ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซับในผิวเคลือบฟันภายหลังการใช้ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและชนิดที่จำหน่ายในท้องตลาด : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ


โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีอัตราการเกิดโรคสูงมาตรการป้องกันฟันผุที่สำคัญและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือการใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เห็นความสำคัญที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เจลเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม และลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนของงานทันตกรรมป้องกันลงได้

ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซับในผิวเคลือบฟันภายหลังการใช้ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและชนิดที่จำหน่ายในท้องตลาด : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ

ENAMEL FLUORIDE UPTAKE AFTER USE OF SRINAKHARINWIROT APF GEL VERSUS A COMMERCIAL BRAND : AN IN VITRO STUDY

ขวัญชนก อยู่เจริญ1* วัลลภิษฐ์ วิสุทธิศักดิ์1 ณัฐวุธ แก้วสุทธา1 สถาพร นิ่มกุลรัตน์2

Kwanchanok Youcharoen1*, Wallapit Wisutiisak1, Nathawut Kaewsutha1, Sathaporn Nimkulrat2

* E-mail: [email protected]



บทคัดย่อ

มาตรการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้แก่การใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้ร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ในการผลิตฟลูออไรด์เจลเพื่อเป็นการลดและทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เจลจากต่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน และการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันภายหลังจากการใช้ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เจลที่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยใช้ฟันกรามแท้ซี่ที่ 3 ของมนุษย์ซึ่งถูกถอนและไม่มีรอยผุจำนวน 10 ซี่ ทำการเคลือบผิวฟันด้านข้างแก้มด้วยขี้ผึ้ง เว้นช่องว่างรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร จำนวน 3 ตำแหน่ง และจะถูกสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ได้แก่ ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและปาสคาลเอพีเอฟเจล ทำการวัดความเข้มข้นฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันก่อนได้รับฟลูออไรด์ที่ด้านควบคุม และหลังการเคลือบฟลูออไรด์เป็นเวลา 4 นาทีที่ด้านทดลอง โดยวัดปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันด้วยวิธีแอซิดเอทช์ไบออพซี นำค่าที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบแบบทูกีย์ และการทดสอบแบบแมนวิทนีย์ ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ภายหลังการได้รับด้วยฟลูออไรด์เจลทั้งสองชนิด มีค่าสูงกว่าด้านควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ภายหลังการใช้ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและปาสคาลเอพีเอฟเจล และ  ปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซับในผิวเคลือบฟันของฟลูออไรด์เจลทั้งสองชนิด พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)  

คำสำคัญ: แอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล การดูดซับฟลูออไรด์ แอซิดเอทช์ไบออพซี


Abstract

One effective measure for preventing dental caries is topical fluoride application. Faculty of Dentistry in collaboration with Faculty of Pharmacy has developed fluoride gel for domestic use, in order to replace the imported fluoride gel. The objective of this study was to compare the enamel fluoride concentration and fluoride uptake in enamel after use of SWU gel and a commercial brand.Ten non-carious extracted human third molars were used. The buccal surfaces of the crowns were covered with blue inlay wax except three circular windows. (3 mm diameter) One of the windows was used for pre-treatment fluoride biopsy. The other two windows were randomly submitted to SWU APF gel and Pascal® APF gel. The experimental windows were treated with fluoride gel for 4 minutes. The pre-treatment and post-treament enamel fluoride concentration were measured using an acid etch biopsy technique. Statistical analysis was performed using one-way ANOVA , Tukey HSD and Mann-Whitney test. The result showed that 1.23% SWU APF gel and 1.23% Pascal® APF gel significantly increased the enamel fluoride concentration when compared to pre-treatment enamel fluoride concentration (p<0.001). There was no significant difference in mean post-treatment enamel fluoride concentration and fluoride uptake between SWU APF gel and Pascal® APF gel (p>0.05)

Keywords: acidulated phosphate fluoride gel, fluoride uptake, acid-etch biopsy


การนำความรู้จากผลการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้

                    โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีอัตราการเกิดโรคสูงมาตรการป้องกันฟันผุที่สำคัญและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือการใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เห็นความสำคัญที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เจลเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม และลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนของงานทันตกรรมป้องกันลงได้ จึงได้ร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมเพื่อใช้งานในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตฟลูออไรด์เจลชนิด 1.23% แอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ (1.23% APF) สำหรับใช้ในการป้องกันฟันผุในผู้ป่วยเด็ก โดยศึกษาเปรียบเทียบการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันภายหลังการใช้ศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจลและเอพีเอฟเจลที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 

             ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ภายหลังการได้รับด้วยฟลูออไรด์เจลทั้งสองชนิด มีค่าสูงกว่าด้านควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าการใช้ฟลูออไรด์เจลเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มใปริมาณฟลูออไรด์ในเคลือบฟัน ซึ่งจะสามารถส่งเสริมการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวฟัน และป้องกันฟันผุได้ และปริมาณฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซับในผิวเคลือบฟันของฟลูออไรด์เจลทั้งสองชนิด พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แสดงถึงประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกันของศรีนครินทรวิโรฒเอพีเอฟเจล และ พีเอฟเจลที่มีจำหน่ายในท้องตลาด 


คำสำคัญ (Tags): #ฟลูออไรด์
หมายเลขบันทึก: 519037เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท