จะวัด หรือ จะทรัสต์ (Trust) ย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริหาร


"การวัด กับ การ Trust (เชื่อใจ)" เป็นสิ่งที่สำคัญทั้งคู่ อย่าเอาชีวิตไปผูกมัด อยู่กับแค่การวัดเลยครับ !

ผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่มักเป็นพวกที่ขี้สงสัยและชอบตั้งคำถาม เวลาลูกน้องรายงานว่าได้เอาหลักการนั้นหลักการนี้มาใช้งาน (ตัวอย่างเช่น เรื่องการจัดการความรู้หรือ KM) ก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า “ใช้แล้วได้ผลอะไร? บริการดีขึ้นไหม? งานดีขึ้นอย่างไร? ช่วยวัดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมหน่อย” ถ้าเห็นแล้วว่าได้ผล ตนก็จะให้การสนับสนุนเรื่องนี้ต่อไป

แค่เจอคำถามแรกนี้ ผู้ที่รับผิดชอบก็วิ่งวุ่นแล้ว ต้องมานั่งคิดตัวชี้วัด (KPI) เพื่อที่จะตอบโจทย์ผู้บริหารให้ได้ แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ยังไม่ทันจะตกผลึกคำถามแรก ผู้บริหารก็ดันตั้งคำถามที่สองตามมาว่า “แล้วรู้ได้อย่างไรว่าผลที่ได้มานั้น มันมาจากการใช้ KM ไม่ได้มาจากการ Implement เรื่องนั้นเรื่องนี้? . . . ”

ตกลงนี่เขาจ้างผู้บริหารให้เข้ามาเพื่อตั้งคำถามหรือไง? รู้ไหมว่าแค่สองคำถามนี้ ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวก็งานเข้าไม่เป็นอันกินอันนอนแล้ว . . มันเป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ผลสุดท้ายก็ไปติดตายอยู่ที่เรื่องตัวชี้วัด (KPI) . . แล้วนี่เอ็งจะบ้าวัดไปถึงไหน? เอ็งไม่รู้บ้างหรือไงว่าที่ถามมาทั้งหมดนี้มันเป็นสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของเอ็ง! . . 

"การวัด กับ การ Trust (เชื่อใจ)" เป็นสิ่งที่สำคัญทั้งคู่ อย่าเอาชีวิตไปผูกมัด อยู่กับแค่การวัดเลยครับ ! 

หมายเลขบันทึก: 515752เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2013 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2013 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การวัด กับ การ Trust (เชื่อใจ) .... ทำทั้งคู่ ... ทั้งวัดและทำให้เกิด Trust  ...ตัดปัญหาที่ ถามบ่อยๆๆ มากนัก  (v..v)

นี่แหละครับอาจารย์ การบริหารที่อยู่ภายใต้กระบวนทัีศน์แบบเก่า "โครงสร้างอำนาจแนวดิ่ง" การตั้งคำถามของผู้บริหารไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า "ความต้องการแสดงอำนาจ" ในโครงสร้างอำนาจแนวดิ่ง "นวัตกรรมเดียวกัน" แต่มาจากขั้วอำนาจต่างกัน จึงมี "ป้ายชื่อ" ต่างกัน การใช้ป้ายชื่อที่ตรงกันข้ามกับขั่วอำนาจเดิม ไม่ใช่เป็นแต่เพียงความพยายามนำเสนอ "นวัตกรรม" ในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่มันยังหมายถึง "การท้ายทายอำนาจ" เดิมด้วย ผู้บริหารก็เป็น "ปุถุชน" บางคน กิเลสหนาตามระดับ ปริญญาที่ได้รัีบ ชั้นยศที่ได้รับ หรือยิ่งกว่า

การจะบอกให้ละ "การวัด" แล้วมาใส่ใจกับ "การทรัสต์" สำหรับปุถุชน มันอาจจะคล้ายสิ่งที่เต่ากำลังจะอธิบายเรื่อง "อากาศ" ให้ปลาฟัง

หรือท่านว่าอย่างไรครับ ท่านผู้บริหารแนว Functionalism ทั้งหลาย...

ใช่เลยครับ ดร.ศรติ เท้จริงแล้วยังคงเป็นการบริหารแบบสั่งการและควบคุม (Command & Control) อยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบให้ดูสวยหรู ใช้คำใหญ่ๆ เช่น นวัตกรรมด้านการบริหาร Balanced Scorecard, KPI และอะไรๆ อีกมากมาย แต่แล้วสิ่งที่หายไปก็คือเรื่อง ภาวะผู้นำ การทำให้ลูกน้องมี Passion ในงาน การไว้เนื้อเชื่อใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน etc.

เช่นนั้นแล้ว การจัดการความรู้ จริง ๆ แล้ว มันคือ "การจัดการอำนาจ" หรือเปล่าครับอาจารย์ ความรู้ระดับ "เหตุผลธรรมชาติ" หากเข้าไปอยู่ในองค์กร มันคงปฏิเสธิ "อำนาจ" มิได้ การจัดการความรู้จริง ๆ คงมีได้แต่กับ "องค์กรที่ไม่มีเรื่องผลประโยชน์" เข้ามาเกี่ยวข้อง ใช่หรือไม่ ซึ่งองค์กรประเภทนี้ก็มีอยู่ เช่น องค์กรของอริยบุคคล หรือมนุษย์ที่แท้ ซึ่งก็มีอยู่ แต่ไม่ใช่องค์กรในระบบที่เราเห็นอยู่ทั่วไป หากการจัดการความรู้ต้องนำมาใช้ในองค์กรของ "ปุถุชน" การจัดการความรู้คงไม่ต่างอะไรกับบรรยากาศ "เศรษฐศาตร์การเมือง" ซึ่งเป็นบรรยากาศขององค์กรที่เรารับรู้ได้ เพียงแต่อาจจะใช้ชื่อว่า "เศรษฐศาสตร์ความรู้" ซึ่งจริง ๆ มันขึ้นอยู่กับ "อำนาจ" จะเป็นตัวกำหนดว่า "ความรู้ชุดใด" จะได้รับการนำไปปฏิบัติระหว่าง "ปฏิฐานนิยม" (การวัด) หรือ "ปรากฏการณ์นิยม" (การทรัสต์) นี่ไม่นับสำนักแยกบ่อยของแต่ละสาขาอีกมากมาย


การจัดการความรู้ที่เป็นอยู่ในสังคมไทยมันไม่ไปหน้ามาหลัง เพราะเรามองไม่เห็น "มายาคติของความรู้" หรือเปล่า...

การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นวิธีการที่ดีเพื่อลด "มายาคติ" (ตัวตน) ดังกล่าว แต่วิธีทำมันทำไม่ถูก ก็ได้แต่เพียง ล้างตัวตนนี้ แล้วไปสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมา ตัวตนที่เรียกว่า "การจัดการความรู้" หรือเปล่า...สมัยหนึ่งท่านพุทธทาสเคยแสดงธรรมที่พูทธสมาคมว่า "พระพุทธเจ้านั่นแหละเป็นอุปสรรคแห่งการเข้าถึงพุทธศาสนา" ถึงกับโดนข้อหาหนัก...มาตอนนี้ "เรากำลังติดกับ" ดังที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวไว้หรือเปล่า...ชาวชุมชนการจัดการความรู้คงต้อง เปลี่ยนวิธีการไปใช้ Insight และ Reflection ที่พ้นไปจากวิธีการที่เราคุ้นเคยโดยการ "คิด" อย่างที่เราถูกฝึกมาจากระบบการศึกษาของโลกกระมังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท