ห้องสมุดและกลิ่นอายของหนังสือ


ห้องสมุดในยุคศตวรรษที่ 21...

เห็นชื่อเรื่องชวนให้เขียนยิ่งนัก  ยุคนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไปเร็วเหลือเกิน เมื่อวานผมไปดูโทรทัศน์ เพิ่งทราบว่าเดี๋ยวนี้ ใช้ Flash Drive เสียบเล่นไฟล์กับตัวเครื่องได้เลย  (ซึ่งทำได้มานานแล้ว) แล้วเครื่องเล่นดีวีดีแบบแผ่นล่ะ ?  น่าคิดว่าจะเป็นสินค้าที่สูญหายไปในอนาคตอันใกล้หรือเปล่า?    

ก่อนกลับบ้านแวะร้านหนังสือ ภาพเด็กๆ นั่งอ่านการ์ตูนในร้านเป็นภาพที่คุ้นตา พลันก็ให้มีความคิดต่อจากเรื่องทีวีเมื่อสักครู่ว่า เอต่อไปหนังสือจะอยู่ในจอมากขึ้น จนเหลือหนังสือแบบใช้กระดาษพิมพ์เป็นเล่มน้อยลงหรือเปล่านะ?

ไม่น่านะ  เพราะมันไม่มีเสน่ห์   เสน่ห์ของหนังสืออยู่ที่การได้สัมผัส เหมือนทุกวันนี้คนติดต่อกันได้ทางจอแล้วก็ยังต้องไปหากัน เพื่อสบตา,โอบกอด,สัมผัส ให้กำลังใจซึงกันและกัน มันดูมีชีวิตชีวามากกว่า  

การสัมผัสหนังสือ มันช่างยอดเยี่ยม กลิ่นหอมของกระดาษ, สีสันของตัวอักษรที่เปลี่ยนไปตามแสงของสถานที่ๆเราเอาหนังสือไปอ่าน,การแบ่งปันให้คนอื่นอ่านด้วย  มันช่างเป็นเสน่ห์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ

.......ถ้าจะกล่าวถึงห้องสมุด หรือที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นสถานที่ๆ มีหนังสืออยู่จำนวนมากและมีบรรณารักษ์คอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ในยุคเทคโนโลยีมาแรงเช่นนี้ ตามคำถามที่ผู้ขอความรู้ให้โจทย์มา ก็มีความเห็นดังนี้ครับ

1.มีบริการสืบค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์   ลักษณะเหมือนกับการค้นหาผ่าน Google ครับ คือผู้ใช้บริการจะพิมพ์เฉพาะบางคำ บางส่วนของเนื้อหาในเรื่อง,ชื่อผู้แต่ง,หมวดหมู่ ฯลฯ สุดแท้แต่จะนึกได้ ก็จะเห็นรายชื่อหนังสือ พร้อมสถานะปัจจุบันได้เลย 

2.กิจกรรมในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และบทบาทของบรรณารักษ์  ประเด็นนี้สำคัญนะครับ แต่คงต้องมีทุน หรือมีผู้สนับสนุน  การจัดกิจกรรมจึงจะทำได้เต็มที่   อาจจะมีการส่งเสริมการเขียนแบบ G2K ในเรื่องต่างๆ หรือการตั้งคำถามให้ตอบโดยผู้ตอบจะต้องมีการค้นคว้าจากหนังสือภายในห้องสมุด  หรือเกมส์อื่นๆ ที่ส่งเสริมการอ่านครับ

3.บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุด  ส่วนสำคัญหลักๆ คือ แสงสว่างต้องเพียงพอ อุณหภูมิภายในห้องต้องไม่เย็นจนเกินไป มีการแยกโซนเป็นสัดส่วน โซนนิตยสาร,หนังสือพิมพ์ควรจะแยกต่างหาก เพราะเท่าที่สังเกตโซนนี้จะมีเสียงดังกว่าโซนอื่นๆ 

4.ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ควรจะมีความแตกต่างกันนิดหนึ่งตรงกลุ่มของผู้ใช้บริการนะครับ ห้องสมุดประชาชนมีอายุของผู้เข้าใช้ที่กว้างกว่า  ควรจะมีโซนสำหรับเด็ก หรือศูนย์เด็ก แยกต่างหาก มีโซนอ่านหนังสือเฉพาะสำหรับพระภิกษุสามเณรครับ ทางเดินก็ควรจะกว้างขวางสักหน่อยให้ผู้พิการที่นั่งรถเข็นสามารถเข็นรถไปได้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 515381เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2013 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2013 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท