หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแล เด็ก กับ วัยรุ่น ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


จิตสังคมในเด็กและวัยรุ่น การวินิจฉัยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. วินิจฉัยตั้งแต่วัยเด็กต่อเนื่องมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยมักจะมีอาการ ร้องไห้แบบไม่รู้สาเหตุหรือ ดูดนมแรงมาก

2. วินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่ แล้วสืบกลับไปในวัยเด็กแล้วมีอาการผิดปกติดังกล่าว

การแบ่งโรคในจิตเวชเด็กตามการแบ่งของ CAMHS (Children Adolescent Mental Health Services ) ตัวอย่างเช่น

  1. Mental retardation
  2. Learning  disability
  3. Motor skill disoder
  4. Communication disoder
  5. Pervasive Developmental Disorder
  6. Attention Deficit Hyperactivity Disorder
  7. Feeding & eating Disorder
ความสำคัญของจิตเวชในเด็กที่ส่งผลไปในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ คือ หากเด็กมีอาการของโรคทางจิต แล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาตั้งแต่วัยเด็กเช่น ADHD จะส่งผลให้เมื่อเติบโตขึ้นจะมีพฤติกรรมรุนแรงได้

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

  • ส่งเสริมสุขภาพทางบวก : ออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยพิจารณาเลือกกิจกรรมจากความสนใจของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม
  • ประเมินความสามารถการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  • สังเกตพฤติกรรม และอาการทางจิต
  • ออกแบบการรักษา โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อการรักษา

ความแตกต่างของหลักการทางกิจกรรมบำบัดในการดูแลเด็กและวัยรุ่น

  1. การตรวจประเมิน 

เด็ก- ใช้การสัมภาษณ์จากผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และดูลักษณะการเล่นของเด็ก การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นการแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใกล้ชิดหรือบุคคลที่ไม่คุ้นเคยว่าเด็กแสดงพฤติกรรมอย่างไร รวมถึงพัฒนาการที่ผ่านมาในแต่ละช่วงวัยของเด็ก

วัยรุ่น-ใช้การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรม ความบกพร่องและความสามารถในการทำกิจกรรม พฤติกรรมขณะอยู่ที่บ้านและโรงเรียน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การควบคุมและการจัดการอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
        - สัมภาษณ์ผู้รับบริการ โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก กิจกรรมที่ชอบทำ ปัญหาความซึมเศร้า หรือความเครียด โดยอาจใช้แบบประเมินมาตรฐานร่วมด้วย เช่น แบบประเมินRole Checklist, Interest Checklist เมื่อสัมภาษณ์เสร็จ ควรถามผู้รับบริการว่ามีข้อมูลส่วนไหนที่ต้องการเก็บเป็นความลับ ไม่ต้องการให้ผู้ปกครองทราบบ้าง เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจในผู้บำบัด

2.การบำบัด


เด็ก


- กิจกรรมบำบัดฟื้นฟู ใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการรักษา โดยให้เล่นในสิ่งที่เด็กชอบ จากนั้นใช้การเล่นเป็นกลุ่มเพื่อสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ การแสดงออกทางอารมณ์ และการควบคุมตนเอง โดยการเล่นในระยะเเรกอาจเป็นการเล่นแบบใช้ของเล่นร่วมกัน แล้วค่อยปรับให้เป็นการเล่นแบบกลุ่มที่สูงขึ้น
- การปรับพฤติกรรมในเด็กอาจใช้การตั้งเงื่อนไข หรือให้แรงเสริมทางบวกหรือทางลบ โดยดูจากพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก ส่งเสริมการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม
-การปรับสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มอาการ เช่น สมาธิสั้น อาจต้องปรับเพื่อไม่ให้มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวขัดขวางการทำกิจกรรมของเด็ก หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กหันเหความสนใจได้ง่าย เช่น บริเวณที่มีเสียงดัง

วัยรุ่น

-ใช้กิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เป็นกิจกรรมส่งเสริมการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา กิจกรรมกลุ่ม หรือกิจกรรมช่วยเหลือสังคม

3.ประเมินซ้ำ 

- หลังจากให้การบำบัดฟื้นฟู ควรมีการประเมินซ้ำทุกครั้ง เพื่อดูความก้าวหน้า และปรับกิจกรรมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น



หมายเลขบันทึก: 516130เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท