ร่วมเสนอแนะบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 - ลุ้นรับรางวัล หมดเขต 15 มค. 56


Fresh start 2013 กับ โครงการ "สรอ. ขอความรู้" ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สรอ. กับ GotoKnow ในการกระตุ้นการนำความคิดเห็นของประชาชนมาช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายผ่านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

และในครั้งนี้ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบันทึกเสนอบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ในวันนี้ที่จะเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปและผู้เรียนได้อย่างแท้จริงค่ะ

เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั่ง ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงในบทบาทและหน้าที่ไปอย่างไรบ้าง อาทิ

  • ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
  • ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
  • บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
  • เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
  • บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร
  • บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
  • ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ร่วมบันทึกและใส่คำสำคัญ "ห้องสมุด " ลุ้นรับรางวัลเงินสด 2,500 บาท จำนวน 2 รางวัล จากการสุ่มจับหมายเลขบันทึกค่ะ หมดเขต 15 มกราคม 2556



ผู้สนับสนุน

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สรอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบการบริหารงานจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สรอ. ได้ที่ www.ega.or.th

 

หมายเลขบันทึก: 514793เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สุข.. สงบเย็น เป็นประโยชน์
สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์...

 สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ อาจารย์จันทวรรณ

กิจกรรมดีๆ มาอีกแล้ว ขอนั่งเขียนก่อนนะครับ อิอิ

 สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

มาสวัสดีปีใหม่  พ.ศ. 2556  ขอให้ท่านอาจารย์  ดร. จันทวรรณและครอบครัว มีความสุขในการดำเนินชีวิต ตลอดปีและตลอดไปนะครับ

               


         มีพลัง ... มีสุข..สดใส..จิตใจเบิกบาน นะคะ ท่านอาจารย์ 

ขอบคุณทุกท่านค่ะ สวัสดีปีใหม่ค่ะ รบกวนช่วยกันเสนอแนวคิดเรื่องห้องสมุดด้วยนะคะ เช่น

  • ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
  • ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
  • บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
  • เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
  • บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่างไร
  • บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
  • ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์ ขอให้พบพ่นแต่สิ่งดีๆในชีวิตตลอดไปนะคะ....

บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในทัศนะของผมมีดังนี้ครับ
ผมคิดว่าห้องสมุดยุคใหม่ควรให้บริการทั้งสื่อสิ่งพิมพ์(ที่มีคุณภาพ)และสื่ออิเล็กทรอนิกส์(ที่ทันสมัย) โดยมีการออกแบบให้ตอบสนองการใช้สูงสุด กำหนดพื้นที่สำหรับผู้ใช้บริการอย่างชัดเจน ไม่ให้มีผลกระทบซึ่งกันและกัน และควรเปิดบริการทุกวัน  ตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 21.00 น. โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการอย่างเพียงพอและเหมาะสม
ด้านบทบาทการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้ ห้องสมุดควรมีเจ้าหน้าที่ที่เข้าใจในกิจกรรมนี้และควรจัดอย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์ โดยบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีบทบาทในการกระตุ้นการเรียนรู้แก่กลุ่มผู้อ่านที่เป็นเยาวชน เช่น เล่านิทาน วาดรูป ปลุกเร้าจินตนาการ เสมือนนำเข้าสู่บทเรียน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การแสดงออก เพื่อนำไปสู่การแสวงหาด้วยการอ่าน นอกจากนี้บรรณารักษ์ควรมีบทบาทส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แก่ผู้ใช้บริการทุกระดับ เช่น จัดแสดงหนังสือใหม่ (พร้อมบรรณานิทัศน์) ประกวดทักษะการเขียนในโอกาสต่างๆ
เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนด้วยเครื่องที่พอเพียง และโปรแกรมที่ตอบสนองผู้ใช้ทุกเพศทุกวัยอย่างสูงสุด  ในขณะเดียวกัน บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมในห้องสมุดก็ควรปรับปรุงให้ปลอดโปร่ง ไม่อับทึบ มีแสงสว่างเพียงพอ (แสงธรรมชาติ) มีแมกไม้นานาพรรณร่มรื่น ไม่มีเสียงรบกวน อีกทั้งให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยเหมือนอยู่ในบ้านตนเอง
สำหรับความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน หรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้น มีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่ที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ มีการจัดระบบสารสนเทศที่ดี และมีจิตวิญญาณของผู้ให้บริการอย่างเปี่ยมล้น เท่าที่ผมสัมผัสมาห้องสมุดประชาชนในบ้านเรายังมีระบบการจัดการที่ไม่ดีเท่าที่ควร หนังสือคุณภาพมีน้อย ทั้งที่มีงบประมาณมาก บุคลากรยังขาดความรู้(อ่านน้อย)และวิสัยทัศน์ หากเทียบกับห้องสมุดระดับมหาวิทยาลัย ส่วนห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลางนั้นก็น่าสงสารเป็นที่สุด ยังต้องพัฒนากันอีกมากครับ

กราบสวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์


สวัสดี ปีมะเส็ง ใจแกร่งเข้ม

ให้เปี่ยมเต็ม ด้วยดีงาม ความสมหวัง

มีผลงาน โดดเด่น เป็นพลัง

ให้ได้ทั้ง ความสุข ในทุกวัน




สวัสดีปีใหม่จ้ะอาจารย์

ดีจังค่ะ ปีนี้สัญญาไว้ว่าจะอ่านหนังสือทุกวัน ฮิฮิ

ห้องสมุดยุคใหม่จะต้องพร้อมใ้ช้และทันสมัย

แวะมาทักทาย สวัสดีปีใหม่อาจารย์และทุกท่านครับ ประสบสุข โชคดีตลอดปี 2556 ครับ

 ห้องสมุดควรมีบริการ

1 หนังสือให้ยืม คืน ซีดี

2 บริการหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต

3 มุม บันเทิง วีดีโอ ภาพยนต์

ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อกัน ในเมื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ บริการแหล่งเรียนรู้แล้วก็ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ด้วยการแสดงความคิดเห็น ปรับปรุง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ

บทบาทของบรรณารักษ์นอกจากจะให้บริการ ช่วยเหลือแล้ว ก็ควรมีการแนะนำหนังสือดี หนังสือใหม่ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดให้มี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการได้เกิดการเรียนรู้

เทคโนโลยีในการสืบค้นอาจมีการปรับปรุงให้ทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก และรวจเร็ว ยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ห้องสมุดควรมีบรรยากาศที่สงบ สบาย  สะอาด เหมาะแก่การเข้าใช้บริการ และแบ่งสัดส่วนของมุมแต่ละมุมที่ให้บริการได้ดีและเหมาะสม

ให้ความรู้ในการเข้ารับบริการ ของสมาชิกใหม่ และแนะนำการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น หรือวิธีการในการสืบค้นหาข้อมูลไม่ว่าด้วยวิธีใด

ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดมหาวิทยาลัย ย่อมมีการบริการที่แตกต่างกันในด้านปริมาณ ของหนังสือและหนังสือหรือสื่อ ทางสาขาวิชาเฉพาะแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมของแต่ละที่ ห้องสมุดประชาชนก็บริการประชาชนทั่วไป หนังสือก็ย่อมจะเป็น ทั่วไป แต่ความเหมือนกันจะอยู่ที่ปัจจัยพื้นที่ เช่น การบริการยืม คืน หนังสือ สื่อต่าง ๆ

 เดี๋ยวจะอัพเดทให้อ่านครับ แต่เคยเขียนในบล็อกไว้แล้ว

http://www.libraryhub.in.th


ห้องสมุดเดี๋ยวนี้ถ้าเทียบกับเมื่อ๕ปี ๑๐ปีที่ผ่านมาแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน เพราะไม่ต้องเดินไปหาห้องสมุดแล้ว ตรงกันข้ามห้องสมุดต้องเดินมาหาฉันสิ ดังนั้น ห้องสมุดปัจจุบันต้องทำหน้าที่นอกจากจะเป็นแหล่งรวมความรู้ ศาสตร์ทุกแขนงเท่าที่จะหาได้ ความรู้อยู่ในอากาศแล้ว ความรู้จึงวิ่งไปไหนก็ได้ แต่ทำอย่างไรให้คนอ่านเขา ยอมรับ พอใจ เข้าใจว่า และไว้ใจ เธอสนใจฉันหน่อย ฉันมาถึงห้องนอนเธอแล้ว ทำอย่างไรที่จะจุดประกายความกระหายไคร่รู้ อาจจะทำเหมือนโฆษณา สินค้าที่เข้ามาในเมลล์ของเรา ทั้งที่เราไม่ได้เชิญมันเลย อาจมีการยั่วให้ทดลองคลิกฉันสิ  ฉันพร้อมเสมอที่จะบอกสิ่งที่เธออาจไม่รู้มาก่อนนะ เมื่อปลา(ผู้อ่าน)ติดเบ็ดแล้ว ก็ค่อย ๆ จูง ค่อย ๆ ลากไปจนถึงฝั่งในที่สุด การทำให้อยากอ่าน วันละ ประโยคสองประโยค แล้วผู้อ่านก็อยากรู้มากขึ้น ๆ จนเวลาผ่านไปไม่รู้นานเท่าไร ผู้อ่านก็จะติดการอ่านเหมือนติดบุหรี่ มันต้องติดตาม ทุกวัน ๆ จะต้องเตือนหากผู้อ่านเว้นวรรคขาดการติดต่อมา ก็เสนอโปรโมชั่นใหม่ให้เลือก มันต้องมีสักหนึ่งอย่างที่เขาชอบ แล้วจัดพื้นที่ให้เขาเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับห้องสมุดแบบไม่เห็นตัวก็ยังสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมกันได้ อย่าสร้างเงื่อนไข อย่าให้กิจสลับซับซ้อน ให้เขาไว้ใจเรา เพราะเราคือเพื่อนที่รู้ใจเธอมากที่สุด 

odd-บ้านสมุนไพร

สวัสดีปีใหม่ 2556 นะครับอาจารย์ ขอให้มีความสุข อย่าได้เจ็บ อย่าได้จน สมหวังตลอดไป

ห้องสุดควรมี

1. บรรยากาศดี ๆ

2. หนังสือดีๆ

3. หนังสือมากเพียงพอแก่ความต้องการ

4.มีสื่อที่หลากหลาย

5. บรรณารักษ์ดี

บรรณารักษณ์ควรเป็น

1.ยิ้มแย้มแจ่มใจมีน้ำใจไมตรีต่อผู้ใช้บริการ

2.ให้บริการดีชี้แนะตอบคำถามได้ดีมีความรอบรู้

3. แต่งตัวดีดูแล้วน่าเชื่อถือ

4. มีความรู้ดีทันต่อเหตุการณ์


ห้องสมุดออนไลด์ประหยัดที่สุดสดวกรวดเร็วที่สุด แต่ว่าจะมีผู้สนใจมากน้อยแค่ใหน ยังไม่รู้เลย และก็อยากรู้ด้วยครับ

ณัฐมน ไทยประสิทธิ์เจริญ

สวัสดีค่ะ 

                การอ่านหนังสือจากหนังสือที่มีตัวตนจริง ทำให้ได้รับรู้ถึงอรรถรสของการอ่าน มองเห็นจินตนาการ เพราะฉะนั้นหนังสือ และสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์จะต้องไม่ตายไปจากหัวใจคนไทยอย่างแน่นอน ทว่าปัญหาสำคัญคือคนไทยส่วนใหญ่ไม่รักการอ่าน การดึงดูคนไทยให้เข้าถึงห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ จึงเป็นยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในหลายยุคหลายสมัย ได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง สุดท้ายก็โทษว่าคนไทยไม่มีนิสัยรักการอ่าน ในขณะที่หนังสือแพงหูฉี่  ในห้องสมุดส่วนใหญ่ก็ประดับไว้ด้วยหนังสือวิชาการ เพื่อให้เด็กใช้เป็นแหล่งอ้างอิงเวลาทำรายงาน ซึ่งเด็กเหล่านี้ ใช้วิธีเจาะหาหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรายงานที่ตนทำเท่านั้น ไม่ได้ดูภาพรวมว่าหนังสือเล่มนั้นๆ มีวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งถ้าจะให้หาคนผิดจริง ดิฉันขอโยนไปให้ระบบการศึกษาของไทย และกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กศึกษาคอนเซปต์ของสิ่งที่จะเรียนรู้ แต่ไปศึกษาเรื่องปลีกย่อย นี่แหละคือต้นเหตุของการวิธีการเรียนรู้ ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์

               สำหรับประเด็นที่อยากให้แสดงความคิดเห็น ได้แ่ก่

  • ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง 
               ดิฉันขอยกตัวอย่างศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม ในกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นห้องสมุดแนวโมเดิร์น มีหนังสือหลากหลายชนิด ทั้งวิชาการ การบริหาร บันเทิง มีมุมความรู้เรื่องต่างๆ เช่น มุมอาเซียน มุมตลาดเงินตลาดทุน มุมเฉลิมพระเกียรติ มีบริการสื่อ CAI บริการอินเตอร์เน็ต มุมกาแฟ และมีกิจกรรมในเรื่องของห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งเข้าไปดูตัวอย่างได้ ที่

http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/wangjan/activities/perfume.html

http://dnfe5.nfe.go.th/beau.html

http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/wangjan/activities/valentine.html

  • ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
    แน่นอนค่ะ ควรมีอย่างยิ่ง เพราะการจะเข้าถึงการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ควรจะมีการตั้งคำถาม เวลาที่มีหนังสืออะไรออกใหม่ และเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ควรเชิญนักเขียนมาพูดคุยพบปะผู้ใช้บริการห้องสมุด หรืออาจจะเชิญนักเขียนที่มีผลงานมายาวนาน มาถ่ายทอดวิธีคิด วิธีเขียน ในการสื่อความหมายผ่านตัวอักษรต่างๆ
  • บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
    บรรณารักษ์ ต้องเป็นนักอ่าน นักสังเกต ทำหน้าที่เสมือนนักขายมืออาชีพ แนะนำผู้ใช้บริการได้ว่าหากต้องการอ่านหนังสือแนวสอบสวนจะหาได้ที่จุดไหน ถ้าต้องการจะสอบบรรจุข้าราชการ ควรอ่านหนังสือเล่มใดเป็นต้น
  • เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
    เทคโนโลยีการสืบค้นปัจจุบันมีทั้งระบบ Internet และ Intranet ซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกสบายกว่าในอดีตมาก
  • บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่างไร
    ควรมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง เป็นกันเอง เหมือนห้องนั่งเล่นมากกว่าบรรยากาศของห้องหนังสือทึบๆ

    ส่วนประเด็นอื่นๆ ยังคิดไม่ออกในเวลาที่จำกัด เอาไว้โอกาสหน้าจะมานำเสนอใหม่นะคะ 

....ห้องสมุดพึงแนะให้..............รู้รอบ
กอปรกิจโดยรอบคอบ..............ถี่ถ้วน
ทุกผู้ร่วมส่วนประกอบ..............ปันแบ่ง
เคารพสิทธิ์เสมอล้วน...............เพื่อนผู้แสวงหา

....บรรณารักษ์กระตุ้นแหล่ง.......สนใจ
สืบเสาะ สำเนาไว....................น่าใช้
แนะ ลอง ฝึก แก้ไข.................ประเด็นติด- ขัดนา
วงแวดล้อมพึงไร้.....................พิษเร้นแอบแฝง

....แต่ละแห่งจัดให้..................เหมาะสม
สภาพ เพศ วัย แหลมคม...........ระดับใช้
อำนวยสิ่งแก้ปม......................แห่งเหตุ
ปรับเปลี่ยนอย่าหยุดไว้............โลกนี้เร็วจี๋

กอปร   [กอบ] ก. ประกอบ.
ประกอบ   ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
   เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสม
   หรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น
   อธิบายประกอบ.
สภาพ   น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพ
   ความเป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ,
   ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).

- ห้องสมุดควรเน้นให้บริการแบบหลากหลายรูปแบบ ในความรู้ทุกๆ ด้าน ด้วยคนเรานั้นรสนิยมไม่เหมือนกัน
- การให้บริการต้องกระทำโดยรอบคอบ อะไรควรให้ผู้ใดได้รู้ หรือใครยังไม่สมควรรู้ ต้องให้เหมาะกับวุฒิภาวะ
เช่น การจะให้รู้ถึงแหล่งจัดหาอาวุธ ยาเสพติด โดยทั่วไป ย่อมไม่สมควร
- ควรให้ผู้เข้าใช้บริการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ร่วมจัดบอร์ดถามตอบ (รวมแบบ web board) มีมุมสอนศิลปะ มุมนิทาน
- การให้บริการ ควรยึดหลักเท่าเทียมกัน ถ้าจะมีพิเศษ (เช่น เป็นอาจารย์ให้ยืมได้นานหน่อย) ก็อย่าได้ต่างจากปกติจนเกินไป

- บรรณารักษ์ควรเสนอแนะสิ่งน่าสนใจ หรือเรื่องอันบันดาลใจ โดยตั้งคำถามให้ค้นคว้า (อาจมีตัวช่วยเป็นระยะ ๆ)
เช่น บทประพันธ์ ของนักเขียนไทยคนใดที่ได้นำไปสร้างเป็นภาพยนต์ (เขียนเมื่ออายุน้อยกว่า ๑๕ ปี)
- เอกสารที่ค้นคว้า (ควรสืบค้นได้ลึกกว่าระดับ ชื่อหนังสือหรือผู้แต่ง) ควรพิมพ์สำเนาได้ (หากต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ค่าบริการ ก็แจ้งให้ชัดเจน)
- จัดให้มีมุมทดลอง ฝึกฝน หากมีปัญหาติดขัดก็ทิ้งคำถามไว้ได้ แล้วจัดให้มีผู้ตอบหรือผู้ถก
- การเปิดให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ แม้เป็นสิ่งดี
แต่บรรณารักษ์ก็ต้องถี่ถ้วน สังเกตตรวจสอบ ระวังอย่าให้เกิดการหาประโยชน์โดยมิชอบ

- การจัดห้องสมุดต้องคำนึงถึงผู้เข้าใช้บริการเป็นสำคัญ ต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะแก่สภาพ (ลักษณะในตัวเอง) ของแต่ละบุคคล
เช่น ผู้พิการ เด็กเล็ก (ซึ่งอาจทำเสียงดัง)
และต้องเหมาะแก่ระดับและประเภทผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ใฝ่รู้วิชาการ อาชีพ ศาสนา
ก็มีเอกสารด้านนั้น ๆ ให้ลุ่มลึก
- การตบแต่ง เปลี่ยนบรรยากาศควรอย่าให้ดูจำเจ
การแลกเปลี่ยน หนังสือ วัตถุ เอกสารระหว่างห้องสมุดด้วยกันก็ควรทำเป็นระยะ ๆ

บทบาทของห้องสมุต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (hybrid library)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท