บทความเศรษฐกิจพอเพียง


เ ศรษฐกิจพอเพียงแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

             เศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency  Economy)  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 25 ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ   และเมื่อภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ   พระองค์ก็ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน  ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม

               การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นการพัฒนา ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท   โดยคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่มีในตัวตนของบุคคล   ตลอดจนการใช้ความรู้อย่างรอบคอบ  และมีคุณธรรมประกอบการวางแผน  การตัดสินใจ และการกระทำ ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการพิจารณาอยู่ 5 ประการด้วยกัน ดังนี้         1. กรอบแนวคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติในทางที่ควรจะเป็น   โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย   ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  และเป็นการมองโลกในเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา             2.  คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน3.   ค่านิยม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  3 คุณลักษณะประกอบกันดังนี้                                  3.1  ความพอประมาณ  หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ3.2         ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอ

เพียง  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ

3.3         การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง การเตรียมตัวให้เหมือนรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงการความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล4.   เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานดังนี้                     4.1ด้านความรู้  ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านและรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและระมัดระวังในการปฏิบัติ                      4.2 ด้านคุณธรรม  จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  และมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต5.   แนวทางการปฏิบัติ   ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้คือ  การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้  และเทคโนโลยี             จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงดัง กล่าว  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้น้อมรับและนำไปขับเคลื่อนในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งได้สร้างกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะของเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน  โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเครือข่าย คือ  กลุ่มเครือข่ายที่ 1 เป็นกลุ่มเครือข่ายที่สนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น  ได้แก่  เครือข่ายด้านการประชาสังคมและชุมชน  และเครือข่ายธุรกิจเอกชน   กลุ่มเครือข่ายที่ 2   เป็นกลุ่มเครือข่ายที่สนับสนุนตามภารกิจ  ได้แก่ เครือข่ายวิชาการ   เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้   และเครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์     ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงโดยกองอำนวยการความมั่นคงภายใน  ภาค 4    ส่วน แยก 1 (กอ.รมน.ภาค 4 สย.1) ได้จัดโครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน จังหวัดระนองเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม  2549  โดยมี พลตรี วิศิษฐ์  สมานนันตกุล  ผอ. กอ.รมน. ภาค4 สย.1  เป็นประธานการอบรม   มีแกนนำเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษาในจังหวัดระนองจากทุกอำเภอ  กิ่งอำเภอ  เข้ารับการอบรมจำนวน  100  คน  รูปแบบของการอบรมเป็นการบรรยายเสริมความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด   การมืส่วนร่วมของเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการแบ่งกลุ่มเยาวชนเพื่อระดมความคิดเห็นและวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตลอดจนผลประโยชน์ของชุมชน  อาทิ ปัญหายาเสพติด  ปัญหาความยากจน  ปัญหาผู้มีอิทธิพล  และปัญหาอาชญากรรม  เพื่อแสวงหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน    พลตรี วิศิษฐ์ได้กล่าวว่า  จำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกระดับในแต่ละท้องถิ่นจะต้องร่วมมือช่วยเหลือกันดูแลพัฒนาท้องถิ่นชุมชนของตน  ให้มีความเข้มแข็ง  ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ  และมีการรวมพลังเพื่อแสดงออกถึงความรักสามักคี   โดยให้ยึดเอาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติเป็นสำคัญ   การจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เนื่องจากสถานการณ์ยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ  จึงขอให้ผู้ที่ผ่านการอบรมได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาเผยแพร่ให้กับสมาชิกในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง ใน อันที่จะนำไปสู่ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างเป็นระบบระหว่างภาครัฐ  องค์กรเอกชน และประชาชน   โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง  สิ่งแวดล้อมยั่งยืน   นอกจากนั้นยังมีโครงการต่างๆอีกมากมายหลายโครงการที่หน่วยงานต่างๆหลายหน่วยงานได้จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง                           …………………………………                                                   บรรณานุกรม                                                  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :http://www.      nesdb.go.th/SufficiencyEcon/main.htm 2549.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.      Sufficiencyeconomy.org/ 2549.จากแนวคิดสู่ภาคปฏิบัติเส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:      http://72.14.253.104/search 2549. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://72.14.253.       104/www.tisi.go.th/otop 2549.เศรษฐกิจพอเพียง. . [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก :http://www.rta.mi.th/         2549. เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.doae.go.th/        report/SE/html/01.htm 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.journaling.       or.th/se.htm 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.prdnoth.        in.th/king60/justeconomic.php  2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :http://72.14.253.104/    search 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://members.thai.      net/sahakorn/kaset/sed.html 2549.เศรษฐกิจพอเพียง:ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:     www.chaipat.or.th/chapat/jounal/decoo/thai/ 2549. โครงการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่น.”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://72.      14.253.104/www.labschoolseminar.net/ 2549.โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกลุ่เยาวชนที่จังหวัดระนอง.”.       http//72.104/www.ranongpoc.com/2549.“Sufficiency Economy Initiative.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:       http//72.14.253.104/search 4549.“ Self – Sufficiency – Self -  Economy.”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้            จาก: www.porpeang.org/ 2549.                                                          ……………………….       
คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 51874เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุนคับ

บรรณานุกรมเกี่ยวกับ <span style="color: #333333" ;="">เศรษฐกิจพอเพียง รู้สึกว่าจะมีปัญหาหรือเปล่าครับ แต่ก็ขอบคุณบทความนะครับมีประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท