เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่


ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่

มาต่อค่ะ


เราเป็นโรคเครียดหรือไม่

จริง ๆ แล้วการวินิจฉัยโรคเครียดทำได้ไม่ยาก แต่ปัญหาใหญ่มักอยู่ที่ตัวคนไข้หรือเราเองไม่ค่อยยอมรับว่าเครียด คนไข้โรคเครียดหลายรายที่ปฏิเสธว่าไม่เครียด แต่เมื่อได้คุยกันนาน ๆก็มักจะพบว่ามีความเครียดแฝงอยู่ 

คนไข้กลุ่มนี้มักมาหาหมอด้วยอาการต่าง ๆ เหล่านี้เช่น มึนงงตลอดวัน ปวดหัวธรรมดาโดยไม่มีไข้ ปวดหัวไมเกรน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก หรืออาการทางอารมณ์เช่น ทำงานในแต่ละวันด้วยความเซ็ง ไม่อยากกินอาหาร หรือกินมากไป กินตลอดเวลาโดยไม่หิวหรือหิว หงุดหงิด ตื้อ ๆ ฯลฯ 

ก่อนอื่นมาดูกันที่สาเหตุของความเครียด และชนิดของโรคเครียด


สาเหตุของความเครียด

ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจาก

สาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน การสอบแข่งขัน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน กับครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง อกหักฯลฯ 

สาเหตุภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการจะได้รับการส่งเสริมเรื่องงาน การเรียน การเงิน ความต้องการเป็นหนึ่ง ความเจ็บป่วย หรือความต้องการเอาชนะ  


ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 

แต่การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ 


คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ท้องเสีย มือเท้าเย็น 


แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ทำให้เกิดการวางแผนจัดการกับความเครียด หรือนั่นคือ การบริหารเปลี่ยนแปลงของชีวิต หน้าที่ การงาน

ก่อให้เกิดความตื่นเต้น ความท้าทายและความสนุก เช่นเกิดการจัดการ การวางแผนการอ่านหนังสือ การเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อการสอบแข่งขัน  หรือเกิดการปรับปรุงบุคลิกภาพเพื่อตำแหน่งงานที่สูงขึ้น เพื่อการมองหาคู่รักใหม่หลังการหย่าร้าง เป็นต้น


สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย



ชนิดของความเครียด

Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันที

เกิดขึ้นกระทันหัน ทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียดแบบนี้เช่น ความเครียดต่อ


การสูญเสียบุพการี คู่ครอง คนรัก คนใกล้ชิด


เสียง 
อากาศเย็นหรือร้อน 
ชุมชนที่คนมากๆ 


ความกลัว 
ตกใจ 
หิวข้าว 
อันตราย 


Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรัง

เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง เช่น


ความยากจน 

ปัญหาเศรษฐกิจ

ความเครียดที่ทำงาน 

ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 

ความเครียดของแม่บ้าน 

ความเหงา 



ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรงและมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดันหรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ พอจะจัดกลุ่มได้ดังนี้ค่ะ


โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด

โรคทางเดินอาหาร โรคปวดศีรษะไมเกรน
โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดหลัง
โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคภูมิแพ้ ติดสุรา
โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลง
เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน
การฆ่าตัวตายและมะเร็ง


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่  

ถามตัวเราเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่



อาการแสดงทางร่างกาย

มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดหัว ปวดท้อง แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังในหู ตื้อ ๆ คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม 

อาการแสดงทางด้านจิตใจ

เบื่อหน่าย หดหู่ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

อาการแสดงทางด้านอารมณ์

โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง

อาการแสดงทางพฤติกรรม

รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ ติดสุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว ซึมเศร้า






การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดอาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง ปรึกษานักจิตวิทยา หรือเมื่อมีอาการมากต้องพบแพทย์ 

เมื่อไหร่ที่ความเครียดก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต...

รอต่อกันอีกบันทึกนะคะ


(ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ. พนม เกตุมาน  www.psyclin.co.th ค่ะ)




หมายเลขบันทึก: 515193เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2013 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2013 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อ่านรวมๆ แล้ว คงมีความเครียดบ้างเป็นระยะๆ 

ความจริงเครียดเล็กๆ ก็มีผลดีนะคะ เช่นตอนใกล้สอบ หากไม่เครียดเลย ก็จะไม่อ่านหนังสือน่ะสิคะ  

สรุปว่าเครียดน้อยๆ มีประโยชน์ และเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียดก็แล้วกัน ... : )

Ico48 ภาพโปรไฟล์ใหม่ของครูธนิตย์ เข้ากันกับลูกศิษย์นะคะ

เด็กดื้อ ว่ากล่าว เตือนแล้วไม่ฟังยังคงแอบใช้โทรศัพท์ใต้โต๊ะเรียน ก็เป็นสาเหตุแห่งความเครียดได้ค่ะ :-)

ที่แน่ ๆ คนเขียนบันทึก กำลังเครียด....สุด ๆ 

:-) ventilate ค่ะ

มาให้กำลังใจเจ้าของบันทึกค่ะ..เพิ่งกลับมาจากอ่านอนุทินเกี่ยวกับการทำจิตเป็นสมาธิของน้องหมอภูสุภา..หายเครียดทันใจค่ะ..

 เสร็จงานนำเสนอไปหนึ่งงาน ลดความเครียดไปหน่อยค่ะ

ข้อดีที่เราเครียด เราจึงเตรียมค้นคว้าข้อมูลไปไว้ก่อน..ขอบคุณค่ะ

(ขอบคุณความเครียดด้วย)

 แต่น้องยังเครียดบ่อย ๆ ค่ะ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท