บุคคลแห่งการเรียนรู้ ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย


          "ข่าวช่องสามตัดสินใจแบน “เหนือเมฆ 2” โดยไม่มีเหตุผลอันควร และไม่มีคำชี้แจงใดใดตามมา แม้จะถูกตั้งคำถามจากสังคมมากมาย แต่ท่าทีของการแสดงความไม่ใส่ใจ หรืออาการปิดปากเงียบ พร้อมสำทับให้คนในองค์กรอย่าได้แพร่งพรายในสิ่งที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้...เป็นไปได้หรือที่สื่อ ‘มืออาชีพ’ ขนาดนี้จะบ้องตื้น คิดตัดสินอะไรง่ายๆ เหมือนเด็กเพิ่งเริ่มทำธุรกิจแบบนี้

            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะเป็นแค่คำสั่งของผู้มีอิทธิพลทางการเมือง หรือผู้มีบารมีจากแดนไกล แต่น่าจะมาจากการต่อรองผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือหวังผลในการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของคนทำสื่อฯกับนักธุรกิจการเมืองบางคน เพียงแต่ผลลัพธ์ในการต่อรองครั้งนี้อาจไม่เป็นที่พอใจ จนมีการตอกกลับด้วยการปั่นกระแสให้ป่วนเมืองกันเล่นๆ...ถึงแม้สมมติฐานนี้เป็นแค่เรื่องยกเมฆหรือเรื่องเหลวไหล แต่สิ่งที่น่ากังวลยิ่งไปกว่าคือ เหตุใดสื่อกระแสหลักถึงได้นำเสนอข่าวนี้อย่างผิวเผิน จับจรด ไม่นับช่องสาม ที่ไม่มีการเสนอข่าวนี้แม้แต่น้อย ทว่าช่อง 5, 7, 9, สทท.11 หรือกระทั่งทีวีสาธารณะอย่าง ThaiPBS กลับไม่มีการนำเสนอข่าวเรื่องนี้อย่างเกาะติดและจริงจัง ทั้งๆที่มีศักยภาพและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข่าวอย่างใกล้ชิด มีเพียงสื่อทางเลือกอย่างทีวีดาวเทียมบางช่องที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

            น่าแปลกที่ว่าก่อนหน้าละครจะถูกแบน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งนักแสดงและ คนเขียนบท ต่างออกมาคร่ำครวญ ด่าทอกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่พอเอาเข้าจริงคนเหล่านี้กลับปิดปากเงียบ หลบลี้หนีหน้า ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ใดใด ทั้งๆที่ละครเรื่องนี้ เปรียบได้ก็เหมือนน้ำดีแอ่งน้อยๆในวงการละครโทรทัศน์ไทย คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องน่าจะภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์และลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในสิ่งที่เกิดขึ้น และน่าอดสูยิ่ง

            กว่าวคือไม่เพียงแค่เสรีภาพของคนทำสื่อถูกริดรอน หากแต่ตัวผลงานยังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ถูกลากดึงไปเกี่ยวข้องกับขั้วอำนาจทางการเมือง วงการละครไทยตกเป็นเหยื่อถูกปู้ยี้ปู้ยำยิ่งกว่าครั้งไหนๆในประวัติศาสตร์ หวังว่าความอัปยศครั้งนี้ สังคมไทยน่าจะได้บทเรียนอะไรบ้าง"


          คัดลอกจาก "เหนือเมฆ 2" : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม คม ชัด ลึก ออนไลน์ 


          จากบทสนทนาในละคร ได้สะท้อนความคิดเห็นต่อสภาพสังคมและคุณภาพการศึกษาปัจจุบัน อย่างเช่น

          
 “สังคมคงอยู่ไม่ได้ ถ้าคนไม่สร้างคุณค่าของตัวเองด้วยการสร้างความดี คุณต้องกลัวให้น้อยกว่าที่กล้า ศรัทธาให้มากกว่าที่เห็น ความดีไม่เคยพ่ายแพ้ต่อความชั่วร้าย นี่คือสัจธรรมที่ไม่ต้องพิสูจน์”

 “...จะมีประโยชน์อะไร ถ้าการเป็นที่หนึ่งหมายถึงการต้องอยู่โดดเดี่ยว มันเป็นความยิ่งใหญ่ที่ไม่จีรัง... และไร้ค่าสิ้นดี สำนึกบ้างมั้ย ... กิเลสและความโลภทำลายคนที่แกรักไปแล้วกี่คน”

"ที่จริงฉันก็เห็นด้วยว่าต้องมีดาวเทียมเพิ่ม แต่ไม่ใช่เวลานี้ ที่ปากท้องประชาชนกับการศึกษาเป็นเรื่องสำัคัญที่สุด เงินเป็นพันล้านเราควรจะเอามาพัฒนาคุณภาพชีวิตคน ให้การศึกษากับเด็กด้อยโอกาส เพื่ออนาคตของพวกเขาจะได้ไม่ต้องถูกหลอกจากพวกมีการศึกษา พวกที่เป็นคนเก่ง... แต่ไม่ใช่คนดี ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง"


              เป็นบทเรียนหนึ่งที่ชาวการศึกษาต้องนำมาพิจารณาสู่การปรับกระบวนการเรียนการสอน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งความรู้และปัญญาอย่างแท้จริง   


                          

หมายเลขบันทึก: 516088เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท