เพลงหน้าพาทย์ประกอบการโหมโรง


เพลงหน้าพาทย์ประกอบการโหมโรง

          เพลงโหมโรงนั้นเป็นเพลงที่ประกาศให้ประชาชนทั่วไปนั้นทราบว่าสถานที่แห่งนี้จะมีการประกอบพิธีการทางศาสนา  หรือมีการแสดงต่างๆ    เพื่อเป็นการเชิญชวนประชาชนให้มาชมการแสดง  และเป็นการอัญเชิญเทพ  เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาประชุมในบริเวณงาน  จะได้เป็นสิริมงคล แก่ร่วมพิธีและผู้แสดง    นอกจากนี้ เพลงโหมโรง  ได้แบ่งเวลาเป็นประเภทไว้ดังนี้

๑.  เพลงชุดโหมโรงเย็น

๒.  เพลงชุดโหมโรงเช้า

๓.  เพลงชุดโหมโรงกลางวัน

๔.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดงโขน

๕.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดงละคร

๖.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดงหนังใหญ่

๗.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดงหุ่นกระบอก

๘.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดงเทศน์

เพลงโหมโรงต่างๆ  ได้เรียงลำดับไว้เป็นชุดๆ  มีดังนี้

 ๑.  เพลงชุดโหมโรงเย็น  ประกอบด้วย

๑.๑    เพลงสาธุการ

๑.๒    เพลงตระสันนิบาต

๑.๓    สามลา

๑.๔    เพลงต้นชุบ

๑.๕    เพลงเข้าม่าน

๑.๖    เพลงปฐม   เพลงท้ายปฐม

๑.๗    เพลงลา

๑.๘    เพลงเสมอรัวลาเดียว

๑.๙    เพลงเชิดชั้นเดียว  และ  สองชั้น

๑.๑๐  เพลงกลม

๑.๑๑  เพลงชำนาญ

๑.๑๒  เพลงกราวใน

๑.๑๓  เพลงลา

       ๒. เพลงโหมโรงเช้า   เพลงชุดโหมโรงเช้า     จะบรรเลงเฉพาะช่วงเช้า  จะไม่บรรเลงในเวลาอื่น  เพลงโหมโรงเช้า  ถ้าพิจารณา  จะเห็นว่าเป็นการอัญเชิญเทพเทวดาทั้งปวง   เช่น

๒.๑   เพลงสาธุการ

  ๒.๒  เพลงเหาะ   

  ๒.๓  เพลงรัวลาเดียว

  ๒.๔  เพลงกลม

  ๒.๕  เพลงชำนาญ

๓.  เพลงชุดโหมโรงกลางวัน    เพลงชุดโหมโรงกลางวัน  เป็นการโหมโรงประกอบ  การแสดงมหรสพ    ที่แสดงในช่วงบ่าย    ซึ่งประกอบด้วยเพลงต่างๆ  ดังนี้

๓.๑    กราวใน

๓.๒   เพลงเชิด

๓.๓   เพลงชุบ

๓.๔   เพลงลา

๓.๕   รัวลาเดียว

๓.๖    เสมอข้ามสมุทร

๓.๗    เพลงรัวสามลา

๓.๘    เพลงตระบองกัน

๓.๙    เพลงรัว

๓.๑๐  เพลงรุกร้น

๓.๑๑  เพลงแผละ

๓.๑๒  เพลงปลูกต้นไม้

๓.๑๓  เพลงชายรัว

๓.๑๔  เพลงเหาะ

๓.๑๕  เพลงโล้

๓.๑๖  เพลงเชิดฉาน

๓.๑๗  เพลงวา

       ๔.  เพลงโหมโรงประกอบการแสดง (การแสดงโขนและละคร)      โดยทั่วไปการแสดงมหรสพจะต้องมีการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง   ต้องมีการโหมโรงเพื่อเรียกคนดู   และเป็นการเคารพบูชา   เทพเทวดา  ตลอดจน   ครู   อาจารย์   ที่ได้สั่งสอนมา    ระดับของเพลงมีดังนี้

๑.      สาธุการ

๒.     เพลงตระ

๓.     เพลงรัวสามลา

๔.     เพลงต้นชุบ หรือต้นเข้าม่าน

๕.     เพลงเข้าม่าน

๖.      เพลงปฐม

๗.     เพลงลา

๘.     เพลงเสมอ

๙.      เพลงรัวลาเดียว

๑๐.  เพลงเชิด ๒ ชั้น

๑๑.  เพลงเชิดชั้นเดียว

๑๒.  เพลงกลม

๑๓.  เพลงชำนาญ

๑๔.  เพลงกราวใน

๑๕.  เพลงต้นชุบ

๑๖.  เพลงลา

๑๗.  เพลงวา

๕.  เพลงชุดโหมโรงหนังใหญ่   การแสดงโหมโรงหนังใหญ่มี  ข้อเหมือน  และข้อแตกต่างกับการบรรเลงโหมโรงการแสดงโขนละคร  คือมาจาการบรรเลง เพลงชุดโหมโรงเย็น แต่แตกต่างกันคือ   จะหยุดบรรเลงที่เพลงเสมอ   เริ่มเปิดหน้าพระพากย์สามตระ และก็เริ่มการแสดงหนังใหญ่เพลงชุดโหมโรงใหญ่ประกอบด้วยเพลงดังนี้

๕.๑  สาธุการ

๕.๒  ตระ

 ๕.๒.๑  เพลงตระหญ้าปากคอก

๕.๒.๒  เพลงตระปลายพระลักษณ์

๕.๒.๓   เพลงตระมารละม่อม

๕.๓  เพลงรัวสามลา

๕.๔  เพลงต้นชุบ

๕.๕  เพลงเข้าม่าน

๕.๖  เพลงปฐม

๕.๗  เพลงลา

๕.๘  เพลงเสมอ

       ๖.เพลงชุดโหมโรงหุ่นกระบอก เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองชิ้น  คือ  ซออู้  และ กลองต๊อกแต๋ว

เพลงโหมโรงการแสดงหุ่นมีดังนี้

๑.  เพลงสาธุการ

๒.  เพลงตระ  (ตระหญ้าปากคอก , ตระปลายพระลักษมณ์ , ตระมารละม่อม )

๓.  เพลงรัวสามลา

๔.  เพลงต้นชุบ

๕.  เพลงเข่าม่าน

๖.  เพลงปฐม  เพลงท้ายปฐม

๗.  เพลงลา

๘.  เพลงเสมอ-รัวลาเดียว

๙.  เพลงเชิดสองชั้น-เชิดชั้นเดียว

๑๐.  เพลงกลม

๑๑.  เพลงชำนาญ

๑๒.  เพลงกราวใน

๑๓.  เพลงต้นชุบ-ลา

เมื่อปี่พาทย์บรรเลงเพลงโหมโรงจบ  ปี่พาทย์จะเริ่มบรรเลงเพลงวา  เป็นอันว่าเริ่มการแสดง

        ๗.เพลงชุดโหมโรงเทศน์   จะใช้บรรเลงเวลาพระจะขึ้นเทศน์  เพื่อประกาศให้ชาวบ้านทราบว่าขณะนี้ทางวัดจะมีการเทศน์   ประกอบด้วยเพลง

๑.  เพลงสาธุการ

๒.  เพลงกราวใน

๓.  เพลงเสมอ

๔.  เพลงเชิด

๕.  เพลงชุบ

๖.  เพลงลา

หมายเลขบันทึก: 520380เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท