เด็ก ASD กับสื่อเสมือนจริง


คอมพิวเตอร์ DVD smart phone tablets สามารถส่งเสริมความสามารถทางภาษาในเด็กกลุ่มอาการออทิสติกได้อย่างไร

เด็กกลุ่มอาการออทิสติก หรือ  Autism Spectrum Disorders (ASDs) เป็นกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเ่ด่น 3 ด้านด้วยกันคือ  ทักษะทางภาษาการสื่อสาร ทักษะทางสังคม  และพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถพัฒนาทักษะการพูด การมองหน้าสบตา การบอกความต้องการ ความเข้าใจทางด้านภาษา และการนำความสามารถไปใช้ในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามวัยได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้น การพัฒนาความสามารถของเด็กตั้งแต่แรกเริ่มจะช่วยส่งเสริมให้ความสามารถทางภาษา การสื่อสารและสังคมพัฒนาขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึง 6 ปี เป็นวัยที่สมองมีการทำงานและพัฒนาความสามารถด้านนี้อย่างมาก  มักมีผู้ปกครองสงสัยว่าให้ลูกของตนเล่นคอมพิวเตอร์ ดู DVD  ดูภาพหรือฟังจาก smart phone หรือ tablets ต่างๆ นั้นได้หรือเปล่า  และสิ่งเหล่านี้จะสามารถพัฒนาทางภาษา และการสื่อสารของเด็กได้หรือไม่ ซึ่งได้มีการอธิบายถึงการใช้สื่อเสมือนจริง หรือ virtual environment ดังนี้

  • สื่อเหล่านี้สามารถควบคุมสิ่งกระตุ้นเร้าที่จะเข้ามาได้ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ซึ่งสามารถช่วยดึงความสนใจของเด็กให้เพิ่มขึ้น  แต่ไม่ควรจะเปิดโทรทัศน์ หรือ VCD ให้เด็กดูตลอดทั้งวันเพียงอย่างเดียว เด็กควรดูสื่อเหล่านี้ได้วันละไม่เกิน 30 นาที โดยควรแบ่งช่วงเลาให้เด็กดูไม่เกินช่วงละ 10 นาที   
  • สื่อเหล่านี้สามารถประยุกต์และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เป็นการให้เด็กเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดความยืดหยุ่น  เช่น หากเด็กเรียนรู้ถึงสีของผลไม้ 2 อย่างที่แตกต่างกันในคอมพิวเตอร์  เช่น แอปเปิ้ลสีเขียวและแดง  เด็กก็จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนความคิดเมื่อพบผลไม้จริงที่สีแตกต่างกันในชีวิตประจำวัน    
  • สื่อในลักษณะนี้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันรายน้อย  และเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมักพบว่านักฝึกพูดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อความหมายจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้เด็กมีการสื่อสาร 
  • เปรียบเสมือนสื่อแรกในการได้ยินและการมองเห็น ซึ่งสามารถใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เป็นเชิงนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น 
  • การใช้สื่อแบบนี้ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละเด็ก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันก็แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้จะต้องไม่ให้กิจกรรมที่เกี่ยวกับสื่อเสมือนจริิงนี้ไปเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอื่นๆ 
  • สามารถใช้สื่อคอมพิวเตอร์เืพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในเด็กกลุ่มอาการออทิสติกเป็นเรื่องยาก ดังนั้น การใช้สื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกพูด หรือการสื่อสารในระยะเริ่มต้นก็สามารถใช้มาเป็นสื่อได้ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนมากขึ้นตามมา
  • การเคลื่อนไหวหรือทำตามก็สามารถเกิดขึ้นผ่านสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงเหล่านี้ได้ เช่น การพยักหน้า การสั่นศรีษะในการตอบหรือทำตามร่วมกับผู้ปกครองในเด็กที่ไม่เคยใช้ภาษาพูดในการสื่อสาร  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการรับรู้และกระมวลผลการรับความรู้สึก
ดังนั้น สื่อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ต่างๆ  โทรศัพท์มือถือ หรือ  tablets  ก็สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารกับเด็กกลุ่มอาการออทิสติกได้ อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงปัญหา ปัจจัยของเด็กแต่ละคน การจัดการเวลาที่เหมาะสมของผู้ปกครอง การเลือกสื่อที่เหมาะสม เช่น เกมจับคู่ภาพ  รู้จักสัตว์ เสืียงร้องของสัตว์ เป็นต้น   นอกจากนี้ ควรให้ความรัก การดูแลด้วยความห่วงใยกับเด็กกลุ่มอาการออทิสติกซึ่งจะืำทำให้เด็กอยากอยู่ใกล้ชิดกับคน และต้องการสื่อสารกับคนมากขึ้นตามมาด้วย 
หมายเลขบันทึก: 515494เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท