ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย Burn injury


ผู้ป่วยแผลไหม้

แผลไหม้  หมายถึง  การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อนหรือสารเคมี  อาจจะเกิดตั้งแต่หนังกำพร้า 
หนังแท้หรือลึกลงไปถึงกระดูกได้
  การบาดเจ็บจากแผลไหม้พบได้ทุกเพศ ทุกวัย 

สาเหตุ ส่วนใหญ่เนื่องจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง และสารเคมี  การเกิดแผลไหม้ในวัยเด็กหรือวัยชรา มักเกิดจากอุบัติเหตุภายในบ้าน  เช่น  ในเด็กมักเกิดจากน้ำร้อนลวก การเล่นไม้ขีดไฟ  วัยชรามักเกิดจากน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้บ้าน  ส่วนในวัยทำงาน 21-40 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงาน  เช่น  กลุ่มทำงานก่อสร้าง กลุ่มทำงานโรงงาน จะเป็นความร้อนแห้ง ไฟฟ้า และสารเคมี

ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดและความลึกของแผลไหม้

  ประเภทของการไหม้ เช่น จากความร้อน จากของร้อน จากสารเคมี หรือจากไฟฟ้า

  อุณหภูมิ

  เวลาที่สัมผัส

โดยที่อุณหภูมิตั้งแต่ 45 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเซลล์ได้

ความลึกของบาดแผลไฟไหม้ แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ

1.Superficial Burn Injury ( 1st degree burn )การไหม้จะจำกัดอยู่เฉพาะชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยบาดแผลจะแดง(Erythema)แต่ไม่มีตุ่มพอง(Blister) มีความรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดได้แก่แผลไหม้จากแสงอาทิตย์ โดยแผลประเภทนี้จะใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้


อ้างอิง : http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/4698866/Schoolgirl-suffers-first-degree-burns-after-19-minutes-in-tanning-salon.html

2.Partial – Thickness Burn Injury ( 2nd degree burn ) การไหม้จะลามลงไปถึงชั้นหนังแท้บางส่วน บาดแผลจะมี
สีแดง มีตุ่มน้ำพองผิวหนังบริเวณนี้จะดูเปียกชื้นและไวต่อความรู้สึกเจ็บปวดโดยจะใช้เวลารักษาตั้งแต่ 2 สัปดาห์
ถึง  2 เดือนโดยที่แผลประเภทนี้ส่วนมากจะเกิดแผลเป็น

อ้างอิง : http://en.wikipedia.org/wiki/File:Glue-2nd-degree-burn.jpg

3.Full – Thickness Burn Injury (3rd degree burn) บาดแผลไหม้จะลึกลงไปจนทำลายหนังแท้ทั้งหมดทำให้บาดแผลจะมีสีเข้มหรือซีด แห้งและแข็งเหมือนหนัง และเนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายไปหมดทำให้แผลนี้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด บาดแผลประเภทนี้จะไม่หายเองจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผิวหนังเสี่ยงต่อการหดรั้งของกล้ามเนื้อและข้อต่อ

อ้างอิง : http://www.documentingreality.com/forum/f10/people-smell-look-like-fried-chicken-over-bbq-42325/

ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแผลไหม้

     โดยอ้างอิงจาก PEOP Model      

P=Person ก็คือผู้ป่วยแผลไหม้ขึ้นอยู่กับระดับของบาดแผลผู้ป่วยที่เกิดบาดแผลไหม้โดยความลึกของแผลอยู่ในระดับ 2nd degree burn และ  3rd degree burn ที่มีขนาดแผลกว้างพาดข้อต่อหรือแผลไหม้เกือบทั้งตัวนั้นมีโอกาสที่จะเกิด การหดรั้งของข้อต่อและกล้ามเนื้อ หรือแผลเป็น ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการจำกัดของช่วงการเคลื่อนไหว

E=Environment

- ครอบครัว ผู้ดูแลและสังคมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสภาพจิตใจและร่างกายของผู้ป่วย

-สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

O=Occupation คือกิจกรรมที่นักกิจกรรมบำบัดใช้รักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับไปทำกิจกรรมการดูแลตนเอง หรือการมีส่วนร่วมในสังคม เช่น การรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ เคลื่อนย้ายตัว การไปซื้อของที่ตลาด เป็นต้น โดยทำได้ด้วยตนเอง

P=Performance คือความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยซึ่งในที่นี้ขึ้นอยู่กับความลึก ความรุนแรงของแผลและแผลเป็นที่เกิดขึ้น เช่นถ้าหากแผลเป็นมีขนาดกว้างจะทำให้เกิดการหดรั้งของผิวหนังและเกิดการจำกัดช่วงการเคลื่อนไหวส่งผลให้เอื้อมหยิบของในที่สูงไม่ได้ เป็นต้น

หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง ซึ่งการรักษาโดยสหวิชาชีพจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้



อ้างอิง:นพ.จตุพร วิจันทร์โต [Internet].Bangkok ; 2008 [updated 2008 Jan 23;cited 2013 Feb 16].Available from:http://www.narenthorn.or.th/node/71

หมายเลขบันทึก: 519792เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท