OT-Japan
นาย เจษธวัช บุญฤทธิ์ลักขณา

บรรยายดีๆ ในหัวข้อ "การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย(End of life care)"


ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณ อาจารย์รัชณีย์ ป้อมทอง จากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ผู้บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง " การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care) " ณ ห้อง Auditorium คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในบ่ายวันพุธที่      9 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 13.00-15.00 น. 

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย  หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า ระยะของการป่วยไข้เป็นระยะลุกลาม เรื้อรังหรือเป็นการป่วยที่เข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรค ซึ่งไม่มีวิธีที่รักษาหายได้

เป้าหมายของการดูแลรักษา

1.ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2.บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน ทั้งทางกายและใจ

3.เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความสูญเสีย

4.ช่วยให้ได้ทำภารกิจต่างๆที่ยังห่วงกังวลอยู่

5.ช่วยให้เสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีชองความเป็นมนุษย์ โดยมีความทุกข์ทรมานน้อยที่สุด

ความเชื่อเกี่ยวกับความตาย ความเชื่อในศาสนา สิ่งยึดถือต่างๆของผู้ป่วย

ความเข้าใจเกี่ยวกับการตาย และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

จากการฟังบรรยายตลอด 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผมขอสรุปและเชื่อมโยงกับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดดังต่อไปนี้

       ในทางกิจกรรมบำบัด การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้น เราจะต้องเน้นหลักสำคัญที่สุดคือ การที่ผู้รับบริการมีความสุขและมีสุขภาวะทางกาย ทางจิตใจที่ดี ผมจึงขอยกกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดมาใช้กับผู้รับบริการกลุ่มนี้ดังต่อไปนี้

1.กรอบอ้างอิง Psychospiritual integration Frame of Reference

  1. Becoming : ผู้รับบริการจะต้องรับผู้และเข้าใจในสภาพร่างกายของจนและรับรู้ถึงการจากไปของตนเอง
  2. Meaning : นักกิจกรรมบำบัดส่งเสริมให้ผู้รับบริการทำกิจจกรรมที่มีความหมายให้ผู้รับบริการรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีความหมาย
  3. Centredness :ได้ระลึกถึงสิ่งที่ตอนเองทำแล้วเกิดประโยชน์ เกิด คุณค่า
  4. Connectedness : มีการเชื่อมโยง และเกิดการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา เพื่อการจากไปอย่างสงบสุข รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมกับับบ้านให้เหมือนกับโรงพยาบาล
  5. Transcendence : การที่ผู้รับบริการจากไปอย่างมีความสุข และสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั่งเอง

     จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งของวิชาชีพอื่นๆและวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ก็จะมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก ผมจึงคิดว่า ถ้าทุกๆคนเข้าใจในหลักของการดำเนินชีวิต ที่ว่าด้วย การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกๆคนก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีสติอยู่กับตนเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำและเกิดประโยชน์ คุณค่า ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม ขอบคุณครับ


นายเจษธวัช  บุญฤทธิ์ลักขณา

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 

คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล



หมายเลขบันทึก: 516061เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท