เพลงหน้าพาทย์



เพลงหน้าพาทย์

ความหมายของเพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา    ไม่ว่าจะเป็นกิริยาของมนุษย์  วัตถุ   หรือธรรมชาติ  ทั้งที่กิริยาที่มีตัวตน   หรือกิริยาสมมุติ และตลอดทั้งกิริยาที่เป็นปัจจุบันและอดีต    เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา ทั้งหลายเหล่านี้ถือเป็นเพลงหน้าพาทย์ทั้งสิ้น( ศัพท์สังคีต,มนตรี   ตราโมท )

เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง  เพลงที่ใช้บรรเลงในลีลาของเครื่องดนตรี  หรือเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา  อารมณ์ของตัวละคร ประกอบกิริยาเคลื่อนไหวต่างๆไม่ว่าจะเป็น คน  สัตว์   ไม่ว่าจะเป็นวัตถุทางธรรมชาติใดก็ตาม เช่น เดิน นอน วิ่ง อภินิหาร ลมพัด  สูญสิ้น ฝนตก โดยเฉพาะทำนองจะจำกัดอยู่ในแบบแผนที่กำหนดไว้    รวมทั้งกำหนดโอกาสที่ใช้ไว้อย่างแน่นอน    โดยทั่วไปเพลงหน้าพาทย์ไม่มีบทร้อง   ใช้บรรเลงทำนองเท่านั้น    ที่บรรจุเนื้อร้องที่พบได้แก่  เพลงตระนิมิต   เพลงกราวนอกเป็นต้น   เพลงหน้าพาทย์ส่วนมากมีท่ารำกำหนดไว้เฉพาะในแต่ละเพลง  และเพลงหน้าพาทย์เพลงเดียวกัน   การใช้ท่ารำของตัวละคร  พระ   นาง   ยักษ์   ลิง  ก็ย่อมแตกต่างกันไป

          คำว่า เพลงหน้าพาทย์ เข้าใจว่า จะเกิดจากการเรียกของผู้แสดงโขน ละคร เพราะการแสดงโขนนั้น   ผู้แสดงจะร่ายรำตามเพลงประกอบกิริยา จะต้องยึดถือตามจังหวะทำนองเพลงเป็นใหญ่    และจำเป็นที่จะต้องร่ายรำ   ตามจังหวะพอดีกับจังหวะ   และทำนองจะให้ขาดหรือเกินไม่ได้ เพลงเหล่านี้จึงจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ    ต้องยึดมั่นถือมั่นไว้เป็นหลักเป็นฐาน   เพลงเหล่านี้จึงถูกเรียกว่า เพลงหน้าพาทย์  เพลงหน้าพาทย์นั้น ในระยะแรกคงเกิดปัญหาระหว่างผู้รำกับผู้บรรเลงดนตรี   ซึ่งมีความไม่พร้อมเพียงกันในท่ารำ และการบรรเลง   ซึ่งก่อให้เกิดความไม่น่าดู   จึงมีการประดิษฐ์ท่ารำและทำนองเพลงให้มีความยาวเท่ากัน  เพื่อที่จะให้เกิดความเรียบร้อยและสวยงามในท่ารำและการบรรเลง  เพื่อให้ผู้แสดงและผู้บรรเลงปฏิบัติตามแบบแผนที่กำหนดไว้เช่น  ท่ารำเพลงเสมอ  ก็มี ๕ จังหวะ  และต้องลงด้วยเพลงลา ๔ จังหวะเป็นต้น

          เพลงหน้าพาทย์ คือ  เพลงประกอบอากัปกิริยา  ของตัวแสดง  เศร้าใจ  เสียใจ  โกรธเคือง  เศร้าโศก  ทำนองเพลงและท่ารำเด่นชัดออกมาให้เห็นได้   ดังนั้นการแสดงผู้ชมไม่ควรดุเนื้อเรื่องเพียงอย่างเดียวควรใส่ใจในบทบาทในการรำ การตีบท   การใช้อารมณ์ตามบท   เหล่านี้เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  หากนักแสดงคนใดตีบทแตก   หรือที่เรียกกันว่า  บุตโต      ถึงกับแสดงได้ดีจนผู้ชมคล้อยตามอารมณ์ของผู้แสดง   ถือว่าผู้นั้นมีความสามารถระดับศิลปินทีเดียว

                              

                                           โขนยักษ์                                                                 โขนลิง



หมายเลขบันทึก: 517079เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2013 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท