เมื่อผมไปสอนเขาทำกะปิ (หน้าแหกตามเคย)



ช่วง ๒-๓ กพ. ๒๕๕๖  ผมขับรถตะลุยเดี่ยวเที่ยวไปในอ่าวท่าฉลอม (จ.สมุทรสาคร)  ได้เห็นนาเกลือ แล้วยังได้เห็นการตากเคย (กุ้งทะเลตัวจิ๋วที่เอามาทำเป็นกะปิในที่สุด) 

เขาตากเคยกันริมถนน โดยกินพื้นที่ถนนมาครึ่งหนึ่ง (เหมือนคนอีสานตากข้าวเป๊ะเลย ไม่รู้นิสัยเอาเปรียบสังคมเนี่ยมันติดกันมาได้รวดเร็วอย่างไร) วิธีการคือ เอาตาข่ายเขียวพลาสติกรองพื้นเสียก่อน  เพื่อจะได้เก็บง่าย

จากนั้นเขาจะเอาคราดกวาดพลิกเคยเป็นระยะๆ   วันหนึ่งพลิกสัก ๖ ครั้ง หนึ่งแดดก็แห้งได้ที่  อ้อ..ลืมไปก่อนเอามาตาก เขาต้องคลุกเกลือด้วย ให้เกลือมันซึมเข้าเนื้อ  เป็นการหมักแดดไปด้วยในตัว   จากนั้นเขาก็เอาไปบด และ ปรุงแต่งให้เป็นกะปิต่อไป 

เคยบางชุดสีแดง บางชุดสีขาว  ถามแล้วได้ความว่าที่สีแดง เป็นเพราะผสมสี  ถ้าไม่ผสมจะสีขาว  ดังนั้นผมว่าเวลาซื้อกะปิ เลือกไอ้ที่สีขาวๆ ก็น่าจะดีกว่านะ

วิญญาณครูเข้าสิง   ....ผมถือโอกาสสอนชาวประมงว่า  ควรตากแบบยกแคร่  จะประหยัดเนื้อที่ลงได้สามเท่า (ไม่ต้องมากินเนื้อที่ถนนสาธารณะ)   และยังประหยัดแรงงานการพลิกกลับได้มาก  ซึ่งผมได้ทดลองมาแล้วจากการอบแห้งข้าวเปลือก มันได้ผลดีมากเลยนะ  เชื่อว่า ตากเคยก็จะได้ผลดีเหมือนกัน ...ปรากฎว่า เขาไม่เชื่อ  อ้างโน่นอ้างนี่ ว่าตากบนถนนดีแล้ว หรืออะไรไปเรื่อย ไม่ว่าผมจะพยายามอธิบายเหตุผลแบบง่ายๆ ให้เข้าใจอย่างไรก็ตาม

น่าสังเกตว่าพวกรากหญ้าไทยเรามีนิสัย  “รักความโง่เดิมๆ”  เหมือนกันหมด   ก่อนนี้ผมไปสอนวิธีปิ้งไก่ให้เร็ว ประหยัดพลังงาน ประหยัดแรง และไร้ควัน ให้แม่ค้าริมทาง  ก็ได้ผลคล้ายกับที่สอนคนตากเคยท่าฉลอม     ....นักวิจัยม.ผมคิดค้นวิธีปลูกมันสำปะหลังได้ผลมากกว่าปกติ ๓ เท่า แถมลดการใช้ปุ๋ยเคมีอีกสามเท่า     เอาไปเผยแพร่ ก็ไม่มีใครฟัง   ....แปลกแท้ๆ 

นี่ขนาดพวกรากหญ้ายังดื้อขนาดนี้ทั้งที่เราชี้ช่องให้ฟรีๆ   นอกจากไม่ขอบคุณที่ให้ความรู้แล้ว ยังเถียงฉอดๆ       แล้วระดับนักวิชาการไทยจะไปสอนอะไรเขาได้หรือ ศ.  รศ. ดร. เต็มประเทศ     คงต้องไปกระซิบหลวงพ่อคูณให้ช่วยเคาะกะโหลกแรงๆ  คงพอเข้าบ้าง ไม่ว่ารากหญ้าหรือนักวิชาการ

วันนี้ทำให้นึกถึงวาทะของท่าน Maharishi (อาจารย์พวก The Beatles) ที่ว่า   .....  คนฉลาดต่างจากคนโง่ตรงที่ คนโง่นั้นเราต้องบอกมันพันครั้งกว่ามันจะเข้าใจ ส่วนคนฉลาดนั้นเราบอกแค่ร้อยครั้งมันก็เข้าใจแล้ว  

...คนถางทาง (๕ กพ. ๒๕๕๖) 


หมายเลขบันทึก: 518490เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  การจัดการความรู้ไม่ยาก  แต่การจัดการให้คนยอมรับความรู้ใหม่ยากกว่านัก 

อ่านบันทึกอาจารย์แล้วเหมือนได้ฟังเทศน์หลวงพ่อคูณครับ ภาษาดุเดือดด้วยเจตนาดีครับ

กุ้งเคย (Krill) ที่ปักษ์ใต้ ...ปกติชาวประมงพื้นบ้านมีวิธีการหา "เคย"บริเวณชายฝั่ง เรียกว่า "รุนเคย" คล้ายๆกะอวนรุน..ทำเฉพาะช่วงฤดูกาล จึงมีการจัดเตรียม "เคย" ที่ได้ ไว้เพื่อทำกะปิที่อร่่อยๆตามสูตรแต่ละพื้นถิ่น และมีกินตลอดปี  เอาไปใส่ไข่เจียวก็อร่อยค่ะ กุ้งเคย..

แฮ่ๆ.. อ่านไปยิ้มไปกะ..วิญญาณครูเข้าสิง..ของท่านถางทาง ...  คล้ายๆกันเลยกะที่นี่..พูด "พันครั้ง"  "ร้อยครั้ง" หรือค่าเฉลี่ยระหว่างนั้น ก็ยังต้องพูดค่ะ :-))

คงเหมือนเวลาที่ พบ.สอนคนไข้ มังค่ะอาจารย์ ชลัญได้บทเรียนจากเรื่องนี้พอควร  ชลัญเจอคนไข้คนหนึ่งเป็นโรคระบบประสาท คือกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia  gravis พวกนี้ต้องรักษาที่ รพ.  แต่คนไข้  กลับเชื่อ  พ่อแม่เขา  ที่นำไปรักษาด้วยหมอน้ำมนต์ แทน  ผลลับ กลับมา  ปรากฎว่า  เยิ่น กลับมามาก  ชลัญไม่ได้ดุคนไข้ค่ะ  เข้าใจเขา  เพียงถามเขาว่า  ทำมถึงเชื่อคนตาบอด ด้วยกัน หากเขาพาไปตกเหวมิตายกันหมดหรือ คนไข้บอก ที่เชื่อเพราะคนตาบอดนั้น เป็นพอแม่  ที่ไม่เคยคิดร้ายต่อเขาเลย  นั่นเอง บทเรียนครั้งนั้นทำให้ ชลัญเรียนรู้ว่า  ศรัทธา  เท่านั้นที่จะทำให้เขาเชื่อเรา  เราต้องสร้างศรัทธาก่อน  หากเขาไม่มีศรัทธา ในตัวเรา  แล้ว  พูดจนปาดฉีกถึงหู เขาก็คงไม่ฟัง  แน่ 

          เหมือนกับชลัญมีศรัทธาใน ดร.รากหญ้า  ไม่ต้องพูดมาก  แค่ชี้แนะ  ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามค่ะ

         ส่วนเรื่องของการดำเนินชีวิตง่ายๆ  ของชาวบ้านนี่  เป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก  ชลัญเคยพูดกับพ่อหรือพี่น้องที่ใกล้ชิด   เรื่องการ เกษตรแบบ ชีวภาพ  โดย ยกตัวอย่าง  ดร.หลายๆท่านที่ชี้แนะไว้  ถูกตอกกลับ หน้าหงายว่า ดร.พวกนั้นดีแต่พูด  แน่จริงมาทำเกษตรแข่งกับเขา ซิว่าใครจะเก่งกว่ากัน แต่เขากลับเชื่อ คนกลุ่มเดียวกันแต่ดูจะสบผลสำเร็จจากการทำการเกษตร มากกว่า ซึ่งวิธีที่ทำอาจทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเอาเปรียบสังคม เขาก็ทำ   ชลัญล่ะหมดทางไปค่ะ  คงต้องสร้างศรัทธา  แต่สำคัญว่าจะสร้างอย่างไรน่ะค่ะอาจารย์ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท