การเพิ่มสุขภาวะ (well being) ให้กับผู้ป่วยสมองพิการ (cerebral palsy)


            

(อ้างอิง : http://www.tobii.com/en/assistive-technology/global/disabilities/common-disabilities/cerebral-palsy/)


ผู้ป่วยสมองพิการนั้นนอกจากจะมีความบกพร่องทางร่างกายที่เราต้องทำการฟิ้นฟูแล้ว เราจะต้องคำนึงถึงความสุขของเขาด้วย โดยดิฉันคิดว่า นักกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนไปช่วยเพิ่มความสุขของผู้ป่วยได้ดังนี้

-  ทางความคิด ปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติของผู้ป่วย หรือของญาติผู้ป่วยเองให้เข้าใจถึงสภาพและปัญหาความบกพร่องของผู้ป่วย ซึ่งญาติ หรือคนใกล้ชิดของผู้ป่วยนั้นถือเป็นกำลังใจสำคัญในการพัฒนาความสุขของผู้ป่วย

-  ทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางสังคมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสุขของผู้ป่วย สังคมควรเปิดโอกาสและให้การยอมรับ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด

-  ทางกายภาพ ควรให้ผู้ป่วยมี ความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า (self-values) มั่นใจในตนเอง (self-confident) รู้ถึงความสามารถของตนเอง(self-efficancy) และรู้จักให้ผู้อื่น (self-empowerment)

-  ให้กิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจ อยากทำ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย และก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ตัวผู้ป่วยเองและส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสุขในการทำกิจกรรมนั้นๆ

-  ให้กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เรียนรู้ด้วยการเล่น การอยู่ร่วมกัน เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคม เกิดความพยายามที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ป่วยมีความภาคภูมิในตัวเอง ซึ่งเป็นความสุขจากการเรียนรู้

ในกระบวนการเพิ่มความสุข( well-being) ให้ผู้ป่วยนั้น เราจะต้องเพิ่มคุณภาพชีวิต (quality of life) ของผู้ป่วยก่อน ถ้าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว จะส่งผลให้มีความสุขตามมา


หมายเลขบันทึก: 520414เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท