เรื่องน่าสนใจในการดูแลรักษาผู้เป็นโรคเก๊าต์จากผู้เชี่ยวชาญ


ฟังการนำเสนอของ Jonathan Kay (Professor of Medicine and Director of Clinical Research in the Division of Rheumatology at the University of Massachusetts Medical School and UMass Memorial Medical Center) เรื่อง Prophylaxis, Treatment, and Foods to Avoid in Gout แล้วรู้สึกว่าน่าเอามาบอกต่อเพราะบ้านเราคนเป็นโรคเก๊าต์ก็มีไม่น้อยทีเดียว โรคนี้ถึงจะมีมานานมากแล้วแต่วิธีการรักษาที่เป็นเรื่องเป็นราวแบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งออกมาเป็นทางการของอเมริกาเองเพิ่งจะมีเมื่อปลายปีที่แล้ว คุณหมอ Kay พูดถึงจุดสำคัญๆในแนวทางรักษาดูแล อย่างการที่ต้องให้ความรู้คนไข้เกี่ยวกับอาการและวิถีชีวิต รวมทั้งสาเหตุที่มีส่วนทำให้กรดยูริกในเลือดสูง รวมทั้งการเลิกให้ยาที่ไม่จำเป็น อย่างเช่นยาขับปัสสาวะซึ่งก็มีส่วนทำให้กรดยูริกในเลือดสูง แพทย์ต้องคำนึงถึงสภาพของโรคของคนไข้แต่ละคนแล้วเลือกการดูแลรักษาให้เหมาะสม (ซึ่งจะต่างๆกันไป ไม่ใช่รูปแบบเดียวกันหมด) 

มีคำแนะนำว่าค่ากรดยูริกในเลือดที่เป็นเป้าหมายสำหรับคนไข้โรคเก๊าต์คือต้องน้อยกว่า 6 mg/dl แล้วถ้ายิ่งเป็นคนไข้ที่มีข้อบวมด้วยควรจะน้อยกว่า 5 mg/dl ด้วยซ้ำโดยการให้ยาในกลุ่มที่ลดการสร้างกรดยูริก ซึ่งต้องปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนและต้องคอยติดตามดูผลไปด้วยเป็นระยะๆ ซึ่งจากหลักฐานที่ผ่านๆมาก็พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของการรักษาก็ต้องให้ยาป้องกันอาการอักเสบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นไปด้วย

ส่วนในระยะยาวก็ต้องรักษาไม่ให้มีอาการ โดยการควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดไปเรื่อยๆ โดยการลดอัตราเสี่ยงที่ทำให้กรดยูริกสูงคือความอ้วน อาหารที่มีสารพิวรีนสูงเช่นเครื่องในต่างๆ เนื้อสัตว์ ปลาซาร์ดีน หอยและของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุคโตส (ซึ่งส่วนใหญ่ของน้ำผลไม้ทั้งหลายจะมีทั้งนั้น) รวมทั้งเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ด้วย นอกจากนั้นก็ควรลดเกลือ ลดความเค็มซึ่งมีประโยชน์กับอีกหลายๆระบบในร่างกายไปด้วย 

การนำเสนอของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในลักษณะนี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆนะคะ ใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ มีประโยชน์ทั้งต่อแพทย์ทั่วๆไปและคนไข้ด้วย อยากเห็นมีบ้างในบ้านเราที่สามารถเข้าถึงได้ เพราะคงมีคนไม่น้อยที่ขี้เกียจอ่านแต่ชอบฟังคุณหมอพูดมากกว่า แต่ก็ขอแนะนำให้ลองฟังกันดูนะคะ ส่วนมากก็จะเป็นคุณหมอที่พูดค่อนข้างชัดและมีเนื้อหาเป็นตัวหนังสือให้ด้วยเผื่อใครฟังไม่ทันทั้งหมดหรือขี้เกียจฟัง อ่านเอาเร็วกว่า (เหมือนเรา)

หมายเลขบันทึก: 516560เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2013 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับ....สวัสดีปีใหม่นะครับ

ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ อย่างน้อยอาก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ความอ้วน และ ยาขับปัสสาวะ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กรดยูริคเพิ่มขึ้นได้

ลำบากเนาะ เมื่อเวลาแก่ตัวลง

ขอเสริมนิดนึงค่ะว่า ถ้าไม่ได้เป็นเก๊าต์ ไม่มีอาการปวดข้อก็ไม่จำเป็นต้องลดกรดยูริกให้ต่ำกว่า 6 นะคะ เพราะการรับประทานยาลดกรดยูริกก็เสี่ยงต่อการแพ้ยาแบบรุนแรงได้เช่นเดียวกันค่ะ ^v^

ได้ความรู้ดีมากๆค่ะ จะคอยติดตามตลอดนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท