อ่านพระธรรมบทคาถาแล้วรู้สึกว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นกวีที่ทรงพระปรีชายิ่ง


คัมภีร์ลำดับที่สองรองจากพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา คือ ธรรมบท (บทแห่งธรรม) ประกอบด้วย "พระคาถา" ของพระพุทธเจ้าที่ปราชญ์ในพระพุทธศาสนาจัดรวบรวมเข้าไว้เป็นหมวดหมู่

อนึ่ง คำ คาถา ในภาษาบาลีหมายถึง ร้อยกรอง หรือคำประพันธ์ที่มีสัมผัสไพเราะงดงาม ไม่ใช่เวทย์มนต์ตามความหมายในภาษาไทยปัจจุบัน 

มีผู้แปลธรรมบทเป็นร้อยแก้วและร้อยกรองไว้หลายท่าน บางท่านก็แปลเป็นคำโคลงที่งดงาม ไพเราะ กินใจ โดยยังคงความหมายไว้ครบถ้วน เช่น "พระธรรมบทคาถา สยามพากย์คำโคลง" โดย รศ.ดร.สวนิต ยมาภัย แห่งคณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา) 

คาถาแรกในธรรมบทเขียนว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา 

สังเกตดูจะเห็นสัมผัสคำที่งดงามของพระพุทธเจ้า (คมา - ธรรมา - เสฏฐา - มยา) ทำให้ผมเห็นว่า พระองค์ทรงเป็นกวีที่ทรงพระปรีชายิ่ง

คาถาบทนี้พอแปลเป็นไทยได้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจมาก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ

มโน แปลว่า ใจ
ปุพ แปลว่า ก่อน เช่น ปุพกาล แปลว่า กาลก่อน ปุพชน หรือบรรพชน คนรุ่นก่อน
คม แปลว่า ไปมา (เดินทาง) เช่นในคำ คมนาคม
เสฏฐา (หรือเศรษฐา) แปลว่า เป็นใหญ่
มยา แปลว่า สำเร็จ

หมายเลขบันทึก: 514813เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2013 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท