เครือข่ายการดูแลผู้ป่วย แผลกดทับระดับปฐมภูมิ


เครือข่ายการดูแลผู้ป่วย แผลกดทับระดับปฐมภูมิ 

จากการปฏิบัติงาน ในทีมดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรม นั้น ข้าพเจ้าได้  ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี  ปี 2554 มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เริ่มมองปัญหาของการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย  ออกว่า ปัญหาการดูแลนั้นอยู่ตรงไหน  ซึ่งในปี 2554 นั้นทีมศัลยกรรมเราได้ ดำเนินการวิจัย เรื่องเรื่องของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล พบปัญหานี้ลดลงมาก  ใน ปี 2555 เราทำนวัตกรรมง่ายๆ  เพื่อลดแรงกดทับ  ในผู้ป่วยกลุ่มนี้  แต่ปัญหาการเกิดแผลกดทับ ยังมีให้เห็นในการเข้ามารักษาที่ รพ.ชุมชน  ในเมื่อในโรงพยาบาลมีกระบวนการจัดการดูแลที่ดีแล้ว  แต่ในชุมชนนั้นยังไม่มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน  มีเพียงการส่งเป็น case home health care  ให้ รพ.สต.ติดตามเยี่ยม ซึ่งการติดตามเยี่ยมก็ไม่มีรูปแบบการดูแลที่ชัดเจนให้พื้นที่ จึงได้เพียงเยี่ยมการแก้ไขปัญหาจึงยังไม่เกิด ดังนั้นทีมศัลยแพทย์โรงพยาบาลพิมายจึงเห็นความสำคัญนี้  จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับและเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในชุมชน อำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อ เพิ่มศักยภาพ ให้แก่บุคลากร ของ รพ.สต.เครือข่าย ให้สามารถดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ และเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และเพื่อให้ผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ และเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ ลดจำนวนอัตราการเกิดแผลกดทับ และลดความรุนแรงของแผลกดทับต่อไป 

เมื่อวานนี้ 12 ก.พ. 2556 จึงเป็นวันแรก ในการดำเนินกิจกรรมของทีมงานเรา  โดยออกพื้นที่ จัดประชุมเล็กๆ เป็นโซนที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งครั้งนี้ มี 4 รพ.สต. ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย  ทีมของข้าพเจ้านั้น ประกแบไปด้วย นพ.พีรวัฒน์  ลิ้มมหาคุณ ( หมอไก่ ) ศัลยแพทย์  คุณจันทิรา  ( น้องปิ๊ก พยาบาล IC ) และ ชลัญธร  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ  สำหรับการจัดเป็นโซนนั้น เราต้องการ การประชุมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขนาดเล็กๆ แบบเข้าถึง เป็นกันเอง  ของทีม รพ. และ รพ.สต.  กิจกรรมใน ขั้นตอนแรกนี้ เราไปปูความรู้ เรื่องแผลกดทับ  การดูแลแผลการประเมินบาดแผล โดย คุณหมอไก่  ในส่วนของน้องปิ๊ก พยาบาล IC นั้น  ได้ไปให้ความรู้ ในเรื่องของการทำความสะอาดบาดแผล  การเบิกเซตทำแผล การจัดการขยะติดเชื้อ  สำหรับชลัญนั้น ได้ชี้แจงถึงแนวทาง และรูปแบบการดำเนินงาน จนถึงขั้นตอนของการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อดูแลต่อ  แผนการดูแลผู้ป่วย ใน ชุมชน  ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่งาน ด้านศัลยกรรมได้รุกลงไปสู่ชุมชน ในอำเภอของเรา  การประชุมกลุ่มเล็กๆ นี้ดีมาก ค่ะ ทำให้เราสามารถเข้าถึงความรู้สึก  ของผู้ปฏิบัติงาน รับรู้ปัญหาอุปสรรคได้ครอบคลุม  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดี ระหว่าง ทีม รพ.และ รพ.สต. ทำให้ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ไม่ได้รู้สึกว่า แหม! นั่งห้องแอร์สั่งเอา สั่งเอา  มาดูซิพื้นที่น่ะยากลำบากแค่ไหน  เรียกว่าแบบนี้ได้ใจกันในการทำงานขึ้นมานั่นเอง 

จึงเก็บบรรยากาศ การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มา  ให้ ชม 

 



นอกจากนี้ทาง รพ.สต. ก็ยังได้นัดผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื่อรังที่ส้นเท้า มาให้แพทย์ พีรวัฒน์พิจารณาการรักษาต่อด้วย  งานนี้คนไข้เป็นปลื้ม หมอมาดูถึงที่ แม้ได้ให้การรักษาในขณะนั้น แต่ได้กำลังใน และ ความใกล้ชิดเป็นกันเอง  ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษาแผลที่เรื้อรังเป็นปี ต่อไปด้วย งานนี้ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวทีเดียว 



หมายเลขบันทึก: 519430เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2013 06:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เดี๋ยวจะไปขอดูเตียงสำหรับแผลกดๆ ที่ว่า ..... แล้วจะไปที่แผนกไหนแนะนำด้วยครับ....

แต่ดูเรื่องผลกดๆ ใน youtube   เอามาพิจารณา อสุภะ ได้เลยนะครับ  คนไข้คงลำบากมาก

มาให้กำลังใจคะ ดึงความรู้จากสหวิชาชีพมาแก้ปัญหาแผลกดทับ เป็นปัญหาปวดหัวที่สุดในโลก ของคนไข้ติดบ้านติดเตียง หากทำสำเร็จเอา โนเบลไปเลย 

วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์

เรามีโอกาส พิสูจน์ เปรียบเทียบ การใช้สมุนไพร ทาายนอก และ กินยาสมุนไพร  ช่วยให้แผลกดทับหายเร็ว หรือ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท