การปรับสภาพบ้านสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุนั้นดีอย่างไร


สวัสดีวันส่งท้ายปีพุทธศักราช 2555 ค่ะ วันนี้ดิฉันขอนำเสนอเรื่องการปรับสภาพบ้านค่ะ

         ในที่นี้เป็นการปรับเพื่อความปลอดภัยในการอยู่อาศัยสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ เพราะนอกจากนักกิจกรรมบำบัดจะฟื้นฟูความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้แล้วนั้น สิ่งสำคัญอีกอย่าหนึ่งที่นักกิจกรรมบำบัดพึงให้ความสนใจคือ"สภาพแวดล้อมภายในบ้านและรอบตัวบ้าน" เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้จริง อย่างเต็มวามสมารถของตนเอง

          ก่อนอื่น ขอขอบพระคุณ คุณพิมล จงไพศาลสถิตย์ นักกิจกรรมบำบัด สภากาชาดไทย ผู้จัดทำคู่มือเรื่อง "การปรับปรุงดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้พิการ (Home and Environment Modification) ที่เป็นเจ้าของบทความดีๆเหล่านี้ค่ะ

สิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรมต่อผู้พิการ

  อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างสาธารณะ รวมทั้งถนนทางเดินโดยทั่วไปถูกออกแบบและก่อสร้างไว้สำหรับบุคคลปกติเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึง หรือให้ความสนใจในการออกแบบเผื่อไว้สำหรับผู้พิการ ทำให้ผู้พิการเป็นจำนวนมากต้องประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย เมื่อต้องกลับไปอยู่กับครอบครัวและสังคม ทั้งในการประกอบกิจวัตรประจำวัน การเดินทางไปไหนมาไหน(transportation) การเข้าสังคม และการประกอบอาชีพ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาทางกายต่อผู้พิการเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านจิตใจหลายอย่างตามมาได้ สำหรับอุปสรรคและสิ่งกีดขวางต่างๆ ด้านอาคารสถานที่ที่ผู้พิการพบอยู่เสมอ ทั้งที่บ้านและในที่สาธารณะ ได้แก่

  1. ทางเข้าตัวอาคารยกระดับสูงจากพื้น มีบันไดหลายขั้น แต่ไม่มีทางลาดขึ้นสู่ตัว อาคารหรือมีทางลาด แต่เป็นทางลาดที่แคบหรือชันเกินไป ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อ ผู้ที่ใช้เก้าอี้ล้อเข็นและผู้ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  2. ประตูทางเข้า – ออก แคบเกินไป ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็นไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ พื้นที่ว่างบริเวณประตูแคบเกินไป ประตูปิด – เปิดได้ลำบาก
  3. ไม่มีลิฟท์หรือทางลาดที่เหมาะสมไว้ให้ ในกรณีที่อาคารสูงเกินกว่า 1 ชั้น หรือ มีลิฟท์ แต่ประตูลิฟท์แคบ หรือมีพื้นที่ในลิฟท์น้อยเกินไป ประตูลิฟท์ปิด – เปิด เร็วเกินไป ปุ่มควบคุมอยู่สูงเกินไป ทำให้ผู้ใช้เก้าอี้- ล้อเข็นเอื้อมมือไปไม่ถึง
  4. พื้นที่ในตัวอาคารมีระดับไม่เท่ากัน ไม่มีทางลาดเชื่อมต่อ
  5. ห้องน้ำ ห้องส้วมมีทางเข้าหรือมีพื้นที่แต่ละห้องแคบเกินไป ไม่มี่ราวสำหรับให้คนพิการใช้เกาะเพื่อช่วยพยุง ตัวหรือเคลื่อนย้ายตัวจากเก้าอี้ล้อเข็นไปยังโถส้วม โถส้วมเป็นแบบนั่งยองๆ ทำให้ผู้พิการใช้ด้วยความ ยากลำบากหรือไม่สามารถใช้ได้เลย
  6. อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้านหรืออาคาร อยู่สูงหรือต่ำเกินไป ทำให้ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็นใช้ได้ไม่สะดวก เช่น ชั้นวางของ สวิทช์ไฟอยู่สูงหรือต่ำเกินไป เตียง โต๊ะหรือเคาน์เตอร์มีขนาดสูงหรือต่ำเกินไป

    การดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้พิการ

  1. ทางเข้าสู่ตัวอาคาร 
    บริเวณที่ยกระดับสูงจากพื้นหรือมีบันไดหลายขั้น ต้องจัดให้มีทางลาดสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็น ทางลาดที่เหมาะสม ควรมีความชันไม่เกิน 5 องศา หรือความสูงต่อความยาวไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 12 ความกว้างของทางลาดควรมากกว่า 90 เซนติเมตร

    รูปที่ 1
    รูปภาพที่ 1 อุปกรณ์เสริมทางลาดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้

    รูปที่ 2
    รูปภาพที่ 2 อุปกรณ์เสริมทางลาดควรออกแบบให้ยาวมากขึ้น เพื่อลดระดับความชัน ทำให้ง่ายต่อการเข็นเก้าอี้ล้อเข็น และพื้นทางลาดต้องไม่ลื่น ถ้าทางลาดมีความสูงเกิน 15 เซนติเมตร ต้องทำราวเกาะกันไว้

    รูปที่ 3
    รูปภาพที่ 3 ในกรณีที่บ้านติดถนนและประตูทางเข้าสูงจำเป็นต้องทำทางลาดให้ยาวขึ้นเพื่อลดระดับความชัน และต้องออกแบบให้มีที่พักหรือทำแบบหักมุม และที่พักบริเวณก่อนขึ้นลงทางลาดควรมีพื้นที่อย่างน้อย 1.5 x 1.5 ตารางเมตร ( 5 x 5 ตารางฟุต)

    ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์เสริมทางลาด

    รูปที่ 4
    รูปภาพที่ 4 ตัวอย่างอุปกรณ์เสริมทางลาดแบบรางคู่

    รูปที่ 5
    รูปภาพที่ 5 ตัวอย่างอุปกรณ์เสริมทางลาดแบบแผ่นเดี่ยว

    รูปที่ 6-1 รูปที่ 6-2
    รูปภาพที่ 6 ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์เสริมทางลาดแบบรางคู่

    รูปที่ 7
    รูปภาพที่ 7 ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์เสริมทางลาดแบบแผ่นเดี่ยว

    รูปที่ 8
    รูปภาพที่ 8 ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์เสริมทางลาดแบบแผ่นเดี่ยวใช้กับยานพาหนะ 
    ข้อควรระวัง ในการใช้ทางลาด กรณีที่ผู้พิการใช้ทางลาด เพื่อความปลอดภัยควรมีคนคอยระวังข้างหลังหรือช่วยเข็นเก้าอี้ล้อเข็นให้


  2. กลับด้านบน

  3. ประตู 
    ควรกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือกว้างมากกว่าความกว้างของล้อเข็น การเปิด – ปิด ประตูต้องทำได้โดยง่าย โดยทั่วไปประตูแบบเปิดออกจะสะดวกกว่าแบบเปิดเข้า การใช้ประตูแบบเลื่อนเปิด–ปิด โดยเฉพาะแบบปิด–เปิดอัตโนมัติจะสะดวกต่อผู้พิการมากที่สุด และไม่ควรให้มีธรณีประตู ถ้ามี ความสูงไม่ควรเกิน 1.3 เซนติเมตร หรือ 0.5 นิ้ว

    รูปที่ 9
    รูปภาพที่ 9 กรณีที่มีธรณีประตู ควรเสริมทางลาดเพื่อง่ายต่อการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่มีล้อ

    รูปที่ 10
    รูปภาพที่ 10 ประตูกว้างกว่าเก้าอี้ล้อเข็นพร้อมกับเสริมอุปกรณ์ทางลาด

    รูปที่ 11
    รูปภาพที่ 11 ประตูเปิด – ปิด อัตโนมัติ

    รูปที่ 12
    รูปภาพที่ 12 การใช้ประตูแบบเลื่อนเปิด – ปิด และไม่มีธรณีประตู

    รูปที่ 13
    รูปภาพที่ 13 การใช้ลูกบิดแบบเป็นด้ามสะดวกสำหรับผู้ที่กำมือได้ไม่ดี


  4. กลับด้านบน

  5. บันได
    ในกรณีที่ไม่สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้ผู้พิการอยู่ชั้นล่างได้และจำเป็นต้องใช้บันได สำหรับผู้พิการที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือคนชรา ที่มีความสามารถพอจะขึ้นบันไดได้นั้น บันไดต้องไม่ชันมากเกินไป ขนาดขั้นบันไดที่เหมาะสมคือ สูง 14 เซนติเมตร และกว้าง 32 เซนติเมตร บันไดต้องมีราวเกาะทั้ง 2 ข้าง ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 90 เซนติเมตร ขนาดของราวเกาะควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.25 ถึง 5 เซนติเมตร ( 0.5 ถึง 2 นิ้ว) และมีผิวไม่ลื่น เพื่อให้จับได้อย่างมั่นคง

    รูปที่ 14
    รูปภาพที่ 14 ขนาดความกว้างและความสูงของขั้นบันไดที่เหมาะสม

    รูปที่ 15
    รูปภาพที่ 15 บันไดมีราวเกาะทั้ง 2 ข้าง ทั้งพื้นและราวบันไดควรใช้วัสดุที่ไม่ลื่น เพื่อความปลอดภัย

    รูปที่ 16
    รูปภาพที่ 16 กรณีที่บันไดมีราวเกาะอยู่ข้างเดียว ควรเสริมราวเกาะติดกับผนัง อีกข้างเพื่อความสะดวกในการขึ้น–ลง

    รูปที่ 17
    รูปภาพที่ 17 เสริมราวติดผนังทั้งสองข้าง


  6. กลับด้านบน

  7. พื้นภายในตัวอาคาร
    ควรมีระดับเดียวกันตลอดทั้งชั้นและไม่ลื่น ถ้าต่างระดับกัน ควรจัดให้มีทางลาด พร้อมกับมีแผ่นกันลื่น

    รูปที่ 18
    รูปภาพที่ 18 การเคลื่อนย้ายตัวภายในบ้านสำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถเดินได้ต้องใช้เก้าอี้ล้อเข็น


  8. กลับด้านบน

  9. ทางเดิน
    ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 91.5 เซนติเมตร เพื่อให้เก้าอี้ล้อเข็นสามารถใช้ได้ พื้นทางเดินควรเป็นพื้นเรียบและไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวาง 

    รูปที่ 19
    รูปภาพที่ 19 ทางเดินเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็น หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่มีล้อเป็นส่วนประกอบ


  10. กลับด้านบน

  11. อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน

    6.1 เตียง ควรมีความสูงเท่ากับความสูงของเก้าอี้ล้อเข็น หรือสูงประมาณ 48 – 52 เซนติเมตร

    รูปที่ 20
    รูปภาพที่ 20 ขนาดความสูงของเตียงและเก้าอี้ล้อเข็นเท่ากัน พร้อมกับอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายตัว กรณีที่ผู้พิการเคลื่อนย้ายตัวเองได้ไม่ดีมีแรงแขนไม่พอที่จะยกตัวเองจากเก้าอี้ล้อเข็นไปเตียงหรือจากเตียงไปเก้าอี้ล้อเข็น

    รูปที่ 21
    รูปภาพที่ 21 ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายตัวระหว่างเก้าอี้ล้อเข็นกับเตียง

    รูปที่ 22-1 รูปที่ 22-2
    รูปภาพที่ 22 ตัวอย่างราวจับสำหรับช่วยในการลุกนั่งกรณีที่ผู้พิการอัมพาตครึ่งซีก


  12. 6.2 โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ ควรสูงประมาณ 76 – 85 เซนติเมตร หรือสูงกว่าที่พักแขนของเก้าอี้ล้อเข็นเล็กน้อย ชั้นวางของ สวิทช์ไฟ โทรศัพท์ ต้องมีความสูง พอเหมาะที่ผู้ใช้ล้อเข็นเอื้อมถึง หรือประมาณ 38 – 120 เซนติเมตร การจัดวางอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านควรจัดให้เป็นระเบียบ ไม่เกะกะ และมีพื้นที่พอสำหรับการเข็นล้อผ่านเข้าออก (กว้างมากกว่า 91.5 เซนติเมตร) หรือการเลี้ยวกลับล้อเข็น (มากกว่า 1.5 x 1.5 ตารางเมตร) 

    รูปที่ 23
    รูปภาพที่ 23 ตัวอย่างโต๊ะที่สามารถนำเก้าอี้ล้อเข็น เข้าถึงได้

    รูปที่ 24
    รูปภาพที่ 24 เคาน์เตอร์หรือชั้นวางของภายในห้องครัว

    รูปที่ 25
    รูปภาพที่ 25 โต๊ะสำหรับใช้กับเก้าอี้ล้อเข็นเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ และไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ใต้โต๊ะ


    กลับด้านบน

  13. ห้องน้ำ
    ควรมีพื้นที่ว่างกว้างพอที่ล้อเข็นเข้าไปได้ (มากกว่า 1.5 x 1.5 ตารางเมตร) ประตูทางเข้ากว้างตั้งแต่ 81.5 เซนติเมตรขึ้นไป หรือกว้างพอที่ให้เก้าอี้ล้อเข็นผ่านได้ และควรจัดให้มีราวเกาะติดผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังสำหรับให้ผู้พิการใช้เกาะพยุงตัว ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 85–90 เซนติเมตร (33 – 36 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวเกาะที่เหมาะสมประมาณ 3.2 - 5.1 เซนติเมตร ( 1.25 – 2 นิ้ว) และควรติดให้ยื่นห่างจากผนังมากกว่า 3.8 เซนติเมตร ( 1.5 นิ้ว ) เพื่อให้สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปกำราวได้สะดวก 

    รูปที่ 26
    รูปภาพที่ 26 ตัวอย่างห้องน้ำที่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในระดับที่ผู้พิการสามารถเอื้อมถึงและติดราวเกาะตามผนัง

    รูปที่ 27-1 รูปที่ 27-2
    รูปภาพที่ 27 การติดตั้งราวเกาะในห้องน้ำและเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำโดยที่ผู้พิการสามารถเปิด-ปิดน้ำฝักบัวได้

    รูปที่ 28
    รูปภาพที่ 28 ติดราวเกาะทั้งทางด้านนอกและด้านในของประตูห้องน้ำ

    รูปที่ 29
    รูปภาพที่ 29 ตัวอย่างห้องน้ำ ที่ติดตั้งฝักบัวให้อยู่ระหว่างที่นั่งอาบน้ำและ ชักโครกเพื่อสะดวกต่อการใช้

    รูปที่ 30-1 รูปที่ 30-2
    รูปภาพที่ 30 ตัวอย่างอุปกรณ์เสริม ใช้สำหรับถูตัวและหลังในกรณีที่ผู้ป่วยใช้มือได้ข้างเดียว

    โถส้วม
    ควรเป็นแบบชักโครกนั่งห้อยขาแทนแบบนั่งยองๆ หรืออาจใช้เก้าอี้นั่งถ่าย (commode chair) ช่วย ความสูงที่เหมาะสมของโถส้วมจะอยู่ที่ประมาณ 43 – 48 เซนติเมตร (17 – 19 นิ้ว)

    รูปที่ 31
    รูปภาพที่ 31 ติดราวเกาะกับผนัง และติดตั้งราวเกาะข้างอีกด้าน

    รูปที่ 32
    รูปภาพที่ 32 ติดราวเกาะกับผนัง และราวเกาะอีกด้านสามารถยกขึ้นและยกลงได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้เก้าอี้ล้อเข็นเมื่อเวลาย้ายตัวจากเก้าอี้ล้อเข็นไปนั่งชักโครก

    รูปที่ 33
    รูปภาพที่ 33 อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายตัว ไป-กลับ ระหว่างเก้าอี้ล้อเข็นกับชักโครก

    รูปที่ 34
    รูปภาพที่ 34 ตัวอย่างเก้าอี้นั่งถ่าย (commode chair) ซึ่งสามารถประดิษฐ์หรือประยุกต์วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ แทนได้

    อ่างล้างหน้า
    ควรสูงประมาณ 68.5- 91.5 เซนติเมตร และมีที่ว่างด้านล่างพอที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็นจะสอดขาเข้าไปได้ (อย่างต่ำ 43 เซนติเมตร)

    รูปที่ 35
    รูปภาพที่ 35 ผู้พิการสามารถสอดเก้าอี้ล้อเข็นเข้าไปใต้อ่างล้างหน้าได้เพื่อสะดวกต่อการใช้


กลับด้านบน

ตัวอย่างการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม
ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่เคยเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู
ในศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูสวางคนิวาส


  ผู้ป่วยหญิงเป็นอัมพาตครึ่งซีกข้างขวา หลังจากได้รับการบำบัดจากศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแล้ว ผู้ป่วยสามารถเดินโดยใช้ไม้เท้าได้แต่ยังไม่ค่อยมั่นคง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ญาติได้ปรับสภาพบ้านโดยจัดที่นอน ห้องน้ำ การจัดทำราวเกาะสำหรับเดิน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันบางอย่างได้ เช่นการเข้าห้องน้ำเอง การเดินภายในบ้าน เป็นต้น โดยใช้วัสดุที่สามารถหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และสามารถทำเองได้ เช่นการใช้ ท่อ พีวีซี เป็นต้น

รูปที่ 36
↑ การจัดเตียงนอนติดกับห้องน้ำ การทำราวเกาะทั้งสองข้างบันได
รูปที่ 37
↑ ติดฝักบัวด้านซ้ายมือ เมื่อเปิดน้ำให้ ระยะน้ำที่ตกลงพอดีกับตัวผู้ป่วย

รูปที่ 38
วางแผ่นกันลื่นที่พื้น ติดสายฉีดไว้ซ้ายมือ

รูปที่ 39
ผู้ป่วยสามารถเดินขึ้น-ลงเองได้

รูปที่ 40-1
รูปที่ 40-2
ผู้ป่วยลงมานั่งที่เตียงได้อย่างปลอดภัย

รูปที่ 41
ติดสวิทย์ไฟห้องน้ำแบบสองทางที่หัวเตียงนอนพร้อมโทรศัพท์

รูปที่ 42
ติดราวเกาะตามทางเดินระหว่างห้อง

รูปที่ 43
ราวเกาะตามทางเดินเข้า – ออก เชื่อมต่อกับประตู

รูปที่ 44

รูปที่ 45
ติดราวเกาะที่ประตู พร้อมลูกบิดประตูแบบเป็นด้ามจับ

รูปที่ 46
ติดราวเกาะทั้งข้างนอกและข้างในประตู

รูปที่ 47
ผู้ป่วยก้าวลงจากพื้นต่างระดับได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

รูปที่ 48
ระหว่างทางเดินมีที่ให้พักนั่งได้ ถ้าผู้ป่วยเดินไม่ไหว

รูปที่ 49
ผู้ป่วยเดินออกมานั่งเล่นข้างนอกเองได้

หมายเลขบันทึก: 514640เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

                

        ขอบคุณมากค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท