ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์


ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์แบ่งเป็นสองอย่างด้วยกันคือ   เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลง  

และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบอากัปกิริยาอาการของโขน ละครตามบท   ปี่พาทย์ที่ไม่ได้ประกอบการแสดงมีอิสระในการบรรเลงไม่กำหนดเวลาที่แน่นอน   อยู่กับตัวผู้บรรเลงเป็นส่วนใหญ่  ปี่พาทย์ที่ประกอบการแสดงนั้น   ผู้บรรเลงจะต้องยึดผู้บรรเลงเป็นใหญ่จะต้องใช้จังหวะที่แน่นอน  ท่วงทำนองเพลงต้องสอดคล้องกับผู้แสดง  จึงจะเกิดความสมดุลกัน  และเกิดสุนทรีย์รสมากขึ้น      นอกจากนี้เพลงหน้าพาทย์ยังแบ่งได้ตามลักษณะ  สูง   ต่ำ   ธรรมดา   ดังนี้

เพลงหน้าพาทย์ธรรมดา หรือหน้าพาทย์เบื้องต้น

   ได้แก่เพลงหน้าพาทย์   ที่ใช้กับการแสดงทั่วๆไป  ได้แก่   เพลงช้า   เพลงเร็ว   เพลงเชิด   เพลงเสมอ   เพลงรัว   เพลงเหาะ  เพลงปฐม  เพลงโคมเวียน  เพลงบรเทศ  เพลงกินนรรำเป็นต้น

เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง  ได้แก่เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้กับตัวเอก  โขน  ละคร หรือตัวแสดงที่มียศศักดิ์สูง  เช่นตระนิมิต  ตระบองกัน  ชำนาญ  เสมรเถร  เป็นต้น

เพลงหน้าพาทย์สูง  หรือหน้าพาทย์พิเศษ   หรือหน้าพาทย์ครู  เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่มีความศักดิ์สิทธ์ผู้ที่ผ่านการครอบครูแล้วเมื่อได้ยินเสียงเพลงแล้วจะยกมือไหว้  เพื่อระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ที่ท่านประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ตระนอน  ตระบรรทมไพร  ตระบรรทมสินธุ์  ตระพระประโคมธรรพ์    เสมอเถร   เสมอสามลา  คุกพาทย์   สาธุการ บาสกุณี   เป็นต้น

นอกจากนี้ถ้าจะแบ่งหน้าพาทย์ออกเป็นประเภท  ก็อาจจะแบ่งได้เป็น     ประเภท

1. ประเภทเพลงครู  ได้แก่เพลงหน้าพาทย์ต่างๆ  ที่ระบุในตำราซึ่งว่าด้วยการไหว้ครู        ของนายธนิต  อยู่โพธิ์  (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร)  ที่มีการเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 

๑.  สาธุการ                ๒.  เพลงตระเชิญ          ๓.  เพลงเชิด-เหาะ

๔.  ตระประโคนทัพ       ๕.  โหมโรงเช้า             ๖.  เพลงเร็ว

๗.  แผละ                  ๘.  เสมอ                   ๙.  รัวสามลา

๑๐.  ลงสรงทรงเครื่อง     ๑๑.  รำดาบ               ๑๒.  เซ่นเหล้า

๑๓.  ตระสันนิบาต        ๑๔.  กราวรำ              ๑๕.  เชิดกลอง

๒.  เพลงหน้าพาทย์พิเศษ          ได้แก่เพลงที่อยู่นอกตำราไหว้ครู  ใช้ประกอบการแสดง  โขนละครและอื่นๆ  เช่น        เพลงพญาเดิน          เพลงดำเนินพราหมณ์    เป็นต้น

๓.  เพลงโหมโรง  ได้แก่  เพลงโหมโรงเช้า  โหมโรงกลางวัน  โหมโรงเย็น  เป็นต้น

นอกจากจะแบ่งไว้เป็นประเภทแล้ว  แล้วยังแบ่งเป็นโอกาสที่ใช้เพลงไหน     ดังต่อไปนี้

  ๑.  กิริยาไปมา   ได้แก่เพลงเสมอ  เชิด      บาทสกุณี(เสมอตีนก)พญาเดิน  รุกร้น    ชุบ   เหาะ   โคมเวียน   เข้าม่าน และ กลม

๒.  ใช้ในการยกพล      ได้แก่  เพลงกราวนอก    กราวใน    และ   เพลงกราว          กลาง

   ๓.  แสดงความสนุกสนานรื่นเริง    ได้แก่  กราวรำ  สีนวล  เพลงช้า  เพลงเร็วฉุยฉาย  แม่ศรี

   ๔.  แสดงตอนแผลงฤทธิ์   ได้แก่  เพลงคุกพาทย์   รัวสามลา  ชำนาญ  ตระบองกัน   ตระนิมิต

   ๕.  เพลงที่ใช้ในการต่อสู้   ได้แก่  เชิดกลอง    เชิดฉิ่ง  เชิดนอก   แผลงศร 

   ๖.  แสดงความรัก    ได้แก่   เพลงกล่อม    โลม

   ๗.  ใช้ในการนอน   ได้แก่  ลงสรงโทน  ตระนอน   ชมตลาด     ตระบรรทมไพร

หมายเลขบันทึก: 520379เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท