ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในผู้ป่วย สมองพิการ (Cerebral palsy)


                           

                                      ( อ้างอิง : http://health.kapook.com/view10046.html)

            โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่องหรือสูญเสีย ทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว

ลักษณะ/อาการ

กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ผู้ป่วยเด็กสมองพิการบางรายอาจมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วย เช่น บกพร่องการได้ยิน การมองเห็น หรือการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละคนจะเป็นมากน้อยแตกต่างกัน

สาเหตุ

โรคสมองพิการเกิดได้จากหลายสาเหตุ

1.  ระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากแม่ติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษ ได้รับอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ทำให้เด็กทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน หรือได้รับการกระทบกระเทือน ในต่างประเทศมีรายงานภาวะเลือดออกในสมองที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและระบบประสาท บางรายเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองของทารกในครรภ์

2.  ระหว่างคลอด เช่น คลอดยาก รกพันคอ แม่ได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อต่างๆ

3.  หลังคลอด เช่น ภาวะตัวเขียวหลังคลอด เด็กมีการติดเชื้อในช่วงสัปดาห์แรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และโรคสมองอักเสบจากไวรัส บางรายพบว่าเกิดจากเด็กอาจจะได้รับอุบัติเหตุหรือกระทบกระเทือนกับสมอง หรือสารพิษ

กระบวนการเพิ่ม Occupational Performance

            จากการที่ทำการศึกษาโรคนี้แล้ว มีกระบวนการเพิ่มความสามารถทางกิจกรรมบำบัด โดยพิจารณาจากสาเหตุและลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นเชิงวิทยาศาสตร์ ได้ดังนี้

-  อาศัย ICF Model

                          

( อ้างอิง: http://www.rehab-scales.org/international-classification-of-functioning-disability-and-health.html )

Health Condition

          ความบกพร่องของร่างกายคนไข้ กรณีโรคสมองพิการนั้นมีความบกพร่องทางร่างกาย อย่างเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี บางรายอาจมีความบกพร่องการได้ยิน การมองเห็น หรือการเรียนรู้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต่างมีผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย

Body Functions & structures

           หน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกายที่บกพร่องหรือผิดปกติก็จะส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคสมองพิการนั้นสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่องหรือสูญเสีย ทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว และปัญหาความบกพร่องด้านอื่นๆตามมา

Activity

            ความบกพร่องของร่างกายที่ผู้ป่วยมีอยู่ ไปจำกัดการทำกิจกรรมของผู้ป่วย  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ผ่านการเล่น  หรือการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคี้ยว การกลืน นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยเรื่องการกระตุ้นการกลืนในผู้ป่วยที่กลืนผิดปกติ ในการรับประทานอาหาร การจับช้อน อาจมีอุปกรณ์ช่วยหรืออุปกรณ์เสริมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้สะดวกมากขึ้น การถอด-ใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ นักกิจกรรมจะช่วยเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ขั้นตอนอย่างถูกวิธี

Participation

            ความบกพร่องของร่างกายที่ผู้ป่วยมีอยู่ ไปจำกัดการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้ป่วย อย่างเช่น การเข้าโรงเรียน  การเข้าร่วมสังคมของผู้ป่วยนักกิจกรรมบำบัดจะเน้นในเรื่องการเตรียมความพร้อมทางการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การเตรียมความพร้อมทางด้านอาชีพ ซึ่งผู้ป่วยสมองพิการจะต้องได้รับฟื้นฟูในทุกด้านตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

1)  Environmental factors (ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม) อย่างเช่น สภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ นักกิจกรรมบำบัดควรปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับสภาพความพิการของเด็ก เช่น การทำทางลาด การทำราวฝึกเดิน การปรับพื้นห้องไม่ให้ลื่นหรือหยาบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง การปรับโต๊ะ-เก้าอี้ การปรับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ หรือการฝึกกิจวัตรต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กสามารถเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนย้ายตนเองได้อย่างปลอดภัย  หรือการให้กำลังใจจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มความสามารถของผู้ป่วยด้วย

2)  Personal factors (ปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วย)  ในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับความสุขของผู้ป่วยด้วย ว่าในการทำกิจกรรมนั้นผู้ป่วยมีความสุข ชอบ หรือไม่ชอบในการทำกิจกรรมนั้นๆ

การที่ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นนั้นนอกจากจะคำนึงถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของผู้ป่วยแล้วนั้นเราต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย 


อ้างอิงข้อมูล

         นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ.โรคสมองพิการ (cerebral palsy).นิตยสารการศึกษาอัพเกรด .2552.Available from: http://www.meedee.net/magazine/med/opd-guide


หมายเลขบันทึก: 520384เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท