Shunrei
นักศึกษากิจกรรมบำบัด จุฑามาศ เก๋ ยิ่งยง

หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่ กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


ความบกพร่องทางจิตของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจะแตกต่างจากเด็กมาก เพราะ การเติมโตทำให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้จึงส่งผลต่อพฤติกรรมและภาวะทางจิตของคนๆนั้น

วัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่ต้องได้รับภาระที่หนักมากทางสังคม การเปลี่ยนบทบาท หน้าที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้เกิดความเครียด ความกังวลขึ้นภายในตัวบุคคล และนำไปสู่ภาวะทางจิตนั้นเอง

เมื่อเข้าสู้วัยชราสภาพร่างกายจะเกิดการเสริมถอยส่งผลทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงมากยิ่งขึ้นการตอบสนองต่อความต้องการก็จะลดลง บทบาทและหน้าที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สภาพจิตใจลดลง และนำไปสู่ภาวะทางจิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตาม Erikson's Theory of Psychosocial Development ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นโดยช่วงวัยผู้ใหญ่อยู่ในขั้นที่ 6 และ 7 ส่วนในวัยผู้สูงอายุอยู่ในขั้นที่ 8 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 6 ความสนิทชิดชอบหรือความเปล่าเปลี่ยว(IntimacyVS Isolation)  ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะของการมีเพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างเพศ การแสดงความรัก ทำให้เกิดความสนิทชิดชอบ แต่ถ้าไม่มีเพื่อนสนิท หรือคนรักที่จะแต่งงานด้วย จะมีความรู้สึกว้าเหว่ หงอยเหงา เปล่าเปลี่ยว

ขั้นที่ 7  ความเสียสละ หรือความเห็นแก่ตัว (Generativity VS Self Absorption)  ในช่วงวัยกลางคน ชีวิตจะผูกพันกับครอบครัว สังคม และทรัพย์สมบัติ การพัฒนาบุคลิกภาพจะเป็นไปในด้านใดด้านหนึ่ง คือการเห็นแก่ส่วนรวม การเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือในทางตรงกันข้าม คือ การคำนึงถึงแต่ตัวเองเป็นใหญ่ การเห็นแก่ตัว การไม่ร่วมมือกับคนอื่น

ขั้นที่ 8 ความมั่นคงทางจิตใจ หรือ ความสิ้นหวัง (Integrity VS Despair)ในช่วงวัยสูงอายุตอนปลาย จะคิดถึงอดีตที่ผ่านมา ความสมหวังหรือความล้มเหลวในหลายๆด้าน ถ้ามีความสมหวังมากกว่าความล้มเหลว จะมีความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ แต่ถ้ามีความล้มเหลวมากกว่าจะมีความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจในวัยสูงอายุ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ด้านจิตสังคมตามกระบวนการชราภาพ

ในด้านจิตสังคมตามกระบวนการชราภาพ  ผู้สูงอายุจะพบกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่อไปนี้

1.  การปลดเกษียณหรือการออกจากงาน (Retirement) การปลดเกษียณหรือการออกจากงานเป็นเรื่องที่สำคัญ  เพราะการทำงานทำให้บุคคลมีความมั่นคง และมีศักดิ์ศรีในตนเองที่สามารถพึ่งตนเองได้

2.  การเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัว ในปัจจุบันสังคมครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น  เมื่อลูกๆ โตขึ้นเป็นหนุ่มสาวจะแต่งงานแยกครอบครัวออกไปหรือไปประกอบอาชีพในต่างถิ่น  ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง  ถูกทอดทิ้ง และขาดที่พึ่ง

3.  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม  ความเจริญก้าวหน้ามีมากขึ้น  ลูกหลานเริ่มมีเจตคติต่อผู้สูงอายุเปลี่ยนไป  ผู้สูงอายุมีคุณค่าลดลง

4.  การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ปัจจุบันวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมทางตะวันตกมากขึ้น  ในขณะที่ผู้สูงอายุยังมีความคิดเห็นที่คงที่  ยึดมั่นกับคตินิยมของตนเอง ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม

5.  การเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการทางจิตใจในวัยผู้สูงอายุ อีริคสิน (1964)  ได้แบ่งการพัฒนาการทางจิตสังคมในวันผู้สูงอายุไว้ในขั้นตอนที่  8  ของทฤษฎีสังคมของอีริคสิน และกล่าวว่าผู้สูงอายุเป็นระยะเวลาที่บุคคลจะทบทวนประสบการณ์ในอดีต  ถ้าพบว่าตนเองได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วก็จะเกิดความพอใจ  มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง  มีอารมณ์มั่นคง  ก่อให้เกิดความมั่นคงทางใจที่เรียกว่า  Integrity  ในทางตรงกันข้าม  หากพิจารณาแล้วรู้สึกว่าชีวิตของตนขมขื่น  ทุกข์ร้อน และผิดหวังไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต  จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง  ไร้ค่าที่เรียกว่า  Despair 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทบาท และหลักการกิจกรรมบำบัด

ในวัยผู้ใหญ่ จะเน้นให้ความสำคัญการทำงานเพื่อนำมาหาเลี้ยงครอบครัว การทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเอง เช่น หัวหน้าครอบครัว

ในวัยผู้สูงอายุจะเน้น สภาพจิตใจ การปรับพฤติกรรม การยอมรับการเปลี่ยนแปลง การจัดการความเครียด

-  การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ

-  การประเมินทางกิจกรรมบำบัด

-  การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมและกิจกรรมยามว่าง

-  การจัดกิจกรรมที่ช่วยจัดการความเครียด หรือการแก้ไขปัญหาความเครียดด้วยตัวเอง

-  การใช้คำปรึกษา และการแก้ไขปัญหา ทางจิตสังคมหรือการช่วยส่งเสริมการทำกิจกรรมที่มีความหมาย

-  ส่งเสริมความคิดเชิงบวกทั้งจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ต่อตนเองและผู้อื่น

-  ส่งเสริมความสัมพันธ์ของครอบครัวในการให้การสนับสนุน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

-  การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข(Well-being) และมีคุณภาพชีวิตที่ดี(Quality of Life) ทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง

-  การประเมินซ้ำ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรียนรู้เพิ่มเติม

ทฤษฏีของ Erikson ที่มา :

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/concepts_of_developmental_psychology/05_1.html

https://sites.google.com/site/citwithyaphunthan/phathnakar-khx-ngbukhkh/thvsdi-phathnakar-thang-cit-sangkhm

ด้านจิตสังคมตามกระบวนการชราภาพ  ที่มา :

http://phudkrong.exteen.com/20090719/entry-6


หมายเลขบันทึก: 516222เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท