หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแล ผู้ใหญ่ กับ ผู้สูงอายุ ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม



สิ่งสำคัญในการบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิต จะเน้นในเรื่องของการเพิ่ม 

  1. ความสามารถในการทำกิจกรรมการดูแลตนเอง
  2. เพิ่มความสนใจในการทำกิจกรรม
  3. เพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง
  4. เพิ่มความสมดุลในกิจกรรมการดำเนินชีวิต

กลุ่มอาการทางจิตเวชในช่วงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่

  • · Depression
  •    Mood disoder
  • · Alzheimer’s disease
  • · Schizophrenia
  • · Bipolar disorder
  • · Personality disorder
  • · Polysubstance abuse

หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านจิตสังคม

1. การประเมิน

ใช้การสัมภาษณ์ หรือใช้แบบประเมินเพื่อดูว่าผู้รับบริการมีความสนใจในกิจกรรมอะไร โดยใช้แบบประเมินความสนใจ Interest checklist   รวมถึงการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจ หากผู้รับบริการมีปัญหาเรื่องสายตา หรืออ่านหนังสือไม่ออกอาจใช้การสัมภาษณ์ตัวผู้รับบริการหรือผู้ดูแล

2.การบำบัดฟื้นฟู 

 วัยผู้ใหญ่ ดูในเรื่องทักษะการทำงาน ส่งเสริมทักษะในการทำงาน การจัดการความเครียด การแสดงออกถึงพฤติกรรมและอารมณ์ที่เหมาะสม

 วัยผู้สูงอายุ : ดูในเรื่องของจิตใจ เนื่องจากในวัยผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น อาจจำกัดการทำกิจกรรมทำให้ผู้รับบริการไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ให้กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมแรงจูงใจ โดยเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ แล้วใช้การปรับประยุกต์กิจกรรมเพื่อให้เหมาะกับความสามารถของผู้รับบริการ เน้นการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคม

3. การประเมินซ้ำ

ให้มีการประเมินซ้ำเพื่อดูความก้าวหน้าของการบำบัด และปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ


หมายเลขบันทึก: 516140เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท