การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม


    งานด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นงานที่มีความอ่อนไหว ลึกซึ้ง และเข้าถึงได้ยาก กระบวนการพัฒนาต้องใช้ความละเอียดอ่อนกอปรกับวิธีการที่เรียบง่ายและที่สำคัญต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดการยอมรับและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาด้วยความเต็มใจ “ความสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ได้ทำ (มีเงิน มีคน มีแผน) แต่อยู่ที่ทำแล้วได้อะไร (ได้สร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และราชการ)”
   การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การทำให้ดีให้เจริญ โดยใช้หลักประพฤติปฏิบัติที่ก่อให้เกิดคุณงามความดี
   ผู้เขียนนำหลักประพฤติปฏิบัติที่ก่อให้เกิดคุณงามความดี ที่เรียกว่า “หลัก ๔ ก.” มาใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งประกอบด้วย ก.ที่ ๑ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก.ที่ ๒ หลักการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ก.ที่ ๓ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี และก.ที่ ๔ หลักการจัดการความรู้ และเสริมด้วยหลักการจูงใจอันเป็นหลักการเพื่อการรักษาคุณงามความดีให้คงอยู่ โดยหลักประพฤติปฏิบัตินี้จะนำมาบูรณาการให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร
   การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ต้องยึดหลักประพฤติปฏิบัติที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร และประการสำคัญ คือ บุคลากรขององค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงเจ้าหน้าที่คนสุดท้ายต้องมีความเข้าใจและยอมรับในบทบาทหน้าที่ของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สนับสนุนและเป็นแบบอย่าง ผู้ให้การพัฒนาต้องมีความรู้ในหลักการเชิงทฤษฎี มีความเข้าใจในเชิงปฏิบัติ มีความศรัทธาในคุณงามความดี และลงมือทำด้วย หัวใจ” ที่เต็มเปี่ยมด้วย “ความรัก” ผู้รับการพัฒนาต้องเข้าใจ ยอมรับพร้อมที่จะเข้าสู่การพัฒนาด้วยความสมัครใจ 
   กลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมจะต้องดำเนินไปด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เรียบง่าย ไม่เพิ่มภาระงาน และค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะการซึมซับเพื่อให้ฝังลึกในจิตใจ ทั้งนี้ ความผลสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ แต่ต้องรักษาความมีคุณธรรม จริยธรรมให้คงอยู่และดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
   ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
   ๑.  ความศรัทธาในคุณงามความดี 
   ๒.  การให้ความสำคัญ สนับสนุน และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชา
   ๓.  การมีส่วนร่วมและความเสียสละ
   ๔.  การประพฤติปฏิบัติด้วยจิตสำนึกที่ดี
   ๕.  การธำรงไว้ซึ่งความยั่งยืนในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
   สรุป

   การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ไม่ใช่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่เป็นการปลูกจิตสำนึก ให้รู้สึกผิดชอบชั่วดี ตระหนักในคุณงามความดี และสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และราชการเพื่อยังประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน
   เอกสารอ้างอิง

๑.  คณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ, สำนักงาน. (ม.ป.ป.). การจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.[Online].Available: http://www.dss.go.th/dssweb/psd/pdf/KM – Imp - ๔๙.pdf.
[๒๕๕๖, มกราคม ๙]
๒.  ควบคุมโรค, กรม. (๒๕๕๒). นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [เอกสารประชาสัมพันธ์]
๓.   ชัยพัฒนา, มูลนิธิ. (ม.ป.ป.) เศรษฐกิจพอเพียง [Online]. Available: http://www.chaipat.or.th/chaipat/ content/porpeing/porpeing.html [๒๕๕๖, มกราคม ๗]
๔.  ราชบัณฑิตยสถาน.(๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
๕.  พระปกเกล้า, สถาบัน (๒๕๕๔). ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี.[Online]. Available: http ://www.kpi.ac.wiki/index.php [๒๕๕๖, มกราคม ๗]

หมายเลขบันทึก: 520121เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท