กุยบุรี...เมืองเก่าของเราแต่ก่อน..


ป้อมโบราณเมืองกุยบุรี



ทุกเย็นวันจันทร์  จะมีตลาดนัดที่เรียกว่า " ตลาดนัดเปิดท้าย

ขายของ"  ( เป็นชื่อที่ติดปากมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เรียกว่า ฟอง

สบู่แตกน่ะแหละ )  ที่บริเวณลานข้างวัดกุยบุรี มีร้านจำหน่าย

ขายสินค้าจิปาถะ  มักจะมีผู้คนไปเดินเลือกซื้อสินค้า หรือ

เที่ยวชมร้านค้าต่าง ๆ มากพอควร เพราะเป็นช่วงเลิกงาน

พอดี






สำหรับคุณมะเดื่อนั้นนานทีปีหน จึงจะได้ออกไปชมร้านรวง

ที่ตลาดนัดเปิดท้ายขายของนี้  เพราะตามปกติกว่าจะถึง

บ้านก็มักจะเป็นเวลาตะวันลับฟ้าไปแล้่วน่ะแหละ


แต่วันนี้กลับบ้านแต่วันหน่อย จึงมีเวลาออกไปตลาดนัดเปิด

ท้ายได้




ใกล้ ๆ กับตลาดนัดเปิดท้ายจะมีเนินดินคล้ายจอมปลวกสูง ๆ 

อยู่แห่งหนึ่ง  ซึ่งคนกุยแท้จะทราบดีว่า เนินดินนั้นคือ " ป้อม

ปราการเก่าแก่ของ เมืองกุยบุรี ซึ่งมีมานับแต่ครั้งกรุ่ง

ศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของสยามโน่นแล้ว







เนินดินอันเป็นป้อมปราการเก่าแก่นี้  แต่ก่อนผู้คนที่ผ่านไป

มา หรือมาจับจ่ายสินค้าในตลาดนัดเปิดท้าย จะไม่มีใคร

สนใจ  ...  แต่วันนี้ กำลังกลายเป็นที่สนใจของทุก ๆ สายตา 

เพราะกำลังมีสิ่งก่อสร้างและป้ายประกาศบอกความเป็นมา

ให้ทุก ๆ คนได้รับรู้ถึงความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้




" กำแพงป้ิอมยันทัพพม่า "






กำแพงป้อมแบบโบราณ มีรูปปั้นชาวกุยผู้กล้าหาญยืนยาม

ระแวดระวังภัยอยู่รายรอบ








ทั้งเบื้องล่าง




และบนกำแพง




เมืองกุย นับเป็นเมืองเก่า เป็นเมืองโบราณ  และเป็นเมือง

หน้าด่านที่สำคัญมานับแต่สมัยโบราณ  โดยเฉพาะสมัยกรุง

ศรีอยุธยา  เป็นเมืองหน้าด่านที่ตั้งสกัดทัพพม่า ซึ่งยกทัพมา

ทางด่านสิงขร เพื่อจะมุ่งหน้าไปยังกรุงศรีอยุธยา เจ้าเมือง

กุยจะบัญชาการให้ทหาร และชาวบ้านผู้กล้าหาญและ

ชำนาญในพื้นที่คอยซุ่มโจมตีทหารพม่าอยู่ริมแม่น้ำกุยบุรี

ตรงบริเวณที่ตื้น ซึ่งทหารพม่าจะเดินทัพข้ามแม่น้ำกุยบุรีใน

บริเวณนั้น  


    ปัจจุบัน บริเวณที่ทัพพม่าข้ามแม่น้ำกุยบุรีจะ

มีชื่อเรียกว่า  " บ้านท่าข้าม " 




ด้วยความเก่งกล้าและความสามารถในการซุ่มโจมตีของ

ชาวเมืองกุย ชาวกุยบุรีจึงมีสมญานามว่า  " เสือกุย " และยัง

เป็นคำกล่าวถึงชาวกุยบุรี ที่เป็นที่รู้กันจนถึงปัจจุบัน




ใกล้ ๆ กับกำแพงป้ิอมยันทัพพม่า  กำลังก่อสร้างเป็นฐาน

สำหรับรูปปั้นสำคัญ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จ้ะ




คาดว่า อีกไม่นานนี้  บริเวณนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง

ประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของกุยบุรี ที่น่าสนใจยิ่งอีกแห่ง

หนึ่งจ้าาา


        ที่สำคัญ  สถานที่แห่งนี้อยู่ริมถนนเพชรเกษม  แล้วคุณมะเดื่อจะนำเสนอเรื่องราวต่อเนื่องในโอกาสต่อไปจ้าา   เพื่อน ๆ คนใดผ่านไปแถว ๆ วัดกุยบุรี  แวะนมัสการขอพรหลวงพ่อในกุฏิแล้ว อย่าลืมแวะชมป้อมโบราณแห่งนี้นะจ๊ะ อยู่ทางทิศใต้ของวัด ริมแม่น้ำกุยบุรีจ้ะ


................................................................


ขอบคุณเพลงประกอบบันทึกจาก  YouTube
หมายเลขบันทึก: 519293เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2013 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบคุณข้อมูลเชืงประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าค่ะ ผ่านเส้นทางนั้น จะไม่ลืมแวะไปค่ะ

สวัสดีจ้ะอาจารย์ภู  ขอบคุณที่มาทักทายเป็นท่านแรกนะจ๊ะ  หากผ่านไปแถว ๆ นั้น ก็อย่าลืมส่งข่าวบอกคุณมะเดื่อบ้างนะจ๊ะ  ขอบคุณอีกครั้งจ้ะ

น่าสนใจมากค่ะ..ขอบคุณที่แบ่งปัน

ผมเป็นคนบ้านใกล้เรือนเคียง (ชุมพร) แต่ไม่เคยไปเที่ยวกุยบุรีเลยครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณมะเดื่อ..เหตุการณ์ในประวัติศาตร์น่าสนใจ..พอๆกับเรื่องราวพม่าไทยใน..ปัจจุบัน..นะคะ..ให้เด็กๆเราบันทึก..ไว้เป็นประวัติศาตร์..รุ่นลูกเขา..หรือยัง..จ๊ะ...(อิอิ..จาก  ยายธี)

สวัสดีจ้ะพี่ใหญ่  ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนจ้ะ

สวัสดีจ้ะอาจารย์ธวัชชัย ถ้ามีโอกาสผ่านประจวบ ฯ ก็ขอเชิญแวะทักทายกันบ้างนะจ๊ะ  เมืองประจวบ ฯ เป็นเมืองผ่านตลอดจ้ะ  หากใครจะเิดินทางเข้า ภาคกลาง ก็ต้องผ่านทุก ๆ อำเภอของประจวบ ฯ อยู่แล้วจ้ะ ขอบคุณจ้ะ

หวัดดีจ้ะยายธี ประวัติศาสตร์อาจจะเป็นจุดเริ่มเชื่อมโยงถึงปัจจุบันนะ  แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย  ลูกหลานไป ก้ห่างไกลประวัติศาสตร์มานานนัก  จนมองไม่เห็น รับรู้แต่ปัจจุบันน่ะแหละจ้ะยายธี  คิดถึงยายธีนะ

ดีจังเลยจ๊ะ ...ว่างเมื่อไหร่ ไปเที่ยวชมแน่นอน ขอบคุณจ๊ะ

ขอบคุณครับ นำภาพสวยๆ และประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น ให้ชม น่าสนใจมากครับ ว่างๆ อยากไปเที่ยวบ้าง ครับ 

หวัดดีจ้ะคุณเพชร  ยินดีต้อนรับ (ล่วงหน้า) จ้ะ  อย่าลืมส่งข่าวล่วงหน้าด้วยนะจ๊ะ  ขอบคุณจ้ะ

หวัดดีน้องรุจน์  รีบเคลียร์วันว่าง เดือนเมษาไว้ล่วงหน้าด้วยจ้าาา  อย่าลืม ๆๆๆๆๆ

  • ขอขอบพระคุณมากครับ ที่นำมาแบ่งปัน

ด้วยความยินดีและเต็มใจยิ่งจ้าา  คุณสามสัก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท