Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

  อาจารย์แพรภัทร  ยอดแก้ว กลุ่มวิชาอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วิทยากรในโครงการ

  1. อาจารย์แพรภัทร  ยอดแก้ว 

  2. อาจารย์ญาณภัทร  ยอดแก้ว 

โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนามหาวิทยาลัย 

  ยุทธศาสตร์ที่ 6  การเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพของชุมชน

  กลยุทธ์ที่  6.2  สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 6.6 จำนวนหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือให้บริการวิชาการ

 

หลักการและเหตุผล

“ASEAN” เป็นคำย่อมาจาก “Association of South East Asian Nations” หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมีปัจจัยจากความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน ทำให้สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็นมาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิด

ในปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียน
และนโยบายของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มประเทศอาเซียน
โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข สันติภาพ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้สอดรับนโยบายดังกล่าว
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน  ตามโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อผลักดัน การดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียนและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านค่าย เป็นการจัดกิจกรรมที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งนี้ เพราะค่ายเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้หนึ่งที่จัดขึ้นในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน
เพื่อพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอย่างสูงสุด อันจะเป็นพลังการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้เรียนสู่ประชาคมอาเซียนในทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างศักยภาพให้แก่ผู้นำเยาวชนเป็นเรื่องสําคัญที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมความเป็นประชาคมอาเซียน  โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กไทยในการปรับตัวเข้ากับกระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงของโลก
ทำให้อยู่ร่วมกับประชากรของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนอย่างมีสันติภาพและมีความสุข

วัตถุประสงค์โครงการ

  5.1 เพื่อให้ผู้นำเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและด้านอื่นๆ

  5.2 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียนและเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

5.3เพื่อให้ผู้นำเยาวชนสามารถนำหลักการของอาเซียนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถขยายผลต่อสู่เพื่อนๆ  ครอบครัว และ ชุมชนได้

5.4 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนร่วมกิจกรรมค่าย ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

  5.5 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนมีความตระหนักในความเป็นไทย สำนึกถึงความเป็นไทย มีความรักและเคารพสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประเพณีที่ดีงามของไทย

กลุ่มเป้าหมาย
  กลุ่มนักเรียนผู้นำเยาวชนจาก โรงเรียนประถมศึกษา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยการคัดเลือกจากใบสมัคร  จำนวน 60 คน

รูปแบบกิจกรรม

  7.1ขั้นเตรียมการ

  - การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่เป้าหมาย

  -  ประสานงานหน่วยที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

  - การประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการโครงการ

 - สรรหาและคัดเลือกเยาวชนจากโรงเรียนประถมศึกษา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เข้าร่วมโครงการ

  7.2  ขั้นการดำเนินการ

  - การจัดกิจกรรมอบรมเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย
โดยใช้กรอบแนวคิดประชาคมอาเซียนและแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ในองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (II) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ  (IM) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (IS)  ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (IC)  เพื่อให้เยาวชนมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น  โดยผ่านกระบวนการอบรมทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและกิจกรรมนันทนาการ

  -การจัดตั้งกลุ่มผู้นำเยาวชนอาเซียน

  -การจัดทำเอกสารทางวิชาการเผยแพร่ผลงานโครงการ

  -การจัดทำเอกสาร ภาพถ่ายเพื่อการเผยแพร่

 

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ


 1 ผู้นำเยาวชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและด้านอื่นๆ

  2 ผู้นำเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียนและมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนสามารถนำหลักการของอาเซียนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
และสามารถขยายผลต่อสู่เพื่อนๆ  ครอบครัวและชุมชนได้

4 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนร่วมกิจกรรมค่าย ได้ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกันและปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

5.เพื่อให้ผู้นำเยาวชนมีความตระหนักในความเป็นไทย สำนึกถึงความเป็นไทย มีความรักและเคารพสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประเพณีที่ดีงามของไทย

 

กำหนดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเยาวชน

สู่ประชาคมอาเซียน

ณ ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

 

วันที่ 1

  เวลา  08.00-08.3008.00-08.30 น.  ลงทะเบียน

  เวลา  08.30-09.00 น.   พิธีเปิดโครงการ/ปฐมนิเทศ

  เวลา  09.00-12.0009.00-12.00 น.  กลุ่มสัมพันธ์และบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่อง“การพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                                     ของเยาวชนอาเซียน” โดย  อ.แพรภัทร  ยอดแก้ว

  เวลา  12.00-13.00 น.  รับประทานอาหาร
 เวลา  13.00-16.00 น.   กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน (I 4) โดย อ.แพรภัทร  ยอดแก้วและคณะ

  เวลา  16.00                 สรุป/กลับบ้าน

 

วันที่ 2

  เวลา  08.00-08.3008.00-08.30 น.  สวดมนต์เช้า/เจริญจิตภาวนา  โดย อ.ญาณภัทร  ยอดแก้ว

 เวลา  08.30-12.00 น.   กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน (4 A) โดย อ.แพรภัทร  ยอดแก้วและคณะ

  เวลา  12.00-13.00 น.  รับประทานอาหาร

  เวลา  13.00-15.30 น.  กิจกรรมฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน (4 A) ต่อ โดย อ.แพรภัทร  ยอดแก้วและคณะ

  เวลา  15.30 - 16.00    พิธีปิดโครงการและมอบวุฒิบัตร

 

ภาคีที่เสนอโครงการร่วม
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

2. อบต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม  

 การบูรณาการกับการเรียนการสอน 

บูรณาการกับการเรียนการสอน วิชาอาเซียนศึกษา

 
ผู้ได้รับประโยชน์จากการทำโครงการ
  1. ครูและนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

  2. อบต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

 

แนวทางการประเมินโครงการ

สิ่งที่ต้องการประเมิน
1. จำนวนผู้เข้ารับบริการวิชาการ  ไม่น้อยกว่า 50 คน

2. จำนวนหน่วยงานภายนอกที่เข้าร่วมในการดำเนินโครงการบริการวิชาการ
อย่างน้อย 1 หน่วยงาน

3. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียน 
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

4. รายงานสรุปผลโครงการบริการวิชาการ  จำนวน 1 เล่ม

 

วิธีที่ใช้ในการประเมิน

1.  แบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2.  แบบวัดความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

3.  แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ

4.  การสังเกตผู้เข้าร่วมกิจกรรม


 

หมายเลขบันทึก: 517426เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2013 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท