3. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ


หัวเรื่องที่

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ

ผู้บรรยาย

ผศ.ดร.นพ. ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

วันที่บรรยาย

13 ธันวาคม 2555

ผู้บันทึก

นางสาวสินธุพร  มหารัญ 

เรียบเรียงส่ง

ผศ.ดร.นพ. ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

3. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ

  วันนี้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติที่อาจารย์กล่าวขึ้นต้นด้วยหลักธรรมะรู้สึกแปลกใจและประทับใจอยู่ในที เนื่องจากนานมากแล้วที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นอาจารย์ท่านใดนำหลักธรรมะมากลั่นกรองสอดแทรกสอนนักศึกษา โดยอาจารย์เริ่มต้นถามด้วยเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เชื่อมโยงกับนโยบายสาธารณะ แปลกแต่ก็เป็นจริงได้ ดังตัวอย่างที่อาจารย์ช่วยยกมาให้นึกตามคือ

ทุกข์ 

–  ป่วย ตาย โดยไม่สมควร

–   สูญเสีย ทางเศรษฐกิจ สังคม

สมุทัย

–   ทิศทางการพัฒนา

–   นโยบายสาธารณะที่ไม่ดี

นิโรธ

–  ทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง

มรรค

–  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

–  การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ

–  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550

หลังจากนั้น อาจารย์ได้ลำดับสาเหตุการตายด้วยโรคต่างๆ ในปี 2006  สามอันดับแรกคือ

มะเร็ง   เอดส์  และอุบัติเหตุ  ซึ่งสาเหตุที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ การรับสารเคมี ซึ่งน่าแปลกตรงที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าสารเคมีเป็นอันดับแรกๆของโลก และน่าแปลกมากกว่าคือไม่มีแนวโน้มลดลง อาจารย์ยังได้นำเอา VDO เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในโรงเรือนเลี้ยงไก่มาให้ดู และชี้ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงให้น้อมนำมาปฏิบัติ ซึ่งข้าพเจ้าเป็นอีกผู้หนึ่งที่ชื่นชมและพยายามนำเอาหลักการเหล่านี้ให้เกิดมีในตัวเองในทุกๆโอกาส แต่บางครั้งก็นึกถึงว่า ทุกคนน่าจะร่วมมือกันทำจึงจะทำให้โลกน่าอยู่ สุขภาพดี ได้ ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง มาร์ติน วิลเลอร์ ให้ลองศึกษาต่อในเรื่องนี้ด้วย

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550

•  มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) นายกฯ เป็นประธาน

•  กรรมการมาจากการสรรหา จากตัวแทนจากทุกภาคส่วน

•  มีสำนักงานเลขาธิการ (สช.)

•  ให้มีกลไกการจัดสมัชชาสุขภาพ ทุกระดับ

•  มติจากสมัชชาสุขภาพ เสนอเข้าสู่ คสช. สู่ ครม.

•  มีกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จาก นโยบายสาธารณะ

•  มีกลไกการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ปรับปรุงทุกห้าปี

•  เพิ่มสิทธิและหน้าที่ของ ประชาชนด้านสุขภาพ

สร้างขึ้นมาจาก สมัชชาประชาชน จนเกิดทำให้มีการสร้าง HIA

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) คือ การกระบวนตัดสินคุณค่าของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ โดยพิจารณาที่ผลกระทบและการกระจายของผลกระทบนั้นที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชาชน

แนวคิดและทฤษฎี HIA คือ มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ (สุขภาวะ สมดุล) สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ที่เอื้อหนุน เกื้อกูล ต่อสุขภาวะ  มีทางเลือกให้ประชาชน พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัวและสร้างชุมชนเข้มแข็งปรับทิศทางการลงทุนด้านสุขภาพ ให้มาเน้น บริการปฐมภูมิ ส่งเสริม ป้องกัน

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Determinants of Health)

สภานะสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสภาพทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือมีผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ระดับการศึกษารายได้ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยหากปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลง  ก็จะส่งผลให้สุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัจจัยกำหนดสุขภาพ มีหลายประการ จำแนกเป็นกลุ่ม ได้ดังนี้

1. ปัจจัยกำหนดสุขภาพระดับบุคคล เช่น เพศ ปัจจัยทางชีวภาพ วิถีชีวิต พฤติกรรม

2. ปัจจัยกำหนดสุขภาพระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพทางกายภาพ สภาพชุมชน สังคมและเศรษฐกิจ

3. ปัจจัยกำหนดสุขภาพระดับสถาบัน เช่น ความสามารถ ศักยภาพ และอำนาจต่อการตัดสินใจของภาคประชาชน/เอกชน

ลักษณะพิเศษของ HIA

1.  มุ่งหาผลกระทบเชิงซ้อน

2.  ต่อทั้งสถานะสุขภาพและปัจจัยของสุขภาพ

3.  ใช้ข้อมูลหลายแหล่ง

4.  ฟังทุกฝ่าย

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

1.  การกลั่นกรอง

2.  กำหนดขอบเขต

3.  การวิเคราะห์ผลกระทบ

4.  การให้ข้อเสนอแนะทางเลือก

5.   การติดตามควบคุม

***********************************************

หมายเลขบันทึก: 515499เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2013 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท