การจัดกลุ่มเพลงหน้าพาทย์


การจัดกลุ่มของเพลงหน้าพาทย์

          การจัดหมวดหมู่ตามความหมายของเพลงหน้าพาทย์  ปรมาจารย์ทางด้นนาฏศิลป์ไทย  ท่านได้กำหนดความหมายของเพลงหน้าพาทย์  และวิธีใช้  แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ดังต่อไปนี้

๑.  เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาไปมาของตัวละคร  เช่น

-                   เพลงเชิด  ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางไปมาโดยรีบร้อน  หรือเดินทางระยะไกล

-                   เพลงเสมอ ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางไปมาในระยะใกล้ๆ  ไม่รีบร้อน เช่นการเดินจากห้องหนึ่งไปห้องหนึ่ง

-                   เพลงเสมอมาร  ใช้ประกอบกิริยาไป มา ของยักษ์ ที่มีสถานะสูง เช่นทศกัณฑ์

-                   เพลงเสมอเข้าที่ ใช้บรรเลงประกอบกิริยาของครู อาจารย์ที่มาเป็นพิธีกรในพิธีไหว้ครู

-                   เพลงเสมอตีนนก หรือบาทสกุณี  ใช้ประกอบกิริยาการเคลื่อนไหวไปมาอย่าง  มีพิธีรีตอง  ใช้เฉพาะกับตัวพระที่มีศักดิ์                       เช่น  พระราม  พระลักษณ์  เป็นต้น ถือว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ระดับสูงรองลงมาจาก เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ

-                   เพลงเสมอเถร  ใช้ประกอบกิริยาไปมา ของนักบวช ฤษี  นักพรต

-                   เพลงเสมอข้ามสมุทร ใช้บรรเลงประกอบการแสองรามเกียรติ์ ตอนพระรามจองถนน   การไปกันเป็นขบวน

-                   เพลงเสมอผี  ใช้ประกอบกิริยาไป มาของผู้แสดงในบทผี ตอน ทศกัณฑ์ทำพิธีชุบศร  อินทรชิตและ สหัสเดชะ ฟื้นขึ้นมา   พอพื้นขึ้นมาปีศาจยักษ์ก็จะรำเพลงนี้

-                   เพลงเสมอมอญและเสมอพม่า  ใช้ประกอบกิริยาไปมาของตังละครสูงศักดิ์  ที่มีเชื้อสายมอญ พม่าในเรื่องราชาธิราช

-                   เพลงเสมอลาว  ใช้ประกอบกิริยาของตัวละครผู้สูงศักดิ์ สัญชาติลาวในเรื่องพระลอ

-                   เพลงฉิ่ง  แสดงกริยาการเคลื่อนไหว  นวยนาด กรีดกรายเล่นสนุกสนาน  ชมสวน หรือเที่ยววนอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

-                   เพลงพระยาเดิน  แสดงกิริยาไปมาที่ไม่รีบร้อน   สำหรับผู้สูงศักดิ์

-                   เพลงรุกร้น  แสดงการไปอย่างมีระเบียบเป็นหมวดหมู่  เช่น การข้ามสมุทรของกองทัพพระราม

-                   เพลงเสมอข้ามสมุทร  ใช้เฉพาะตัวพระราม   เมื่อจองถนนแล้ว  นำกองทัพเดินข้ามสมุทร  เท่านั้น

-                   เพลงพราหมณ์เข้าและเพลงพราหมณ์ออก  เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงสำหรับผู้สูงศักดิ์เข้าออกพิธี  ในการทำเวทมนต์คาถา เช่น โขน อินทรชิตเข้าออกโรงพิธี

-                   เพลงชุบ  แสดงกิริยาไปมา  สำหรับนางกำนัล  หรือคนรับใช้

-                   เพลงเหาะ  ใช้สำหรับการไปมาทางอากาศของเทวดาหรือนางฟ้า

-                   เพลงกลม   การมาของตัวละครที่สูงศักดิ์  เช่น พระอินทร์ เจ้าเงาะ  ในเรื่องสังข์ทอง

-                   เพลงเข้าม่าน  สำหรับการเข้าในสถานที่ใดที่หนึ่ง

-                   เพลงโล้  ใช้ประกอบกิริยาการไปมาทางน้ำ เช่น โขน ตอนหนุมานจองถนน

-                   เพลงแผละ ใช้สำหรับการไปมาของสัตว์มีปีก เช่น  นก ครุฑ

-                   โคมเวียน   ใช้บรรเลงประกอบกิริยาไปมาเป็นขบวนของเหล่าเทวดานางฟ้า

๒.  หน้าพาทย์สำหรับยกพล ยกรบ

-                   เพลงปฐม  เป็นการบรรเลงเพื่อจัดทัพของฝ่ายพระราม และฝ่ายลงกา

-                   เพลงกราวนอก   ใช้บรรเลงประกอบการยกพลของมนุษย์และลิง

-                   เพลงกราวใน   ใช้บรรเลงประกอบการยกพลสำหรับยักษ์

-                   เพลงกราวกราง ใช้บรรเลงประกอบการยกพลสำหรับมนุษย์

-                   เพลงกลองโยน  ใช้ประกอบกิริยาการไปมาเป้นขบวน ไม่จำกัดว่าเป็นมนุษย์หรือยักษ์

๓. หน้าพาทย์สำหรับการรื่นเริงสนุกสาน

-                   เพลงกราวรำ ฉลองความสำเร็จ  สนุกสนาน  เยาะเย้ย

-                   เพลงสีนวล  แสดงความร่าเริงเบิกบานใจสำหรับสตรี

-                   เพลงช้าเพลงเร็ว  แสดงความเบิกบานใจ  หรือการไปมาอย่างมีระเบียบและสวยงาม

-                   เพลงฉุยฉาย   แสดงการภูมิใจที่ตนเองแปลงร่างได้

๔. หน้าพาทย์สำหรับการแสดงอิทธิฤทธิ์หรือปฏิหาริย์

-                   เพลงตระนิมิต  การแปลงตัว การชุบคนตายให้พื้น  หรือบันดาลหรือให้เกิดสิ่งใดๆ

-                   เพลงตระสันนิบาต  การประชุมเพื่อการกระทำพิธีสำคัญต่างๆ

-                   เพลงตระบรรทมไพร  การนอนในป่า  การร่ายเวทมนต์คาถา

-                   เพลงชำนาญ  การนิมิต หรือประสิทธิ์ประสาท

-                   เพลงตระบองกัน  การนิมิต หรือประสิทธิ์ประสาท

-                   เพลงคุกพาทย์  แสดงเดช  แสดงอารมณ์ของผู้มีฤทธิ์

-                   เพลงรัว  ใช้ ทั่วไปในการสำแดงเดช  หรือแสดงปรากฏการณ์โดยฉับพลัน

๕. หน้าพาทย์สำหรับการต่อสู้และการติดตาม

-                   เพลงเชิดกลอง  ใช้ในการต่อสู้ทั่วไป

-                   เพลงเชิดฉิ่ง  ใช้รำก่อนการแผลงศร  หรือกระทำกิจที่สำคัญ

-                   เพลงเชิดฉาน  ใช้สำหรับคนติดตามสัตว์  เช่น พระรามตามกวาง ย่าหรันตามนกยูง

-                   เพลงเชิดนอก  ใช้สำหรับการต่อสู้ หรือการไล่ติดตามสัตว์ เช่น หนุมาน ไล่จับนางสุพรรณมัจฉา

๖.  หน้าพาทย์สำหรับการแสดงอารมณ์ทั่วไป

-                   เพลงโลม  สำหรับการเล้าโลมด้วยความรัก

-                   เพลงโอด  การร้องไห้

-                   เพลงทยอย การเสียใจ เศร้าใจ  ใช้ในขณะที่ตัวละครกำลังเคลื่อนที่ไป เช่น เดินร้องไห้ สะอึกสะอื้น

๗.  หน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด

-                   เพลงตระนอน  สำหรับแสดงการนอน

-                   เพลงลงสรง  สำหรับการอาบน้ำ

-                   เพลงนั่งกิน  เส้นเหล้า    สำหรับการเสพสุรา และการกิน

-                   เพลงปลูกต้นไม้  สำหรับการปลูกต้นไม้

หมายเลขบันทึก: 520378เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท