การมีส่วนร่วมของชุมชน


Community Participation

           การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดเป็นการแสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเพราะว่าคนในชุมชนจะทราบถึงปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของชุมชน จากนั้นก็จะมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชน ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

          การป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลโดยประชาชนในหมู่บ้านได้รวมตัวกันตั้งด่านตรวจที่ทางเข้าออกของหมู่บ้านเพื่อคอยตักเตือนผู้ที่ดื่มสุราไม่ให้ขับขี่ยานพาหนะ

          โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา

          โครงการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยใช้องค์ความรู้จากชุมชน
เช่น  

          - การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง

          - การใช้ปูนแดงผสมในน้ำ

          - การเผาอิฐให้ร้อนแล้วนำมาใส่ในตุ่มน้ำ

          - การช่วยเหลือแบ่งปันทุกข์-สุข ในชมรมผู้พิการ สมาชิกในชมรมผู้พิการร่วมมือกันสร้างห้องน้ำ

ให้แก่สมาชิกที่เป็นผู้พิการด้วยกัน


การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบาย

จากโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกซึ่งเป็นการพัฒนาภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบที่หลากหลาย เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการอพยพแรงงานปัญหาสารเคมีรั่วไหล จากปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบควรทำอย่างไร?มีเครื่องมือหรือกลไกลใดในการแก้ไขปัญหาหรือไม่? คำตอบของคำถามเหล่านี้คือ Health Impact Assessment (HIA) เป็นกระบวนการประเมินผลการทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพอันเนื่องมาจากนโยบายสาธารณแล้วเสนอการลดผลกระทบ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

          Screening  การเลือกนโยบายสำคัญมาประเมิน

          Scoping (public)  ผลกระทบจะมีอะไรได้บ้าง

          Assessing  ประเมินผลกระทบ  เช่น ต่อการเจ็บป่วย ต่อแหล่งน้ำ เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา
(อาจเกิดจากการคาดการณ์)

          Reviewing (Public) นำเสนอต่อสาธารณะว่าจะเห็นด้วยอย่างไร

          Influencing นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจ พิจารณา อนุมัติ

          Monitoring  ติดตามว่าทำตามสัญญาหรือไม่


การสำรวจความคิดเห็นแบบถกแถลง (Deliberative Opinion Polls)

          1.สุ่มคน

          2.เชิญมาถกแถลง

          3.ถกทั้งคนสนับสนุนและคนคัดค้าน

          4.ตั้งกลุ่มย่อย  รวมกันเลย

          5.เอามาถามในเวทีใหญ่ ถาม expert

          6.ทำแบบนี้นี้ 3-5 ครั้งจนไม่มีประเด็น

          7.Poll (voting) สุดท้าย เป็นข้อสรุป  ว่าชาวบ้านเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ข้อห่วงกังวลของสาธารณะเผยแพร่ออกไปทางสื่อมวลชน 

ความสำเร็จ

          1. ชาวบ้านเข้มแข็ง

          2. นักวิชาการและสื่อมวลชน

          3. การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายหลายจังหวัดเชื่อมโยงกัน




หมายเลขบันทึก: 514542เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท