โรงเรียนชาวนาระดับมัธยม (๑๑)_๒


โรงเรียนชาวนาระดับมัธยา (๑๑)_๒

     
ภาพที่  93 – 94  บาซิลัสที่อาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในใบไผ่
 
       

ภาพที่  95 – 96  ยีสต์ที่อาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในใบไผ่

 
        

ภาพที่  97 – 98  ไรโซปัสที่อาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในใบไผ่


          
ภาพที่  99 – 100  ไตโครเดอร์มาที่อาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในใบไผ่
 

 ผลจากการศึกษาวิจัยในเบื้องต้นสามารถให้ความกระจ่างแจ้งแก่นักเรียนชาวนาได้เป็นอย่างมาก  และเป็นการยืนยันจากนักวิชาการว่า  เทคนิควิธีการอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชาวนาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์  สร้างความภูมิใจให้แก่ชุมชน  และนักเรียนชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น  ด้วยวิธีการที่ง่ายๆ  แต่ให้ประโยชน์ต่องานเกษตรชีวภาพได้อย่างมาก  โดยมีต้นทุนที่ต่ำมากๆ  และจะเอื้อต่อการพัฒนาไปสู่เกษตรชีวภาพแทนการใช้สารเคมี  จะทำให้นักเรียนชาวนามีสุขภาวะที่ดีต่อไป

           ท่านเห็นไหมครับว่า    นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์สามารถแสดงบทบามทำวิจัยต่อยอดความรู้ของชาวบ้าน    ทำให้ชาวนามั่นใจในวิธีการหรือความรู้ที่ตนสร้างขึ้นใช้งาน     ว่าตนมาถูกทางแล้ว    การจัดการความรู้โดยการต่อยอดซึ่งกันและกันระหว่างความรู้ปฏิบัติ หรือความรู้ฝังลึก กับความรู้เชิงวิทยาศาสตร์/เชิงทฤษฎี หรือความรู้ชัดแจ้ง เช่นนี้แหละครับที่จะช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน

วิจารณ์ พานิช
๑๘ สค. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5163เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2005 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิชที่เคารพรัก และสวัสดีทุกๆท่านของโรงเรียนชาวนา

   ผมเข้ามาดูเว็ปไวด์นี้เป็นประจำและหลายครั้งแล้ว แต่เพิ่งได้มีโอกาสเสนอข้อคิดเห็นก็ครั้งนี้ละครับ ผมดีใจมากครับที่ผลงานของผมส่วนหนึ่งได้ออกเผยแพร่ในเว็ปไซด์แห่งนี้ถึงแม้จะไม่ปรากฏชื่อผมก็ตาม ก็คือ ผลการวิจัยเบื้องต้นของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ไงครับ ที่แยกได้จากใบไผ่ที่กลุ่มโรงเรียนชาวนาใช้กัน งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ดร. วาริน อินทนา อ.สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ที่ได้รับตัวอย่างใบไผ่จาก อ.ก้าน จันทร์พรหมมา และผม อรรถกร พรมวี ประคองเย็นจิตร์ และทักษิณ สุวรรณโน เป็นผู้ทำการศึกษาดังกล่าว ตอนนั้นผมยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อยู่ครับ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ดีมากๆๆ เพราะเป็นการนำเอาความรู้จากชาวบ้านมาสู่นักวิจัย เมื่อนักวิจัยทำการศึกษาเสร็จแล้วจึงถ่ายทอดความรู้นั้นกลับคืนไปสู่ชาวบ้าน แต่การศึกษาครั้งนั้นยังเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้นและขาดการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

              ตอนนี้ ผม อรรถกร พรมวี กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขา เกษตรยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมคิดว่า เรื่องการวิจัยจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและเพื่อเป็นการสานต่องานที่ผมได้เคยทำไว้ ผมจึงเลือกหัวข้อ การวิจัยจุลินทรีย์ท้องถิ่นของโรงเรียนชาวนาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ เพราะผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก โดยผมได้ตั้งหัวข้อคร่าวๆไว้ คือ "ความหลากหลายของจุลินทรีย์จากแปลงเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนชาวนาและการประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช" แต่ปัจจัยสำคัญในการทำงานวิจัยก็คือ งบประมาณ จึงใครขอความกรุณาท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องที่อยากจะให้งานวิจัยดังกล่าวนี้ได้ต่อยอดเพิ่มสูงขึ้น ช่วยชี้แนะแนวทางหรือให้การสนับสนุนการวิจัยนี้ด้วยครับเพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศชาติให้ไปสู่ระบบเกษตรยั่งยืน

                              ขอขอบพระคุณอย่างสูง

                                       อรรถกร พรมวี

อ. อรรถพร กรุณาติดต่อ สกว. ฝ่ายวิชาการ    ที่ ศ. ดร. วิชัย บุญแสง หรือผู้ช่วยของท่านก็ได้  โทร. 02 298 0455 ext 142  เขามีชุดโครงการวิจัย เกษตรอินทรีย์ ครับ

วิจารณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท