ค่ายนักศึกษา : ครั้งแรกของค่ายนักศึกษา ความใหม่ที่พกใจเป็นพลังงาน สานฝันให้เป็นจริง (ตอนที่ ๔)


ผมสังเกตเห็นได้ชัดว่านักศึกษาที่ดำเนินกิจกรรมโดยไม่ได้สนใจบริบทรอบข้าง หรืออาจจะสังเกตแต่ไม่กล้าที่จะเชื้อเชิญให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม

หลังจากที่รับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อยแล้ว โจทย์สำหรับบ่ายวันนี้คือ การเดินทางออกไปเรียนรู้จากชุมชน โดยเรารวมเอาน้องนักเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมกับรุ่นพี่ๆ ที่อาจจะเรียกว่า “น้องจูงพี่เข้าหมู่บ้าน” ซึ่งเรากำหนดให้แต่ละสีไปเรียนรู้ในประเด็นต่างๆ ดังนี้


  ๑. เรียนรู้เรื่องเตาเผาโบราณ

  ๒. เรียนรู้เพลงพื้นบ้าน

  ๓. เรียนรู้ในป่ากว้าง

  ๔. เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน

  ๕. เรียนรู้ภาษาถิ่น

  ๖. เรียนรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน


                  แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นถูกกำหนดเอาไว้ว่า หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้มานั้นให้สรุปความรู้แล้วนำเสนอในตอนเย็นด้วยการแสดง ฉะนั้นนอกจากการไปแสวงหาความรู้จะได้สร้างสัมพันธภาพระหว่างเรา(นักศึกษา)กับชาวบ้าน ได้รับความรู้จากชาวบ้าน และที่สำคัญกิจกรรมนี้เป็นเสมือนการเข้าไปโฆษณาให้ชาวบ้านได้รู้จักและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของเรา และนำไปสู่การเดินทางมาร่วมงานชุมชุนรอบกองไฟในยามค่ำคืน


                 เมื่อถึงเวลากลางคืนชาวบ้านต่างออกมาร่วมชมการแสดงต่างๆ ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่สังเกตเห็นได้คือรอยยิ้มของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ จะมีความพึงพอใจและภาคภูมิใจอยู่ไม่เบาในความรู้ที่ตนได้ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา น่าเสียดายที่ผมต้องเดินทางกลับมาสอนแต่เช้าตรูจึงลืมเอกสารที่เขียนความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากฐานต่างๆ จึงไม่ได้นำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์


                  บรรยากาศในค่ำคืนแบ่งกันอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้าน ผมจึงเข้าไปมีส่วนร่วมนิดหนึ่งโดยการทำให้เกิดการผสมรวมชาวบ้านและนักศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน ปรากฏว่าสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และที่สำคัญผมยิงคำถามไปเล่นๆ ว่า “ใครเอ่ยที่มีความสามารถและอยากนำเสนอแก่ลูกๆหลานๆ” ปรากฏว่ามีอาสาสมัครจำนวน ๒ ท่าน อาสาตัวออกมาร้องเจรียงและกันตรึมให้กับพวกเราได้ฟัง งานจึงมีบรรยากาศที่อบอุ่นและมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย


                 จากตรงนี้ผมสังเกตเห็นได้ชัดว่านักศึกษาที่ดำเนินกิจกรรมโดยไม่ได้สนใจบริบทรอบข้าง หรืออาจจะสังเกตแต่ไม่กล้าที่จะเชื้อเชิญให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม เพราะเวลาที่เราร้องเพลงจะเห็นการแสดงออกของชาวบ้านในมุมแคบๆ ซึ่งหากสังเกตก็จะทราบว่าชาวบ้านกำลังมีความสุขแต่ก็ไม่กล้าที่จะเดินเข้ามาเช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 518245เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมเลยครับ

ชอบที่นำพาด้วยวาทกรรม "เรียนรู้" ...
และมีความสุขกับการได้เห็นภาพของ "ชุมชน" ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นกันเอง -สนิทแน่น
กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ จะเป็นพลังเติมเต็มให้ชุมชนได้มีแรงหยัดยืน
และเห็นคุณค่าของตัวเองอีกครั้ง...
จากเดิมอาจแผ่วบาง แล้วหวนคืนมาขรึมขลัง ...มีพลัง
หรือแม้แต่ มีพลังอยู่แล้ว..ก็ยิ่งมีพลังมากขึ้น

ยิ่งใช้กระบวนการ "น้องจูงพี่เข้าหมู่บ้าน"  ยิ่งเป็นภาพสะท้อนสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนหันกลับมาทบทวนตัวเอง...

ชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท