ห้องสมุดสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชากรอาเซียน


        แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กฎหมายเพื่อปฏิรูปการศึกษาได้กำหนดสาระสำคัญไว้หลายประการที่แสดงถึงเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งในอันที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา และนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแหล่งการเรียนรู้ที่น่าจะได้รับการพัฒนา ปรับปรุง และดูให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ห้องสมุด  ทั้งในรูปแบบห้องสมุดประชาชน  ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  ห้องสมุดโรงเรียน  และห้องสมุดต่างๆ
          ดังนั้นห้องสมุดควรมีบริการสื่อที่หลากหลายเหมือนสินค้าที่วางขายในตลาดเช่น  หนังสือประเภทต่างๆ  แผ่นวิดีทัศน์  หนังสือเสียง  บริการฐานข้อมูลอย่างหลากหลาย 
          บทบาทของห้องสมุดควรปรับเปลี่ยนจากการทำหน้าที่จัดเก็บเป็นการให้บริการแบบสะดวกใช้ทันใจทุกที่และทุกเวลา
          บรรณารักษ์ควรมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับสภาพสังคมเช่น  ความสามารถในการสื่อสารกับบุคคลต่างวัย ต่างวัฒนธรรม ตลอดจนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้วยบทบาทเหล่านี้จะทำให้การเรียนรู้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้รับการกระตุ้น
          หากเราทำได้บางส่วนหรือทำได้ทุกประเด็นจะทำให้ปัญหาต่างๆ ในชุมชน หรือในสังคมลดน้อย  และทำให้ประชาชนชาวไทยสามารถก้าวสู่อาเซียนได้อย่างมั่นใจ

หมายเลขบันทึก: 515611เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ คุณครูทิพย์Ico48
ที่แวะมาให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท