การวางแผนโครงการวิจัย


การออกแบบการวิจัย เป็นคำที่ดูกว้างขวางมากกว่า วิธีวิทยาการวิจัย (research methodology) ทั้งนี้เนื่องจาก Leedy มองว่าการออกแบบงานวิจัยนั้น ไม่เพียงแต่แค่การเลือกปัญหาการวิจัย แต่ยังหมายถึงการพิจารณาออกแบบวางแผนในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้การวิจัยนั้นมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ความแตกต่างของการออกแบบการวิจัย (Research Design) และ วิธีวิทยาการวิจัย (research methodology)

               หลายคนอาจมีความสับสนระหว่างคำทั้งสองคำว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ซึ่ง Leedy ได้พยายามอธิบายให้เห็นว่ามันคล้ายกัน แต่มันมีความแตกต่างกันอยู่

             การออกแบบการวิจัย เป็นคำที่ดูกว้างขวางมากกว่า วิธีวิทยาการวิจัย (research methodology) ทั้งนี้เนื่องจาก Leedy มองว่าการออกแบบงานวิจัยนั้น ไม่เพียงแต่แค่การเลือกปัญหาการวิจัย แต่ยังหมายถึงการพิจารณาออกแบบวางแผนในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้การวิจัยนั้นมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งการวางแผนเลือกลักษณะชนิดข้อข้อมูลที่เราจะจัดเก็บให้เหมาะสม ลักษณะเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลและการแปลผลข้อมูล ซึ่งจะต้องมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนและออกแบบให้รอบคอบและเหมาะสมกับผู้วิจัย เช่น ต้องพิจารณาคำนึงการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างให้เพียงพอจะต้องทำอย่างไร? ผู้วิจัยมีทักษะเพียงพอในการใช้เครื่องมือที่จะใช้เก็บข้อมูลไหม ถ้าไม่เพียงพอ จะทำเช่นไร? ผู้วิจัยรู้วิธีแปลผล วิเคราะห์ สรุปข้อมูล เหล่านั้นไหม? สิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ คือ การออกแบบการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยควรจะต้องออกแบบให้มีลักษณะที่ปฏิบัติได้ (Practical) โดยต้องทำให้งานวิจัยมีความถูกต้องแม่นยำ และในขณะเดียวกันต้องมีความเป็นไปได้ไปพร้อมๆกันด้วย

ข้อมูล (Data)

            ผู้วิจัยควรระลึกเสมอว่า “ข้อมูล” ที่ผู้วิจัยเก็บได้ทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เป็นสภาพของความเป็นจริงเสียทั้งหมด แต่ข้อมูลที่เก็บได้นั้นมักจะมีความเจือปนของสิ่งที่จริงและความคลาดเคลื่อนต่างๆผสมอยู่ในข้อมูลต่างๆเหล่านั้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของข้อมูล ซึ่งการที่จะได้ความจริง (Truth) นั้น ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีวิธีการสกัดเอาความหมายจากข้อมูลที่ดี ที่ถูกต้อง ที่มีประสิทธิภาพออกมาจึงจะมีความใกล้เคียงหรือเป็นความจริงมากที่สุด ซึ่งกระบวนการในการสกัดเอาความจริงออกมานั้น คือระเบียบวิธีวิจัยที่ดีนั่นเอง ซึ่ง Leedy  ได้เปรียบเทียบว่า “ข้อมูล (Data) นั้นเหมือนกับสินแร่ (ore) ที่ต้องมีวิธีวิทยาการวิจัย (Research Methodology) ที่เหมาะสมจึงจะสามารถสกัดความหมายออกจากข้อมูล จนสามารถได้ข้อเท็จจริงในการวิจัยครั้งนั้นๆได้  ทั้งนี้ธรรมชาติของข้อมูลต่างๆกันก็เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องเลือกระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละชนิด เช่น

         -  ข้อมูลบางอย่างเมื่อเวลาเปลี่ยนไปข้อมูลก็จะเปลี่ยนความหมาย นักวิจัยก็ต้องวางแผนให้เหมาะสมว่าจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยเช่นไร

        -  ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิก็มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องแตกต่างกัน ผู้วิจัยถ้าต้องการให้ข้อมูลที่เป็นจริงมาก อาจต้องเก็บข้อมูลเอง เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิ

         -  ข้อมูลบางอย่างเหมาะสมกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ในขณะที่ข้อมูลบางอย่างการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพก็อาจจะมีความเหมาะสมกว่า

  อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือนักวิจัยต้องมี นั่นคือ Human Mind ที่เหมาะสม ที่จะสามารถอ่าน แปลผล เขียนผลเพื่อสื่อสารให้ถูกต้อง จึงจะสามารถถ่ายทอดความจริง หรือข้อค้นพบจากการวิจัยออกมาได้

 

  ซึ่งในตอนท้ายของบทที่ 5 Leedy ได้แนะนำแนวทางการวางแผนโครงการวิจัยในการเขียน เค้าโครงวิจัย โดยควรระบุสิ่งต่างๆให้ครอบคลุม ภายหลังที่สามารถกำหนดปัญหาการวิจัยรองได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้

1.  ข้อมูลที่จำเป็นต้องได้ (The Data Needed) คืออะไร

2.  ข้อมูลเหล่านั้น จะไปหาได้ที่ไหน (Where The Data Are Located)

3.  ข้อมูลได้อย่างไรจึงจะปลอดภัย (How The Data Will Be Secured)

4.   จะแปลผลข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างไร (How The Data will be Interpreted)



คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 517066เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2013 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก็ยังรู้สึกว่าการทำงานวิจัยนั้น..ยากกกกก...อยู่ดีค่ะ...;(


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท