2.เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในกระบวนการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง


                      

คุณภาพชีวิต(quality of life) หมายถึง สภาวะความพร้อมของบุคคลทั้งในด้านร่างกาย
จิตใจ และด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะสามารถส่งผลให้คุณภาพชีวิต 
อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ดังนั้นพัฒนาคุณภาพชีวิตก็จะเป็นการส่งเสริมให้เขามีชีวิตที่ดี ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูองค์ประกอบต่างๆของผู้ป่วยซึ่งพิจารนาได้จาก   เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ประกอบไปด้วย 8 หมวด 37 ตัวชี้วัด ได้แก่

  หมวดที่ 1 สุขภาพดี
(ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดี)

  หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย
(ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม)  

  หมวดที่ 3 ศึกษาถ้วนทั่ว
(ประชาชนเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต)

  หมวดที่ 4 ครอบครัวสุขสบาย  

  หมวดที่ 5 รายได้มาก
(ประชาชนมีการประกอบอาชีพ และมีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีวิต)  

 หมวดที่ 6 อยากร่วมพัฒนา (ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่และกำหนดชีวิตของตนเองและชุมชน) 

  หมวดที่ 7 พาสู่คุณธรรม (ประชาชนมีการพัฒนาจิตใจของตนเองได้ดีขึ้น) 

  หมวดที่ 8 บำรุงสิ่งแวดล้อม
(ประชาชนมีจิตสำนึก และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)  



   ในทางกิจกรรมบำบัดเราจะสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

- แนะนำผู้ป่วยไปรับการรักษาตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้อาการทรุดลง 

- เพิ่มความแข็งแรง กำลังกล้ามเนื้อ และ ช่วงการเคลื่อนไหว

- วางแผน-ช่วยออกแบบการทำกิจกรรมให้ตามความชอบของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกายเบาๆผ่านเกมเป็นต้น

- ให้เทคนิคการรักษาพิเศษ เช่น การเตือนความจำด้วยแผนภาพสี
การทำซ้ำเพื่อให้เกิดความเคยชิน หรือ การลดขั้นตอนในการทำกิจกรรมให้ง่ายขึ้น

- ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมอาการและความต้องการของผู้ป่วย เช่น
ราวจับที่ห้องน้ำ แผ่นกันลื่น อุปกรณ์ช่วยเดิน เก้าอี้ล้อเข็น เสริมด้ามจับอุปกรณ์ให้จับง่ายเป็นต้น

- ปรับรูปแบบการใช้ชีวิตบางอย่างให้เข้ากับผู้ป่วย เช่นเปลี่ยนห้องนอนจากนอนชั้น 2
ลงมานอนชั้นล่างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ 

- แนะนำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ ไขมัน

เพิ่มระดับสติปัญญา กระบวนการคิด และ ความจำให้ผู้ป่วยของผู้ป่วย 

- ใช้กิจกรรมในการฝึกทักษะทางอาชีพเพื่อให้เขากลับไปทำงานได้

- และติดตามอาการอยู่เสมอ

หากเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วอาการป่วยก็มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นได้ตามลำดับ





อ้างอิง

Quality of life available from : dit.dru.ac.th/home/003/personal_download/suvannee/part7.ppt.

[22 กุมภาพันธ์ 2556]

#5423007

หมายเลขบันทึก: 520428เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 02:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท