“ปูแสม เล่านิทาน จากบ้านดาโต๊ะ” .. ห้องเรียนธรรมชาติ (๑)


ภาพสะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ ที่ยังคงนึกถึงความสวยงามของจารีตประเพณี วัฒนธรรมและ คุณค่าของสถาบันครอบครัว ชุมชน รวมถึงสอดแทรกความสำคัญ และคุณค่าของฐานทรัพยากร

 “ปูแสม" เล่านิทาน จากบ้านดาโต๊ะ..ห้องเรียนธรรมชาติ (๑)

นิทาน "ปูแสม บ้านดาโต๊ะ”  เป็นชุมชนรอบอ่าวปัตตานี  อ. ยะหริ่ง ... ของฝากจากใจพี่ๆนักศึกษา ที่ มอ. ปัตตานี   ส่งมาถึงน้องๆตัวน้อย...   เนื่องในวาระใกล้วันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๖ นี้  ...


ภาพลายเส้นและสีสัน ที่บรรจงวาดและแต้มเติมสีสัน หลังจากเกิดบูรณาการความคิด ที่ได้ลงไปทำกิจกรรมสัมผัสพื้นที่  ภาพที่ส่อความละเมียดละไม แทรกอารมณ์ขันในแต่ละรายละเอียดของภาพ  สะท้อนความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ ที่ยังคงนึกถึงความสวยงามของจารีตประเพณี วัฒนธรรมและ คุณค่าของสถาบันครอบครัว ชุมชน รวมถึงสอดแทรกความสำคัญ และคุณค่าของฐานทรัพยากร  อีกทั้งผลของความสมบูรณ์และเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม จนได้ข้อสรุปที่นำมาใช้ร่วมกัน ทุกอย่างได้ผนวกไว้อย่างลงตัว ในนิทาน โดยใช้ปูแสม (mangrove crab) และบริบทของพื้นบ้านดาโต๊ะ ซึ่ง ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมโพธิ์ อ. ยะหริ่ง จ. ปัตตานี ประเทศไทย...



นิเวศวัฒนธรรม.. ที่หล่อหลอมผ่านวิถีชีวิต มีให้ค้นหา สัมผัส  อยู่รายรอบตัว ในบริบทนี้เป็นวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานี  ส่วนใหญ่ชุมชนมุสลิม ที่อาศัยรอบอ่าวฯ ยังชีพด้วยการทำประมงชายฝั่งขนาดเล็ก เรือขนาดพอเหมาะกับกำลังแรงงาน (สมาชิกในครอบครัว สอง-สามคน) มีอุปกรณ์จับสัตว์น้ำเป็น ตาข่าย อวน หรืออาจจะเป็นลอบหมึก ปู ซึ่งล้วนแล้วแต่พึ่งพิงสรรพสิ่งที่เกื้อกุลกันในระบบนิเวศชายฝั่ง  การอนุรักษ์จึงควรทำไปคู่กัน ในฐานะผู้บริโภคปลายทางของสายใยอาหารในระบบนิเวศ  เพียงแต่ตระหนักรู้ ว่าการใช้ประโยชน์ให้อยู่ในวิถีแห่งการดำรงชีวิตบนความพอเพียง ก็จะส่งผลต่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากร อาทิเช่น สัตว์น้ำ สาหร่ายทะเลและอื่นๆที่นำมาบริโภค  หรือเป็นแหล่งสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว  มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความผาสุก มีเวลาในการกล่อมเกลาจิตใจ ศึกษาธรรมะจากกุระอ่าน” และร่วมกันพัฒนาสังคมด้านต่างๆ... แม้จะดูจากภายนอกว่ารายได้/หัว ในแต่ละวันของประชากรที่นี่น้อย ขณะเดียวกันรายจ่ายก็ไม่มาก ..นำมาซึ่งความพอเพียง



ผลจากการวิเคราะห์เชื่อมโยงความคิด... จากประสบการณ์ที่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้ร่วมกิจกรรม และฝึกประสบการณ์ในบริบทของวิชาพื้นฐาน “สัตววิทยา” ตลอดเวลาหนึ่งภาคเรียน ที่ "ครูพื้นที่" รับผิดชอบ  แม้เป็นกิจกรรมเสริม แต่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนทักษะชีวิตและพัฒนาตนเอง ซึ่งนอกจากจะจัดการศึกษาในห้องเรียนแล้ว ก็ยังจัดประสบการณ์ภาคสนาม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่  แสดงความเป็นตัวตน แลกเปลี่ยนแนวคิดต่าง ๆ โดย “ครูพื้นที่” ช่วยอำนวยความสะดวก  กระตุ้นให้คิด ผนวกกับการเสริมแรงด้วยวิธีการต่างๆ  การออกไปเรียนรู้ สัมผัสจริง ในห้องเรียนธรรมชาติ ทำให้มีพลังกาย-ใจ ฝึกกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม ฝึกการคิด การแก้ปัญหา และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ  นำไปสร้างผลงานที่ถ่ายทอดต่อไปได้



ผลสัมฤทธิ์ ด้วยการประเมินตน (informative & collective evaluation ) ที่เกิดขึ้นในระหว่างทางและปลายทางเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม  นั่นหมายถึงการถ่ายทอดเรื่องราว ด้วยผลงานจากประสบการณ์เหล่านั้น ได้รับการสะท้อนจากนักศึกษาว่าการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ช่วยพัฒนาตัวตนได้อย่างเหลือเชื่อ เห็นการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน  ทั้งนี้ ด้วยเพราะมีความเชื่อว่า “คนเราทุกคนล้วนมีศักยภาพในตัว” ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน พัฒนาได้เร็วช้าต่างกัน  เพียงรู้ว่าจะมีกระบวนการพัฒนาด้วยตนเองต่อไปได้อย่างไรในระยะยาว


พี่ๆนักศึกษาแทรกกิจกรรมละครเป็นบทบาทสมมุติจากนิทานเรื่องเดียวกัน ปูแสม..จากบ้านดาโต๊ะ” ทำให้เป็นที่สนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถแทรกความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สื่อสารผ่านจากพี่ไปยังน้องๆ โดยมีนิทานเป็นสะพานเชื่อม.. เป็นบรรยากาศรวมความคิดสร้างสรรค์ เต็มเปี่ยม .. เชิญชมนิทาน แห่งความภูมิใจร่วมกัน...

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/forum/442

หมายเลขบันทึก: 515744เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2013 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2013 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ป่าโกงกาง"คงจะมีอยู่แต่ในนิทาน.ปรัมปรา...หาดูในธรรมชาติ..ยากยิ่งขึ้นไป...เพราะทุกหนทุกแห่งกลายเป็นบ่อกุ้ง..อุตสาหกรรมทำลายระบบนิเวศ..ทรากปรักพังของธรรมชาติ...และสัตว์น้ำทุกชนิดที่มีนิเวศน์ร่วมกันได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง...ยายธี

สวัสดีค่ะ คุณยาย..ธี

สิ่งที่ คุณยาย. กล่าวมาเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงค่ะ  ร่วมมือกันคนละเล็กละน้อยเท่าที่ทำไ้้ด้  ผลกระทบมีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ   ส่วนของป่าชายเลนอยู่ที่ปลายน้ำ ก็เลยเป็นแหล่งรวมผลกระทบ อีกทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง  

ที่ปัตตานี เรามีพื้นที่เป็นหาดเลน ที่มีป่าเลนที่สำคัญค่ะ ยายธี...เราไม่นิ่งนอนใจ ปกป้องไว้และส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่า  ทำกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ในทุกระดับที่เข้าไปร่วมได้  ทั้งชุมชนรอบอ่าวฯ ในโรงเรียนประถม มัธยม และ มหาวทิยาลัย  นอกจากนี้เรายังเพาะพันธุ์ต้นกล้า และปลูกเสริมให้มากขึ้น เนื่องจากหาดเลนมีเพิ่มขึ้นทุกปี แต่น่าเสียดายว่า ธุรกิจนากุ้งก็ยังขยายตัวในพื้นที่ อย่างน้อยก็ไม่รุกที่มากไปกว่านี้ เพราะก่อนหน้านี้ป่าชายเลนได้ถูกทำลายมากมายค่ะยาย...

เรา...คนในพื้นที่ชายฝั่ง จะช่วยกันรักษาไว้ไม่ให้ ป่าชายเลน เหลือเป็นเพียงนิทานปรัมปราค่ะ...อย่างแนวคิดของนักศึกษาที่ตั้งใจนำเสนอผลงาน โดยใช้ปูแสมเป็นตัวดำเนินเรื่อง  นำไปเล่า/เล่นละครให้น้องขณะทำกิจกรรม  อย่างนี้เรา "ครู" ได้ร่วมกันพัฒนาทั้งพี่นักศึกษาและน้องๆเลยค่ะ ยายธี.. และทำมาต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 8 แล้วค่ะ เป็นที่น่าชื่นใจในการพัฒนาคนให้อยู่ร่วมกับระบบนิเวศได้ค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ ยายธีสำหรับข้อคิดที่เติมเต็มความสมบูรณ์ของบันทึกนี้ค่ะ :-))

บันทึกนี้ได้ความรู้มากมาย แถมน่ารัก น่าอ่าน ขอบคุณนะคะ :))

สวัสดีค่ะน้องหนูรี

ขอบคุณค่ะ  นึกถึงเมนูปูแสมบ้างไหม๊ค่ะ ?? จากครัวหนูรี...ปูหลน น่าสนใจไหม๊เ่อ่ย?? กินปูแบบอนุรักษ์..:-))

ในแต่ละปี ปูแสม..วัยอ่อนมีจำนวนมาก ตัวเล็กๆในระยะพัฒนาการต่างๆของลูกปู ขึ้นมาที่ผิวน้ำเต็มไปหมดในช่วงฤดูฝนใหญ่ของที่นี่  ธรรมชาติให้พ่อแม่ปูมีลูกมากเพราะ อัตราการรอดต่ำ กว่าจะเป็นปูตัวโตได้  ไม่ว่าจะเป็นอาหารของสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือตายไปเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะ เกิดมลพิษทางน้ำต่างๆหลายสาเหตุ  ฉะนั้นที่เหลือมาจนเป็นอาหารคนได้เนี่ย  เรียกว่า ฝ่าฟันอุปสรรคนานาทีเดียว   ต่อสู้ชีวิตจริงๆ แถมอยู่ในรูอีกต่างหาก ก็ยังมีภัยคุกคาม เป็นอาหารของมนุษย์และลิงในป่าเลน แต่ผลกระทบต่อการทำลายแหล่งอาศัย เช่นป่าชายเลนถูกทำลาย มันเหมือนบ้านและแหล่งหากินหายไป แล้วจะอยู่ได้อย่างไร??? นึกถึงเราว่าหากต้องตกในสภาพนั้น!!!   จึงเป็นสิ่งเราต้องช่วยกันดูแลระบบนิเวศชายฝั่ง เขตน้ำกร่อย ป่าชายเลน  ถึ่งแม้ว่าในที่สุด ..ปูแสม ...จะถูกจับกินบ้าง แต่ปริมาณก็คงต้องพึงระวัง  อย่างไรก็เป็นไปตามกลไกของธรรมชาติที่มีความควบคุมสมดุลย์ของระบบค่ะ  ปูแสมจึงเป็นสิ่งที่เป็นนำไปปรุงในอาหารจานโปรด ของใครๆได้..ขอบคุณปูแสม

ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาทักทาย ปูแสม จากบ้านดาโต๊ะ อ่าวปัตตานีค่ะ


ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาทักทาย ปูแสม จากบ้านดาโต๊ะ อ่าวปัตตานีค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท