โอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการเเสดง


โอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง

เพลงหน้าพาทย์  ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ ผู้แสดงต้องรำตามทำนองที่ปี่พาทย์บรรเลงให้ถูกต้อง  โดยเฉพาะการแสดงโขน ในเรื่องรามเกียรติ์ มี พระ นาง ยักษ์ ลิง  และยังมี เทวดา นางฟ้า ฤษี ก็ต้องมีการใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงทั้งนั้น  โดยเฉพาะผู้เป็นตัวยักษ์ จะใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงมากกว่า  เพราะยักษ์ต้องเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เดินเรื่องให้เกิดเหตุการณ์ ฉะนั้นต้องแสดงอิทธิฤทธิ์และอภินิหาร  แสดงความกล้าหาร  แข็งแรง เสียมากกว่า พระ นาง ลิง ตลอดจนเทวานางฟ้า

    สาธุการ      เป็นเพลงที่มีความศักดิ์สิทธิ์  และเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง   ซึ่งแสดงถึงความเคารพบูชา  พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์   รวมทั้งครูบาอาจารย์  เทพยดา  นอกจากจะใช้บรรเลงประกอบการรำแล้ว ยังใช้ประกอบพิธีไหว้ครู  และงานอันเป็นมงคล แสดงพระธรรมเทศนาตอนที่พระสงฆ์ขึ้นธรรมมาศน์  หรือมีการเทศน์มหาชาติ  ส่วนท่ารำใช้ได้ทั้ง  ฤๅษี พระ นาง ยักษ์ ลิง เทวดา ผู้บรรเลงจะต้องยึดผู้แสดงเป็นหลัก จะต้องจบให้ทัน การแสดงโขนที่ใช้เพลงสาธุการประกอบ เช่น ตอนศึกสามทัพ  จองถนน  นอกจากนั้นยังมีปรศุรามรำลึกถึงพระนารายณ์เพื่อให้ช่วยพ้นคำสาบพระแม่อุมา   และตอนพระคเณศเสียงา

เพลงเชิดเพลงเสมอ       ใช้ประกอบกิริยาไปมาระยะไกลๆ หรือจะยกทัพจับศึก ต้องใช้เพลงเชิดทั้งนั้น  เพราะมีทำนองรุกเร้ายั่วยุ  เร้าใจต่อผู้ชมและผู้แสดง   เพลงเสมอมาจากภาษาเขมรว่า  ทะเมอ  แปลว่าเดิน  เพลงเสมอนี้ เหมาะกับกิริยาเดินทางใกล้ๆ ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้บรรจุท่ารำใหม่และตั้งชื่อว่า  เสมอควง การใช้เพลงเชิด เพลงเสมอเรียงกันไป เรียกว่า  เพลงเชิดฉิ่ง  เพลงเชิดฉิ่งสามารถนำมาประกอบการรำได้ทั้ง  พระ  นาง ยักษ์ ใช้ในตอนสำคัญๆ

เชิดฉาน          ใช้ได้เฉพาะตัวแสดงที่เป็นพระ  เช่นพระรามในเรื่องรามเกียรติ์  หย่าหรันในเรื่องอิเหนา  ใช้ในตอนพระรามตามกวาง  หย่าหรันตามนกยูง

เชิดนอก          เป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง    ใช้กับตัวแสดงที่เป็นลิง  คือ          หนุมาน

เสมอสามลา      เพลงเพลงหน้าพาทย์สูงเพลงหนึ่ง   ใช้เฉพาะในการแสดงโขนเท่านั้น  และตัวแสดงจะใช้เพลงนี้ต้องเป็นผู้สูงศักดิ์พอสมควร เช่น พระใหญ่ (พระราม พระลักษณ์)  ยักษ์ใหญ่(สหัสเดชะ  ทศกัณฑ์)หรือยักษ์อุปราชเช่น

                   กุมภกรรณ หรือยักษ์ต่างเมืองเป็นต้น  ใช้เดินทางระยะใกล้ๆ

เสมอมาร         ใช้กับผู้แสดงที่เป็นยักษ์เท่านั้นหรือตามสภาพของตัวละครนั้นๆ  ตัวละครอื่นนำไปใช้ไม่ได้ ถือว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงเพลงหนึ่งที่ใช้ประกอบการแสดงโขน

          เสมอเถร          ใช้กับนักแสดงที่เป็นพระพรต ฤษีเท่านั้น คำว่า เถร หมายถึง  ผู้ทรงศิล

เสมอผี            เพลงนี้จะได้ยินปีละครั้ง  คือตอน ไหว้ครู โขน ละคร ที่ประธานในพิธีไหว้ครู  จะเชิญบรรดาภูตผีต่างๆ มากินเครื่องสังเวย  หลังจากเทพยาดา  ครู  อาจารย์ ที่อยู่บนสรวงสวรรค์ลงมาประทับเสวยเสร็จแล้ว พวกผีต่างๆก็จะกินต่อ

เสมอตีนนก       บาทสกุณี ใช้ประกอบท่ารำพระราม  พระลักษณ์ในการแสดงโขน  หรือตัวพระที่เป็นพระใหญ่ พระน้อย ตลอดจนเทวดาต่างๆ  เช่น  พระนารายณ์ พระพรหม เป็นต้น

          เสมอข้ามสมุทร  เป็นการเดินทางทั้งกองทัพ ใช้ใน  ตอน จองถนน

พญาเดิน         ใช้สัญจรไปต่างเมืองของยักษ์ผู้สูงศักดิ์  ไปจนยักษ์อุปราช  เป็นเพลงที่ใช้กับยักษ์เท่านั้น  ส่วนมากใช้ตอนเข้าเฝ้า

ตระ               เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่จัดอยู่ในประเภทเพลงครู  ความหมายในทางศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น

ตระนิมิต          เป็นเพลงหน้าพาทย์ในการแปลงกาย  หรือนิมิตสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา  ใช้กับตัวละคร  พระ  นาง  ยักษ์  ลิง  ส่วนมากใช้กับตัวที่สำคัญ

ตระสันนิบาต     ใช้สำหรับทำพิธีต่างๆ  หรือเป็นการเชิญเทวดามาชุมนุม  ใช้ได้กับ  พระ  นาง  ยักษ์ 

ตระบรรทมไพร  หมายถึง  การนอนป่า  หรือการรอนแรมในป่าดงพงไพร   ใช้กับพระรามโดยเฉพาะ

ตระนอน          ใช้ประกอบกิริยาการนอน   ใช้ได้ทุกตังละคร

ตระบรรทมสินธิ์  หรือตระนารายณ์บรรทมสินธิ์  ใช้  กับพระนารายณ์เท่านั้น

ตระบองกัน       ใช้ในพิธีการต่างๆ  จะใช้ในการแปลงตัว  สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของตัวละคร

ชำนาญ           ใช้ในพิธีการต่างๆ  จะใช้ในการแปลงตัว  สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของตัวละคร

          พราหมณ์เข้า    ใช้กับตัวแสดงผู้สูงศักดิ์สำหรับพระ  ยักษ์  ส่วนมากจะเป็นยักษ์

          พราหมณ์ออก   ใช้ต่อจากพราหมณ์เข้า  คือเสร็จพิธีกรรมผู้ประกอบพิธีการผู้ประกอบ                                                                                    พิธีกรรมออกจากพิธี

          โคมเวียน         ใช้สำหรับเทวดาจะมาร่วมประชุมในพิธีการต่างๆ  มากันเป็นจำนวนมาก

          กลม              ใช้สำหรับเทวดาชั้นสูง  หรือเทวดาผู้ใหญ่

          โล้                 ใช้ประกอบกิริยาการสัญจรทางน้ำ

          ปฐม              เป็นเพลงหน้าพาทย์หนึ่งในชุดโหมโรง  เกี่ยวกับการจัดทัพ

          กราวใน          กราวนอก  ใช้ต่อจากเพลงปฐม  ประกอบการยกทัพ

          รัวสามลา        ใช้กับกิริยาโกรธเคืองหรือแผลงฤทธิ์  ใช้กับพระ  นาง  ยักษ์  ลิง

          เพลงคุกพาทย์  แสดงเดช  แสดงอารมณ์ของผู้มีฤทธิ์

หมายเลขบันทึก: 520382เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนถามอาจารย์ครับ เพลงเชิดนอก สามารถใช้ในฉากที่หนุมานรบกับพระอินทร์(อินทรชิตจำแลง)ได้หรือไม่ครับขอบพระคุณวิทยาทานมากครับ

เรียนถามอาจารย์ครับ เพลงเชิดนอก สามารถใช้ในฉากที่หนุมานรบกับพระอินทร์(อินทรชิตจำแลง)ได้หรือไม่ครับขอบพระคุณวิทยาทานมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท