มันสำปะหลังเดือนธันวาคม หนองคาย อุดร ขอนแก่น กาฬสินธ์ุ


วัชพืชเป็นพืชอาศัยของแมลงในมันสำปะหลัง

2 วันกับมันสำปะหลังที่อีสานตอนบน

เริ่มจากหนองคาย ต.ผาตั้ง อ.สังคม ปลูกระยอง 5 สภาพป่าธรรมชาติ ด้านหลังภูเขา ด้านหน้าแม่น้ำโขง มีความหลากหลายของแมลงศัตรูธรรมชาติมาก พบ แมงมุมสีเขียว แตนเบียนท้องถิ่นระบุชนิดไม่ได้ เก้ยตัวอย่างไปด้วย อาจได้แมลงใหม่ ๆ  แต่มีอาการใบไหม้มากทั้งแปลง สอบถามผู้รู้ก็ทราบว่าเป็นโรคแอนแทรกโนสเนื่องจากการเข้าทำลายจากปลายเิปิดของใบ  ตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทั้งใบ และลำต้นพบแอนแทรกโนส  พบแมลงหวี่ขาวโดยทั่วไป เพลี้ยแป้งมะละกอ และเพลี้ยแป้งที่ถูกเบียน พบด้วงเต่าดำ ซึ่งแสดงว่ามีการควบคุมกันโดยธรรมชาติได้ดี  เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวราวเดือนมีนาคม 

หญ้าขจรจบดอกเล็ก พบโรคสมัท เพลี้ยอ่อน น้ำนมราชสีห์ พบเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งสีเทา สาบเสือมีใบมีจุดสีเขียว เป็นอาการของพืชที่สร้างเพื่อปกป้องตนเอง แต่เขี่ยไม่พบแมลง น้อง ๆ ที่แล็บจึงแนะนำว่า หากเก็บตัวอย่างแมลงทำนองนี้อีก ควรใช้กระดาษสีขาววาง แล้วเคาะแมลงลงบนกระดาษ เก็บทุกชนิด เพื่อจะได้ช่วยในการวินิจฉัยว่าควรจะเป็นแผลเนื่งจากแมลงชนิดใด และการสำรวจเก็บคัวอย่าง ให้นำขวดเล้ก ๆ มีฝาปิดบรรจุ alcohol จำนวนเล็กน้อยเพื่อช่วยดองตัวอย่างได้ พร้อมภู่กันติดไปด้วย ช่วยได้มากจริง ๆ

 แอนแทรกโนส

อีกแปลง ต.แก้งแก อ.สังคม หนองคาย  ระยอง 5 ปลูกข้างบ้าน ไม่ค่อยพบแมลง เพลี้ยแป้งพบเพลี้ยแป้งมะละกอ สีเทา แมลงหวี่ขาว ด้วงเต่าดำ แต่ไม่พบแมลงมุมสีเขียวเหมือนแปลงก้อน พบแอนแทรกโนสเป็นหย่อม ๆ โรคใบจุด ส่วนวัชพืช พบเพลี้ยแป้งสีเทา และเพลี้ยแป้งมะละกอบนต้นสาบเสือ  

อุดรธานี ข้างลานมัน จุด 926  ปลูกหลายพันธุ์ปนกัน   วัชพืชมีสาบม่วงมาก  เพลี้ยแป้งมากกกแทบทุกต้น ยอดหงิกจากเพลี้ยแป้งสีชมพู พบแมลงหลายชนิด แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าดำ ด้วงเต่าบลูมอยเดส แตนเบียนธรรมชาติ

หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าแหวน พบเพลี้ยอ่อน  โสนขน หญ้าละอองพบเพลี้ยแป้งสีเทา 

แมลงที่พบบนวัชพืช และมันสำปะหลัง 

แถวที่ 1 เพลี้ยแป้ง   เพลี้ยอ่อน

แถวที่ 2 นี้ เป็นตัวที่ดีทั้งหมดมีประโยชน์ แตนเบียนในธรรมชาติยังไม่ทราบชนิด ตัวอ่อนแมลงช้าง ด้วงเต่าบรูมอยเดส

แถวที่ 3 ซ้ายสุดเป็นแตนเบียนที่มีอยู่ในธรรมชาติ


อุดร อีกแปลงพื้นที่แถวนี้น่าจะเป็นที่นาเก่า ข้าง ๆ เป็นสวนยาง (929)  ปลูกพันธุ์ห้วยบง 60  เพลี้ยแป้งน้อย  ใบมันสำปะหลังสวยพบเพลี้ยแป้งมะละกอ สีเทา และพบเพลี้ยแป้งที่ถูกเบียนแห้งแ็ข็งอยู่ ในแปลงพบวัชพืชสาบม่วงมาก มีโรคและแมลงอาศัย

  สาบเสือพบคล้ายราแป้งแต่ยังไม่มั่นใจ คงต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ

ขอนแก่น  

หนองแบน วัชพืชอาศัยของแมลงหนองแบน อำเภอมัญจาคีรี  ปลูกระยอง11 ใบยังเขียงสวย พบด้วงเต่าดำจำนวนมากกกก มีร่องรอยการระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูมาก ยอดหงิกเป็นกระจุก สอบถามก็พบว่า การสำรวจครั้งก่อนประมาณพย. ศูนย์วิจัยพืชไร่ของแก่นได้นำแตนเบียนมาปล่อยด้วย วันนี้ยอดที่หงิกเริ่มคลาย และคลายแล้ว พบมัมมี่ ยังคงมีเพลี้ยแป้งชมพูอยู่เล็กน้อย เมื่อเก็บยอดที่ถูกทำลายและมีเพลี้ยแป้งอยู่ใส่ขวดกลับไปดูปรากฎว่า 2-3 วัน แตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูออกมาประมาณ 10 ต้ว จาก 1 ยอดเล็ก ๆ ถือว่าการควบคุมได้ผลดี เพลี้ยแป้งมะละกอเริ่มมี 

กระเพราผีไม่พบแมลง สงสัยคงจะกลิ่นแรง 

สาบม่วงพบเพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งสีเทา และเพลี้ยแป้งมะละกอ กระดุมใบเล็กพบ เพลี้ยแป้งถั่ว 

หญ้าตีนนก หญ้าหวาย พบเพลี้ยแป้งมะละกอ เพลี้ยอ่อน

อีกแห่งที่บ้านโคกสูง หมู่ 13  ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี  แปลงนี้สวยสู้แปลงก่อนหน้าไม่ได้ พบเพลี้ยสีชมพู ครั้งที่สำรวจรอบ พย. นำแตนเบียนมาปล่อยเช่นกัน แต่ประสิทธิภาพการควบคุมสู้แปลงที่หนองแบนไม่ได้ ช่วงท้าย ๆ แปลงมันสำปะหลังก็ไม่ค่อยสมบรูณ์  พบแตนเบียนสีชมพูด้วยจากยอดที่เก็บมา แต่ไม่มาก ...เธอทำงานแต่ช้ากว่า อาจเนื่องสภาพแวดล้อมของแปลง ระยะการเจริญเติบโตของเพลี้ยแป้งขณะปล่อยด้วยที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแตนเบียนต่างกัน

สภาพแปลงที่นางาม และไกลออกไปไม่กี่กิโล พบว่ามันแถว ๆ นี้มีเพลี้ยแป้งสีชมพูมากอยู่ ดินเป็นทรายจัด เกษตรกรยังไม่มีความรู้ ยังไม่เข้าถึงวิธีการควบคุม หากมาพิจารณาถึงเทคโนโลยีการปล่อยแตนเบียน ก็ยังพบว่าบางพื้นที่แตนเบียนไปเองไม่ได้ ต้องมีคนช่วยพาไป แน่นอนต้องปล่อยช่วยอย่างต่อเนื่อง

เกษตรกรรายนี้อาจได้ร่วมงานกัน



กาฬสินธุ์  931 ระยอง 11 เคยเป็นแปลงทดสอบเทคโนโลยีมาก่อน แปลงนี้ปลูกเป็นปีที่ 2 ต้นสวยมาก มีการปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คัดท่อนพันธุ์  พื้นที่ตรงนี้เดิมวิเคราะห์ว่าไม่เหมาะกับระยอง 11 แต่หลังจากปรับปรุงเทคโนโลยีการเช่น คัดท่อนพันธุ์ที่ได้ขนาด ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ปรับปรุงดินและใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปลูกแล้วได้ผลดี เกษตรกรขยายต่อกันเอง

รายต่อมา ที่หนองกุง ต. เขาพระนอน อ. ยางตลาด ปลูกหลายพันธุ์ ระยอง 9 KU50 พบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ไรแดง ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน พบสาบเสือมากแต่อยู่รอบ ๆ ข้างแปลง ดินไม่ดี เกษตรไม่ชอบใช้สารเคมี ซึ่งก็พบแมลงศัตรูธรรมชาติอยู่มากโดยเฉพาะตัวอ่อนด้วงเต่าที่กิทั้งเพลี้ยแป้งและไรแดง

ไปดูแถวอ.เมือง จุด 933 ระยอง 11 แถวนี้ไรแดงรุนแรง อยู่ใกล้โรงแป้ง ที่แปลงมาก คือพันธุ์ระยอง 90 เป็นที่นิยม ระยอง 72 ก็ชอบมากโดยเฉพาะปีทีผ่านมา 

ช่วงนี้ใบมันเริ่มร่วงพบเพลี้ยแป้งมะละกอมากระยะเป็นตัวอ่อน พบที่ใบล่างๆ  พบแตนเบียนท้องถิ่น(Acerophagus cocois) ด้วงเต่าดำจำนวนมาก แมลงช้างปีกใส 

งานนี้สายตาผู้สูงวัยไม่ธรรมดาเลยนะ พวกเราพบแมลง โรคมากมาย น้อง ๆ ลองย้อยกลับไปถึงการสำรวจของตนเอง งวดหน้าคงราว ๆ มีนาคม คงเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 515645เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2013 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท