประเทศ” เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกที่จะผลักดันให้ความร่วมมือประสบความสำเร็จ และเมื่อความต่างไม่อาจเป็นอุปสรรคแล้ว “ภาษากลาง หรือ วิธีการในการสื่อสาร ที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน” ก็จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้คนที่พูดต่างภาษาและมาจากต่างวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนเข้าใจกันได้ และร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด

หมายเลขบันทึก: 520786เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

.... ภาษาสำคัญมาก ... ต่อการสื่อสาร นะคะ .... ขอบคุณมากค่ะ ..... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท