หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่ กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


ปัจจุบันนี้ความผิดปกติ และความบกพร่องนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียงร่างกายอย่างเดียว ความผิดปกติ และความบกพร่องทางจิตใจ และอารมณ์ หรือที่เราเรียกว่า "ความบกพร่องทางจิตสังคม” นั้นก็เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อข้อจำกัด ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน

         ความบกพร่องทางจิตสังคมในวัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการรักษา บำบัดฟื้นฟู อาการความบกพร่องในวัยเด็ก และวัยรุ่น หรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือภาวะต่างๆที่ส่งผลต่อสมอง จิตใจ และอารมณ์ของผู้รับบริการ

         กิจกรรมบำบัดจิตสังคมในผู้ใหญ่ และสูงอายุ ได้แก่

  • Depression
  • Alzheimer's disease
  • Schizophrenia
  • Bipolar disorder
  • Personality disorder
  • Polysubstance abuse
    Etc.
        วัยผู้ใหญ่

         บทบาท และหลักสำหรับกิจกรรมบำบัด

         วิเคราะห์องค์ประกอบ ของผู้รับบริการด้วยกรอบอ้างอิง PEOP ( Person-environment-occupation-performance & participation )
       การใช้กิจกรรมภาพฉายทางจิต ให้ผู้รับบริการได้แสดงออกถึงความคิด อารมณ์ ความรู้สึกผ่านกิจกรรม เช่น กิจกรรมปั้นดินเหนียว ผู้รับบริการได้แสดงออกความคิดด้วยการปั้น และได้แสดงความรู้สึกผ่านการอธิบายความเชื่อมโยงของสิ่งที่ปั้นกับผู้รับบริการ นอกจากนี้ผู้รับบริการยังเห็นความสามารถ และผลงานของตนเอง เป็นต้น
        ทำ Cognitive behavior therapy (CBT) ให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ความบกพร่อง และวิธีการจัดการด้วยตนเอง เช่น Schizophrenia จะมีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน ผู้รับบริการจะต้องเรียนรู้ และแยกแยะระหว่างความจริง กับจินตนาการให้ออก โดยมีการกินยาที่แพทย์ให้ควบคู่ไปด้วย เป็นต้น
        ถ้าผู้รับบริการยังไม่สามารถรับรู้ว่าตนเองมีความบกพร่องต้องใช้วิธี Psychoeducation โน้มน้าวให้ผู้รับบริการได้รับรู้อาการของตน โดยให้เราอธิบายถึงสิ่งที่เขาเป็น และแนะนำวิธีแก้ไขให้ชัดเจน ถูกต้อง
      ประเมินความสนใจ บทบาท และความพึงพอใจ เพื่อหากิจกรรมที่จะนำมาเป็นกิจกรรมการรักษา ที่สำคัญกิจกรรมนั้นๆ จะต้องสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการมีส่วนร่วม(participation) และส่งเสริมการทำงาน(work) และอาชีพ(job) จากนั้นนำกิจรรมที่ผ่านการวิเคราะห์ มาจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่นเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมร่วมด้วย(social skill)  
        จากนั้นจัดสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย ให้เหมาะกับในผู้รับบริการแต่ละด้าน เช่น ผู้ป่วย Alzheimer's disease บ้านก็ควรจัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบเรียบร้อย และจะต้องมีการแปะกระดาษที่เขียนกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนร่วมด้วย เป็นต้น

         ผู้สูงอายุ

         บทบาท และหลักสำหรับกิจกรรมบำบัด

             วิเคราะห์องค์ประกอบ ของผู้รับบริการด้วยกรอบอ้างอิง PEOP ( Person-environment-occupation-performance & participation ) ICF และ Psychospiritual integration FoR ในผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
              ประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันด้านต่างๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน,การทำงาน,การใช้เวลาว่าง การมีส่วนร่วมทางสังคม เป็นต้น และส่งเสริมความสามารถที่ยังคงอยู่และคงสภาพความสามารถนั้นให้ เสื่อมช้าลง รวมถึงป้องกันความสามารถที่เสื่อมแล้ว ให้เสื่อมช้าลงด้วย (Health promotion&Health prevention) รวมถึงการประเมิน ทักษะการปรับตัว ความพึงพอใจ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา 
               ให้ผู้สูงอายุเรียนรู้ และเข้าใจถึงสภาพการเสื่อมถอยของร่างกาย ความบกพร่องทางจิตสังคมของตน และเตรียมพร้อมการเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต 
               ให้กิจกรรมการจัดการความเครียด (Coping skill) รับรู้ถึงความล้า ความเจ็บปวดจาการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพ รวมถึงการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุการทำงาน
               ส่งเสริมแรงจูงใจ และกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เพื่อสนับสนุนให้เกิดเป็นกิจกรรมยามว่างให้กับผู้สูงอายุ และอาจจะก่อให้เกิดงานในผู้สูงอายุ เช่น การนำกิจกรรมยามว่างที่มีผลผลิตชิ้นงานส่งขาย หรือ การเป็นอาสาสมัครในหน่วยงานต่างๆ ตามความสามารถ เป็นต้น
               การปรับสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม และหาอุปกรณ์เครื่องช่วยในการเพิ่มโอกาสการทำกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติม

            จะเห็นได้ว่าหลัก และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ จะมีส่วนคล้ายกันอยู่บ้าง แต่ในผู้ใหญ่จะเน้นกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมเกี่ยวกับงาน และอาชีพ เพื่อบทบาทในการหาเลี้ยงชีพ และครอบครัว ส่วนผู้สูงอายุจะเน้นการคงสภาพ และป้องกันความเสื่อมทางด้านร่างกาย ที่จะส่งผลถึงสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังต้องใช้แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมกิจกรรมยามว่าง และที่สำคัญผู้สูงอายุจะต้องวางแผนชีวิตหลังเกษียณ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต 

หมายเลขบันทึก: 516001เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2013 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท