หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


         ความบกพร่อมทางจิตสังคมส่งผลต่อชีวิตของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสามารถอธิบายโดยใช้กรอบอ้างอิง ICF ดังนี้
                          
ความบกพร่องทางจิตถือว่าเป็นHealth condition อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ 3 มิติคือ
1. Body Function & Body Structures มีความผิดปกติทางสมอง กล่าวคือสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมองทำหน้าที่ไม่ได้เหมือนเิดิม เช่นการรับรู้ความจริง การควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
2. Activity ไม่สามารถทำกิจกรรมทั้งการดูแลตนเอง(Self-care) การทำงาน(Work) การทำกิจกรรมยามว่าง(Leisure) การพักผ่อน(Rest) และการนอนหลับ(Sleep)
3. Participation ไม่มีส่วนรวมในการเข้าสังคม(Social Participation) และการทำกิจกรรมต่างๆ
นอกจากนี้ ปัจจัยด้านบริบทก็มีผลต่อ 3 มิติดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ Environment factors(ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม) และPersonal factors(ปัจจัยด้านบุคคล) เช่นครอบครัว เพื่อนและสังคม

         หลักการทางกิจกรรมบำบัด
การประเมิน
ผู้ใหญ่
- สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้าถึงเข้านอนเนื่องจากผู้รับบริการจิตเวชมักมีปัญหาเรื่องการจัดการเวลาในชีวิตประจำวัน ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนและดูทีวี สอบถามเรื่องการทำงานหรือการประกอบอาชีพในอดีต การทำกิจกรรมยามว่าง ความบกพร่องและความสามารถในการทำกิจกรรม ค่านิยม เจตจำนงค์ นิสัย ความสนใจ และการให้คุณค่าในตนเอง
- สัมภาษณ์ครอบครัว เกี่ยวกับพฤติกรรม การตัดสินใจและการแก้ปัญหาของผู้รับบริการ
- แบบประเมิน The Allen Cognitive Level Screen
- แบบประเมิน Interest Checklist และRole Checklist
- แบบประเมิน COPM ความสามารถในการทำกิจกิจกรรมและความพึงพอใจในการทำกิจกรรม
- แบบประเมินความซึมเศร้า

ผู้สูงอายุ
- การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่เช่น การสอบถามเกี่ยวกับโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ การรับประทานยา การประกอบอาชีพในอดีต การทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายตัว และอยู่ติดเตียง ดังนั้นจึงถูกจำกัดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การให้คุณค่าและความหมายในปั้นปลายชีวิต
- ประเมินสิ่งแวดล้อมและบริบทที่ขัดขวางและสนับสนุนการทำกิจกรรม
- แบบประเมินเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ควรประเมินคุณภาพการนอนหลับ เนื่องจากผู้สูงอายุมักนอนตอนกลางวันและตื่นกลางดึก นอกจากนี้หากมีอาการซึมเศร้าจะส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ อาจมีการประเมินการหกล้มเช่นBerg Balance Scale เพื่อป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ และแบบประเมินFACIT-Sp
หมายเหตุ: การใช้แบบประเมินขึ้นอยู่กับผู้รับบริการแต่ละบุคคล นักกิจกรรมบำบัดควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

ให้การบำบัด
ผู้ใหญ่
- กิจกรรมฉายภาพทางจิต เพื่อบ่งบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้รับบริการ
- กิจกรรมการแสดงละครบำบัด เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลอง และเพิ่มทักษะในการตัดสินใจของผู้รับบริการ หรือTherapeutic community การช่วยเหลือให้ทำกิจกรรมในชุมชนจำลอง ก่อนออกสู่สังคมจริง
- กิจกรรมการดูแลตนเอง(Self-care) เช่นSchizophreniaจะมีปัญหาเรื่องการดูแลตนเอง สังเกตได้จากการแต่งตัว การหวีผม กลิ่นตัวและกลิ่นปาก หากผู้รับบริการมีปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อการมีส่วนรวมทางสังคม เพื่อนไม่ยอมให้เข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมหรือไม่ยอมเข้าใกล้
- ส่งเสริมทักษะความสามารถในการทำงาน งานของผู้รับบริการจิตเวชอาจเป็นงานที่ไม่ซับซ้อน เห็นผลสำเร็จได้ง่าย
- ส่งเสริมเรื่องกิจกรรมยามว่างที่สนใจ เช่นงานศิลปะ ดนตรี กีฬา การทำอาหาร การจัดการความเครียดและกิจกรรมผ่อนคลาย
- กิจกรรมกลุ่มและทักษะทางสังคม เริ่มต้นจากกลุ่มคู่ขนาน, กลุ่มผลงาน, กลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ, กลุ่มอารมณ์ร่วมใจ และกลุ่มวุฒิภาวะ ตามลำัดับ 
- การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณหรือเข้าวัยผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ
- กิจกรรมการดูแลตนเอง(Self-care) เช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ แต่มีความแตกต่างคือวัยผู้สูงอายุไม่มีการประกอบอาชีพแล้ว ทำให้มีเวลาว่าง ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรส่งเสริมการจัดการเวลาให้ผู้สูงอายุ(Time management) การทำกิจกรรมยามว่างที่สนใจ การเข้าร่วมสังคม การทำกิจกรรมกับครอบครัวและลูกหลาน
- การเตรียมความพร้อมต่อการเสียชีวิต การปรับตัวและวางแผนชีวิต การยอมรับการเสียชีวิตอย่างไม่วิตกกังวล ให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่อยากทำ เช่นเข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร
- การให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุ โดยการรับฟังให้มากที่สุด

ตัวอย่างกลุ่มผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางจิต
Schizophrenia มีลักษณะอยู่กับตัวเอง คิดเพ้อฝันเยอะ บางทีไม่สบตา อารมณ์สีหน้านิ่งเฉย ร่ายคาถา พูดคนเดียว คิดว่ามีคนพูดกับเค้าอยู่ แสดงท่าทางแปลกๆ เช่นจับผีเสื้อบิน
บทบาทนักกิจกรรมบำบัด: นำผู้รับบริการกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง ป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการแยกตัวออกตามลำพัง โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มที่สนใจ คงอุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนที่ดี ปรับปรุงสมรรถภาพทางร่างกาย กระตุ้นให้สนใจสิ่งแวดล้อมและปรับตัวเข้าสังคม

Anxiety Disorder บทบาทนักกิจกรรมบำบัด คือการจัดกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน เห็นผลสำเร็จได้ง่าย ถ้าไม่สำเร็จแล้วผู้รับบริการกลุ่มนี้มักจะคับข้องใจ และทำร้ายตัวเอง กิจกรรมไม่ควรให้มีการแข่งขัน ควรเน้นความสนุกสนาน ส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อลดความเครียด

Depression บทบาทนักกิจกรรมบำบัด คือการจัดกิจกรรมที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ไม่ซับซ้อน เมื่อผู้รับบริการสามารถทำได้สำเร็จแล้ว จึงปรับระยะเวลาให้เพิ่มขึ้น

ประเมินซ้ำ
ผู้ใหญ่
- แบบประเมิน The Allen Cognitive Level Screen
- แบบประเมิน Interest Checklist และRole Checklist
- แบบประเมิน COPM ความสามารถในการทำกิจกิจกรรมและความพึงพอใจในการทำกิจกรรม
- แบบประเมินความซึมเศร้า
- ทักษะการดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างสมดุล ความสามารถในการทำงาน

ผู้สูงอายุ
การประเมินเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ มีความแตกต่างคือการประเมินเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ
- แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ
- แบบประเมินFACIT-Sp เพื่อประเมินความผาสุกของชีวิตในวัยผู้สูงอายุ

เราสามารถพบผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมได้ทั่วไป การบำบัดต้องใช้ระยะเวลา
เราไม่ควรแสดงท่าทีตื่นตระหนกหรืออาการกลัว เนื่องจากผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมก็เหมือนกับคนเราทั่วไป ที่มีความคิดและมีหัวใจเหมือนกัน เพียงแต่เค้าไม่สามารถควบคุมตนเองได้และมีโลกส่วนตัวเป็นของตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 516147เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท