สถานะของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย


ผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR เป็น “บุคคลในความห่วงใยของ UNHCR” ดังนั้นจึงมีสิทธิถูกส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม และจะไม่ถูกขับออกจากประเทศไทย
          คราวที่แล้วเราได้พูดถึงว่าผู้ลี้ภัย คือบุคคลประเภทใดไปแล้ว มาคราวนี้จึงอยากจะพูดถึงสถานะ สภาพของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยบ้าง

            เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่นข้ามชาติและมีการพัฒนานโยบายภายในประเทศที่ไม่ครอบคลุมทุกด้าน จึงส่งผลให้นโยบาย และโครงการต่างๆของรัฐบาลเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติยังไม่ครบถ้วนและคลุมเครือ

             แม้ประเทศไทยได้ให้ที่หลบภัยแก่กลุ่มบุคคลที่หนีภัยจากการสู้รบ หรือการปราบปรามทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน แต่ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญา ค..1951 ว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย หรือในพิธีสาร ค.. 1967 ของอนุสัญญาดังกล่าว  อีกทั้งไม่มีกฎหมายไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ หรือการได้รับความคุ้มครองที่ผู้ลี้ภัยพึงจะได้รับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม  กฎหมายไทยไม่ได้นิยามความหมายของ ผู้ขอลี้ภัย หรือ ผู้ลี้ภัย” เอาไว้   ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงมักตกเป็นบุคคลที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย อันจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆตามมาอีก  อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีช่องว่างเหล่านี้ แต่รัฐบาลไทยก็ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ UNHCR ในการจัดการกับผู้ขอลี้ภัย ซึ่งในทางปฏิบัติ ถือว่าบุคคลที่ UNHCR ขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ขอลี้ภัยหรือผู้ลี้ภัย เป็น บุคคลในความห่วงใยสำหรับ UNHCR” และให้ความคุ้มครองแก่คนเหล่านี้

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.. 2522 (แก้ไขเมื่อ พ.. 2535) ผ่อนผันให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลเลี่ยงการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้อย่างเข้มงวด โดยอาศัย มาตรา 17 ซึ่งระบุว่า ในสถานการณ์พิเศษ  รัฐมณตรี(มหาดไทย) โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมณตรี สามารถอนุญาตให้บุคคลหนึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข หรือละเว้นการบังคับใช้พระราชบัญญัตินี้ต่อคนต่างด้าวรายใดได้ ภายใต้มาตรานี้ ข้อบังคับทางการบริหารได้ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมการรับบุคคลเฉพาะกลุ่มเข้าประเทศ และให้อยู่ในประเทศ รวมทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัย มาตราผ่อนปรนนี้ทำให้รัฐบาลไทยสามารถผ่อนผันให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบ 117,000 คนจากประเทศพม่าเข้าพักพิงในศูนย์อพยพในประเทศไทย แม้รัฐบาลจะไม่ถือว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ลี้ภัย และไม่ได้รับการพิจารณาเพื่อกำหนดสถานะผู้ลี้ภัยโดย UNHCR

แต่คนย้ายถิ่นในประเทศไทยที่อยู่ในสถานะผิดกฎหมายอาจตัดสินใจยื่นขอสถานะ ผู้ลี้ภัยต่อ UNHCR อย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงได้รับการรับรองจาก UNHCR ให้เป็นผู้ขอลี้ภัย ( และเป็น ผู้ลี้ภัยในที่สุด ) แต่ดังได้กล่าวแล้วว่า  ในทางปฏิบัติ รัฐบาลจะถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็น บุคคลในความห่วงใยของ UNHCR” หาได้ใช้ชื่อว่าเป็น "ผู้ลี้ภัย" ไม่ แต่ทั้งนี้บุคคลเหล่านี้ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR ไว้นั้น รัฐไทยจะถือว่าพวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิที่จะถูกส่งตัวออกไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามได้ และจะไม่ถูกขับออกจากประเทศไทย

รัฐบาลไทยถือว่า ผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR เป็น บุคคลในความห่วงใยของ UNHCR” ดังนั้นจึงมีสิทธิถูกส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม และจะไม่ถูกขับออกจากประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้บัญญัติกฏหมายใดขึ้นมาเพื่อจัดการกับผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะ (นอกจากแผนดำเนินการกับผู้ลี้ภัยชาวอินโดจีน (CPA) เมื่อเดือนมีนาคม 2532) จึงต้องถือว่าบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นผู้ย้ายถิ่นโดยผิดกฏหมายภายใต้กฏหมายคนเข้าเมืองของประเทศไทยและต้องถูกจับกุม ดำเนินคดี กักกันตัวละส่งกลับประเทศ  

            แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ให้ที่พักพิงแก่บุคคลที่หลบหนีความขัดแย้งและการปราบปรามทางการเมือง ( ผู้หนีภัยจากการสู้รบ ) จากประเทศไทยใกล้เคียงมานานแล้ว และได้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ โดยการส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม หรือ ส่งกลับถิ่นที่อยู่เดิม     ผู้หนีภัยจากการสู้รบแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  

            กลุ่มแรกประกอบด้วยบุคคลที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพใกล้ชายแดนประเทศพม่าซึ่งรัฐบาลไทยถือว่าเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบ ผู้หนีภัยจากการสู้รบในศูนย์อพยพจะตกอยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาลไทย และไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นขอให้ UNHCR กำหนดสถานะเป็นผู้ลี้ภัยได้

             กลุ่มที่สอง ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่ามาก ประกอบด้วยบุคคลที่ข้ามมาในกรุงเทพ และแม่สอด เพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR บางครั้งคนเหล่านี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง” (urban refugees) และโดยทั่วไป รัฐบาลไทยยอมรับว่าเป็น บุคคลในความห่วงใยของ UNHCR “ เมื่อได้ยื่นขอสถานะต่อ UNHCR บุคคลเหล่านี้จะถูกถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยจริงเขาย่อมมีสิทธิไปตั้นถิ่นฐานในประเทศที่สาม ถ้าประเทศนั้นยอมรับเขา ในกรณีนี้อีกเช่นกันที่กฏหมายไทยไม่ได้กำหนดประเภทของ ผู้ขอลี้ภัยหรือ ผู้ลี้ภัยแต่ในทางปฏิบัติ หน่วยราชการไทยอนุญาตให้ บุคคลในความห่วงใยของ UNHCR “ เหล่านี้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ จนกว่ากรณีจะได้ข้อยุติ 

              กลุ่มที่สาม ประกอบด้วยชาวม้งสัญชาติลาวประมาณ 15,000 คน ซึ่งพักพิงอยู่ที่วัดถ้ำกระบอก ในจังหวัดสระบุรี และส่วนหนึ่งได้ไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2547 สถานการณ์ของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากสองกลุ่มแรก เพราะไม่เคยผ่านการ    กลั่นกรองให้เป็น  ผู้ลี้ภัยภายใต้แผนดำเนินการกับผู้ลี้ภัยชาวอินโดจีน (CPA) และ UNHCR ไม่เคยดำเนินการกำหนดสถานะผู้ลี้ภัยเฉพาะรายให้คนเหล่านี้ แต่ สหรัฐอเมริกาได้ตกลงรับคนเหล่านี้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศ และกระบวนการตั้งถิ่นฐานได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2547

               ผู้หนีภัยจากการสู้รบที่ได้พักพิงในศูนย์อพยพตามแนวชายแดนได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราวแต่จะถูกห้ามออกเดินทางไปนอกศูนย์อพยพ ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้คนเหล่านี้ทำงาน  อันเกิดปัญหาตามมาคือ บุคคลเหล่านี้แอบออกจากศูนย์เพื่อหางานทำ และรายได้ที่แน่นอน ทำให้กลายเป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้าประเทศไทยอย่างผิดระเบียบ กล่าวคือ ลักลอบเข้าเมืองมา ซึ่งตามกฎหมายไทยนั้นก็จะถือว่าบุคคลพวกนี้เป็น "บุคคลเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย"

 

 
หมายเลขบันทึก: 52070เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับที่ทำให้ผมได้รับความรู้เรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท