(๗.) " การจัดการบุคคลกับประวัติศาสตร์ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ "


 

 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ? 

               พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่เริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ หรือ ปี   พ.ศ.๒๔๔๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ ) โดยใช้ชื่อว่า  พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ รัตนโกสินทร์  ศก  ๑๑๖  

             ต่อมาในปี  พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖ ) ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๖ ของเดิม แล้วตราเป็น พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗    ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๐ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๕๗ โดยให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ คนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ตามประกาสประธานสภาผู้แทนราสดร  ได้รับสนองพระบรมราชโองการโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราสดรตรา พระราชบัญญัติลักสนะปกครองท้องที่(ฉบับที่ ๒) พุทธสักราช ๒๔๘๖ ขึ้นภายในพระปรมาภิไธยสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ( รัชกาลที่ ๘ ) ประกาสใช้ในราชกิจจานุเบกสาเล่มที่ ๖๐ ตอนที่ ๑๔ ลงวันที่ ๙ มีนาคม พุทธสักราช ๒๔๘๖  โดยให้บังคับใช้นับแต่วันประกาสในราชกิจจานุเบกสาเป็นต้นไป

            ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่๙) คณะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รับสนองพระบรมราชโองการโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่(ฉะบับที่๓) พ..ศ.๒๔๘๙ โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๖๓ ตอนที่ ๘๓ ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙  และให้มีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

               ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ รัชกาลที่ ๙ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๔ )       พ.ศ.๒๕๑๐ ”     ขึ้นเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับก่อนๆ     

               นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาอีกหลายครั้ง คือฉบับที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ , ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๒๗, ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๓๒, และฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๕  จนมาถึงฉบับที่ ๑๐ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒

จุดมุ่งหมายในการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่  ?

           เพื่อจัดระเบียบการปกครองในท้องที่ต่างๆของสยามประเทศ  เป็นการวางรากฐานในการปกครองประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

        โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ  หากเป็นการปกครองในเขตกรุงเทพฯเป็นไปตาม "ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร" แต่ถ้าเป็นอำเภอชั้นนอกกรุงเทพฯและหัวเมืองต่างๆที่เป็นมณฑลเทศาภิบาล ก็ให้เป็นไปตาม "พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457"     

 

เนื้อหาของพระะราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่  ?

                พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ประกอบด้วย 5 หมวด โดยหมวดแรกว่าด้วยนาม(ชื่อของพระราชบัญญัติ) และการใช้พระราชบัญญัติ โดยได้กล่าวไว้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการปกครองราชอาณาจักร

               ถัดมาเป็นหมวดที่ 2  เกี่ยวกับการบัญญัติคำนิยามของศัพท์ที่ใช้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

              ต่อด้วยหมวดที่ 3  เกี่ยวกับลักษณะการจัดการปกครองแบบหมู่บ้าน โดยกล่าวถึงการตั้งหมู่บ้าน และหมู่บ้านชั่วคราว  กล่าวถึงการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และอำนาจหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวว่ามีขอบเขตแค่ไหนเพียงใด

              จากนั้นก็เป็นหมวดที่ 4  ว่าด้วยลักษณะของการจัดการปกครองในตำบล โดยได้กล่าวถึง  วิธีการและเงื่อนไขในการตั้งตำบล  วิธีการแต่งตั้งและออกจากตำแหน่งของกำนัน  รวมถึงอำนาจหน้าที่ของกำนัน  นอกจากนี้ยังได้บัญญัติวิธีการแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของแพทย์ประจำตำบล  รวมไปถึงขั้นตอนและวิธีการในการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการตำบล กรรมการหมู่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบทบัญญติเกี่ยวกับวินัยของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

             และในหมวดที่ 5  ซึ่งเป็นหมวดสุดท้าย ได้บัญญัติถึงลักษณะของการจัดการปกครองอำเภอ โดยกล่าวถึง  วิธีการและหลักเกณฑ์ในการตั้งอำเภอ และกิ่งอำเภอ  นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการการจัดตั้งกรมการอำเภอ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจหน้าที่ในการปกครองท้องที่  ในการป้องกันภยันตรายของราษฎร หน้าที่รักษาความสงบในท้องที่ รวมไปถึงหน้าที่เกี่ยวกับคดีแพ่ง และคดีอาญา  หน้าที่ป้องกันโรคร้าย หน้าที่บำรุงการทำนาค้าขายป่าไม้และทางไปมาต่อกัน หน้าที่บำรุงการศึกษา หน้าที่เก็บภาษีอากร และหน้าที่เบ็ดเตล็ด

บทสรุป

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 52065เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ทำไมบทสรุปไม่มีล่ะคะ ลืมหรือเปล่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท