Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ถามตอบว่า ICMW คืออะไร ? เกี่ยวข้องกับประเทศไทยหรือไม่ ?


โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

ICMW เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของ “อนุสัญญาแห่งกรุงนิวยอร์ค ค.ศ.๑๙๙๐/พ.ศ.๒๕๓๓ ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานอพยพทั้งปวงและสมาชิกครอบครัวของเขา (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families)

------------

คำถามที่ ๑ : ทำไมจึงเป็น “ค.ศ.๑๙๙๐/พ.ศ.๒๕๓๓” ?

-------------

คำตอบ ก็คือ ร่างอนุสัญญานี้รับรองโดยมติสมัชชาใหญ่ ที่ ๔๕/๑๕๘  เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๙๐/พ.ศ.๒๕๓๓

------------

คำถามที่ ๒ : ทำไมจึงเป็น “กรุงนิวยอร์ค”?

-------------

คำตอบ ก็คือ เปิดให้ลงนามอนุสัญญานี้ที่กรุงนิวยอร์ค

------------

คำถามที่ ๓ : อนุสัญญามีผลบังคับเมื่อไหร่ ?

-------------

คำตอบ ก็คือ วันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ.๒๐๐๓/พ.ศ.๒๕๔๖ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ ๘๗ (๑) แห่งอนุสัญญาซึ่งบัญญัติว่า “อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในวันที่หนึ่งของเดือน  นับจากช่วงระยะเวลาสามเดือนภายหลังจากวันที่สัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารฉบับที่ยี่สิบได้มอบไว้แล้ว”

------------

คำถามที่ ๔ : อนุสัญญานี้ขึ้นทะเบียนกับสหประชาชาติหรือไม่ ?

-------------

คำตอบ ก็คือ ขึ้นทะเบียนกับสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ.๒๐๐๓/พ.ศ.๒๕๔๖ ในลำดับที่ ๓๙๔๘๑ (No.39481)

------------

คำถามที่ ๕ : เราอาจศึกษาอนุสัญญานี้ได้จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง ?

-------------

คำตอบในประการแรก ก็คือ เราอาจศึกษาตัวบทของอนุสัญญาจาก United Nations, Treaty Series, vol. 2220, p. 3; Doc. A/RES/45/158[1]

นอกจากนั้น เราอาจศึกษาลักษณะทั่วไปแบบสั้นได้ที่

มีการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโหลดได้จาก ที่นี่ แต่ผู้แปลประกาศว่า “เอกสารแปลอย่างไม่เป็นทางการไม่อนุญาตให้เผยแพร่”

-----------

คำถามที่ ๖ : อะไรคือภาษาทางการของอนุสัญญานี้ ?

-------------

คำตอบ ก็คือ ภาษาทางการ (Official Language) มีอยู่ ๕ ภาษา ก็คือ (๑) ภาษาอาหรับ  (Arabic)  (Chinese) (English) (French) (Russian) (Spanish) ทุกภาษามีสถานะเป็นภาษาต้นฉบับที่เท่าเทียมกัน และต้นแบบในทุกภาษาได้รับการยอมรับโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติโดยมติ ๔๕/๑๕๘ (Resolution 45/158) เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๙๐/พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งเป็นสมัยประชุมที่ ๔๕ ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

-----------

คำถามที่ ๗ : รัฐใดบ้างอาจเข้าลงนามและเป็นภาคีแห่งอนุสัญญานี้ ?

-------------

คำตอบ ก็คือ กรณีย่อมเป็นไปตามข้อ ๘๖ แห่งอนุสัญญานี้ ซึ่งบัญญัติว่า

“(๑.)   อนุสัญญานี้เปิดให้มีการลงนามโดยรัฐทั้งปวง  อนุสัญญาต้องได้รับการให้สัตยาบัน

(๒.)  อนุสัญญานี้จะเปิดให้มีการภาคยานุวัติโดยรัฐ

(๓.)   เลขาธิการสหประชาชาติจะเป็นผู้เก็บรักษาสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสาร

------------

คำถามที่ ๘ : สถานการณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของรัฐในอนุสัญญานี้เป็นอย่างไร ?

-------------

คำตอบ ก็คือ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ มีรัฐลงนาม (Signatories) ๓๕ รัฐ และมีรัฐภาคี (Parties) ๔๖[2]

------------

คำถามที่ ๙ : สถานการณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาคมอาเซียนในอนุสัญญานี้เป็นอย่างไร ?

-------------

คำตอบ ก็คือ มี ๓ ประเทศที่ลงนาม กล่าวคือ (๑) ฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๙๓/พ.ศ.๒๕๓๖ (๒) อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ค.ศ.๒๐๐๔/พ.ศ.๒๕๔๗ และ (๓) กัมพูชาเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ค.ศ.๒๐๐๔/พ.ศ.๒๕๔๗

แต่มีเพียง ๒ ประเทศที่ให้สัตยาบัน กล่าวคือ (๑) ฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๙๕/พ.ศ.๒๕๓๘ และ (๒) อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๒/พ.ศ.๒๕๕๕

ประเทศไทยไม่ได้ลงนามแต่อย่างใด ทั้งที่มีแรงงานสัญชาติไทยที่อพยพไปทำงานในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยมีแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากเช่นกัน รัฐบาลไทยจึงกังวลที่จะต้องผูกพันต่ออนุสัญญานี้ในการปฏิบัติต่อแรงงานพม่าลาวกัมพูชาที่อพยพข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย และทั้งที่ตลาดแรงงานไทยขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ เราจึงไม่แน่ใจว่า การพิจารณาไม่เป็นภาคีอนุสัญญานี้จะเป็นโทษต่อประเทศไทยมากกว่าเป็นคุณแน่หรือ ? 



[1] http://www.un.org/documents/ga/res/45/a45r158.htm

[2] http://treaties.un.org/doc/Publication/MTDSG/Volume%20I/Chapter%20IV/IV-13.en.pdf

http://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=TREATY&mtdsg_no=IV-13&chapter=4&lang=en


หมายเลขบันทึก: 517588เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2013 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2013 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท