การทบทวนวรรณกรรม


การทบทวนวรรณกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการค้นหาปัญหาการวิจัยใหม่ๆ และทำให้เข้าใจขั้นตอนการวิจัย รวมถึงมีประโยชน์ในการสรุปและตีความผลการวิจัยด้วย

              การทบทวนวรรณกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังที่ Leedy กล่าวไว้แล้วในบทที่ 3 ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ในการค้นหาปัญหาการวิจัย และทำให้เข้าใจขั้นตอนการวิจัย รวมถึงมีประโยชน์ในการสรุปและตีความผลการวิจัยด้วย ซึ่งนักวิจัยควรจะมีความรู้ในเรื่องที่ตนเองกำลังศึกษในระดับที่ดีมากๆ ต้องอ่านและค้นคว้าเอกสารทางวิชาการต่างๆให้พร้อมกับการทำงานวิจัยนั้นๆ ทั้งนี้ Leedy ได้สรุปประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม ไว้ดังต่อไปนี้

                1.  ทำให้ได้มุมมองและไอเดียใหม่ๆในการวิจัย

                2.  ทำให้ทราบว่าในแวดวงการวิจัย มีนักวิจัยคนไหนทำการวิจัยในเรื่องคล้ายๆเราบ้าง

                3.  ทำให้เห็นระเบียบวิธีวิจัยนักวิจัยคนอื่นใช้กัน ซึ่งเราอาจนำไปประยุกต์ตามได้

                4.  อาจทำให้เราเจอแหล่งข้อมูลค้นคว้าใหม่ๆที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

                5.  ช่วยให้เห็นหรือได้รู้จักเครื่องมือการวิจัยที่มีประสิทธิภาพใหม่ๆที่มีนักวิจัยคนอื่นๆเคยพัฒนาไว้

                6.  ได้มีโอกาสขบคิดกระบวนการวิจัยของผู้อื่นว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยของตนเองอย่างไร

                 7.  ช่วยในการแปลผลหรือสรุปผล วิจารณ์ข้อมูลเทียบกับการศึกษาอื่นๆที่ผ่านมา

                 8.  ช่วยให้มั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษามีประโยชน์ มีความคุ้มค่าที่จะทำ เพราะมีคนอื่นๆสนใจที่จะศึกษาเหมือนกัน

              ทั้งนี้ Leedy ได้แนะนำให้ทบทวนวรรณกรรมโดยใช้ คำสำคัญ (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูล จากหลายๆแหล่งได้แก่ 1) จากบัตรคำในห้องสมุด 2) จากรายชื่อวารสารในห้องสมุด และ 3) จากฐานข้อมูลออนไลนืต่างๆ เช่น MEDLINE Scopus SCINDIRECT เป็นต้น

  โดย Leedy เสนอ 3 กลยุทธในการทบทวนวรรณกรรมไว้ดังนี้

           1.  เริ่มต้นจากการไปหาเอกสารที่ตีพิมพ์ตามหน่วยงานราชการก่อน เพราะว่าอาจจะฟรี หรือติดต่อได้ง่ายกว่า

           2.  ใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านระบบสืบค้นข้อมุลต่างๆ เช่น กูเกิล ยาฮู

           3.  มองดูรายชื่อเอกสารอ้างอิงต่างๆจากวารสารเล่มล่าสุด ย้อนไปดูเล่มอื่นๆที่ถูกใช้อ้างอิงกันมา

ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม Leedy เสนอไว้ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย

          1.  ระบุปัญหาการวิจัยหลัก

          2.  จำแนกปัญหาการวิจัยรอง

          3.  ระบุคำที่เกี่ยวข้อง หรือประโยค ที่สัมพันธ์กับปัญหางานวิจัยรอง

          4.  แปลงคำหรือประโยคเหล่านั้นเป้นข้อความที่จะไปทำการสืบค้น

          5.  ไปสืบค้นในห้องสมุด หรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงระบบ ฐานข้อมุลต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น

          6.  อ่านเอกสารเหล่านั้น!!!!!

เคล็ดลับการใช้เวลาสืบค้นข้อมูลให้มีประสิทธิภาพในห้องสมุด

           Leedy เสนอแนะวิธีที่ช่วยให้การสืบค้นเสียเวลาน้อยที่สุดแต่ได้ประสิทธิภาพไว้บางประการดังต่อไปนี้

          1. ควรพกอุปกรณ์ในการช่วยเก็บข้อมูลไปด้วย เช่น การใช้กระดาษและปากกา จดข้อมุลที่สำคัญ

ลงในส่วนที่เรียกว่า “บัตรคำ (bibliography)” หรืออาจใช้คอมพิวเตอรืช่วยในการบันทึกข้อความที่สำคัญบางอย่างไว้ จะช่วยให้การเรียกข้อมูลภายหลังทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

          2.  ควรตรวจสอบก่อนว่าหนังสือหรือเอกสารที่เราหาในแต่ละครั้งประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่ชั้นไหน เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลามานึกว่าขาดอะไรบ้างตอนอยู่ในห้องสมุด

          3. วางแผนการจัดระบบข้อมูลว่าจะเรียงเอกสารตามอะไร

          4.ตรวจสอบว่าในแต่ละครั้ง มีหนังสืออะไรที่หาได้แล้ว อะไรยังไม่เจอ

          5. จดบันทึกข้อมูลสำคัญของเอกสารที่ได้มาแต่ละครั้งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม

           6. วางแผนการหาเอกสารที่ไม่สามารถหาได้ในแต่ละครั้ง

ทั้งนี้ Leedy เสนอว่าภายหลังได้เอกสารงานวิจัยต่างๆมาอย่างเพียงพอ สิ่งที่สำคัญและควรกระทำ คือ กิจกรรม

การประเมิน จัดระบบ และสังเคราะห์ ทั้งสามขั้นตอนนี้ จะทำให้การทบทวนวรรณกรรมเรามีคุณค่าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 517053เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2013 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะคุณหมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท