ครูต้องชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้สำเร็จ


เมื่อสมัยที่เป็นนักศึกษาฝึกสอน  ต้องมีการฝึกปฏิบัติการสอน 1 ภาคเรียน อาจารย์นิเทศก์บอกสอนเสมอว่า  ต้องทำความเข้าใจบทเรียนให้ดี  เขียนแผนการจัดการเรียนรู้  ผลิตสื่อ  คิดสร้างใบความรู้  ใบงาน  เครื่องมือการวัดและประเมินผลก่อนการสอน  และทดลองสอนโดยจัดหาวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนอย่างน่าสนใจ  ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามทฤษฎีการสอนทั้งสิ้น  ครูอ้อยจดจำได้เสมอว่า  ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องมีอะไรเป็นส่วนสำคัญ  อะไรเกิดขึ้นก่อนและหลัง  และอะไรที่ขาดไม่ได้  นั่นคือ  การใช้คำถามปลุกเร้าให้นักเรียนเกิดความต้องการเรียนรู้  โดยมีพื้นฐานของความแตกต่างความรู้เดิมของนักเรียนแต่ละคน


ส่วนการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนนั้น  ครูอ้อยเพิ่งจะรับรู้เมื่อได้เป็นครูมาแล้วหลายปี  อาจารย์นิเทศก์ของครูอ้อยยังบอกด้วยว่า  ครูอ้อยต้องฝึกฝนการสอนให้มากๆ  ถึงแม้ว่าจะเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ดีแล้วก็ตาม  ต้องอ่านและศึกษาตัวหลักสูตรให้มากๆ  เพราะเราไม่ได้สอนหนังสือ  เราสอนนักเรียนต่างหาก


ในเมื่อเราสอนนักเรียน  นักเรียนก็มีหนังสือ  ทำไมเราต้องจัดทำใบความรู้  ทำไมเราต้องมีใบงาน  ครูอ้อยยังไม่เข้าใจ  จวบจนมาเป็นครู  ได้อยู่ในสถานการณ์จริงแล้ว  การมีใบงานนั้น  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในหนังสือที่มีอยู่  และเราต้องการให้นักเรียนได้รู้อะไรเพิ่มเติมอีก  การที่ครูต้องชี้ให้ชัดนั้น  หมายความว่า  แต่ละครั้งที่ครูสอนนั้นจะต้องแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้รู้ก่อน  ชี้ให้ชัดเจนไปเลยว่า  ครูจะต้องวัดผลระหว่างการเรียนรู้  ด้วยวิธีการต่างๆอย่างไร   นักเรียนจะได้รู้และเข้าใจบทบาทของตนเองในการเรียนรู้ให้สำเร็จด้วยวิธีการใด


อนึ่งการเข้าถึงความรู้นั้น  อาจารย์นิเทศก์เคยบอกว่า  ควรจะให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบองค์รวม  ทั้งด้านการเรียนรู้  กิจกรรมและการประเมินผล  ด้วยกระบวนการเรียนรู้  เช่นกระบวนการกลุ่ม  หรือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตามความสนใจของนักเรียน  ให้นักเรียนได้เลือกการเรียนรู้  


การนำเสนอสิ่งที่้เรียนรู้  ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ  เสมือนเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างดี  ซึ่งจะต้องมีความจำที่คงทนเพราะผ่านประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในการเรียนรู้  นักเรียนต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในเรื่องของการสื่อสาร  ด้านการคิด  การแก้ปัญหา  การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี    ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน  


ครูหลายคนที่ยังสอนหนังสือ  ไม่ได้สร้างทักษะที่พึงประสงค์ให้กับนักเรียน  ส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้ในเรื่องวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว  ไม่ได้เป็นครูที่ต้องชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้สำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 516483เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2013 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับคุณครูอ้อย เห็นด้วยทุกอย่างเลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นักเรียนได้นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือได้มีโอกาสนำความรู้ไปสอนคนอื่นนั้นก็ถือว่านักเรียนได้นำความรู้ไปใช้ เป็นความรู้ที่คงทนแล้วครับ

ขอบพระคุณ ท่าน นาย ศิลป์ชัย เทศนา มากๆเลยค่ะ

ฝึกให้นักเรียนกล้าพูดเสนอแนวความคิดเห็นของตนเอง  และยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ก็เป็นเรื่องที่ดีที่น่าจัดให้นักเรียนนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ครูอ้อย

เห็นด้วยค่ะ ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์  น่าชื่นชมมากค่ะ

ขอบคุณ คุณ อ.นุ มากๆค่ะ  วันไหนไม่มีคุณ มาให้กำลังใจ บล็อกเหงาๆเลยค่ะ

ขอบคุณ น้อง หมูหวาน มากๆค่ะ  ขอให้มีความสุขมากๆๆนะคะ

ขอบคุณน้องโอ๋ โอ๋-อโณ มากๆค่ะ รักษาสุขภาพนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท