เล่าเรื่องจากการเรียนรู้นอกสถานที่ ค่ายภาษาและวรรณกรรม “เรื่องเล่า กวี ดนตรี และธรรมชาติ”


การทำกิจกรรมนั้นไม่ได้บังคับให้ใครทำ จิตอาสาในการเป็นผู้หนุนเกื้อกิจกรรมก็เช่นกัน ไม่มีใครบังคับได้ แต่เพราะนี่คือ...จิตอาสา..จึงบังเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา

ริ่มต้นเดินทางค่ายวรรณกรรม

         ๒๐-๒๑ ธันวาคม ที่ผ่านมานักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย รวมทั้งตัวผมเองและทีมงาน กว่า ๖๐ ชีวิต เรามุ่งเดินทางสู่ เรือนภูงามรีสอร์ต อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ด้วยความมุ่งหวังที่จะพานักศึกษาทั้งมวลนั้น ไปเรียนรู้นอกสถานที่ ด้วยการฝึกหัดให้เขาเป็นผู้รู้จักการบันทึกประวัติศาสตร์ของตนเองให้ได้สักคราหนึ่ง เพราะปัญหาปัจจุบันในการเป็นผู้สอนหนังสือนั้น ผมมองเห็นด้วยความรู้สึกผมเองนี่ล่ะครับว่า “นักศึกษาหลงลืมความทรงจำตนเอง” แต่นั่นไม่สำคัญเกินไปกว่าการที่เขาไม่ก้าวพ้นกรอบความคิดออกสู่การเรียนรู้ที่กว้างใหญ่ในธรรมชาติเองเลยสักครั้ง การสอนในห้องก็เป็นเหมือนดั่งแม่นกที่สักแต่หาหนอนมาป้อนลูกนกก็คือ นักศึกษา พวกเขายังคงคิดเพียงว่า อาจารย์จะบอกทุกเรื่อง สอนทุกอย่าง  ดังนั้นโครงการเรียนรู้นอกสถานที่นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อที่จะให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเองดูสักครั้ง เรียนในสิ่งที่ตนอยากเรียน รู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้ อาจารย์เป็นเพียงผู้พาเดินทาง และรับฟังเขาเท่านั้น แล้วการเรียนนั้นจะเป็น “ธรรมชาติ”

           กิจกรรมเราเริ่มจากบนรถทัวร์ที่เดินทางออกจากมหาวิททยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ด้วยการร้องเล่น สร้างความสามัคคี กันตามประสาของลูกทุ่งบ้านนอกอย่างเรา แต่เต็มเปี่ยมด้วยความเป็นธรรมชาติ สนุกสนานกันตามสมควร บ้างหลับบ้างตื่นกันจนถึงวังน้ำเขียว ไม่รอช้าและพูดพร่ำทำเพลง เข้าสู่กิจกรรมในช่วงเช้า ท่านอาจารย์บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (ประธานสาขา) ให้แนวคิดแก่เราตั้งแต่ต้นล่ะว่า “มาค่ายครั้งนี้ ขอเป็นเราที่อยู่กับเด็กอย่างเป็นกันเอง เป็นพี่เลี้ยง และเป็นวิทยากรเองลองดู” ผมจึงเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการนันทนาการสร้างความสัมพันธ์ให้แก่นักศึกษาแบบเรียกสติหลังจากหลับใหลบนรถกันมานานพอสมควร จบลงด้วยการหาความมุ่งหวังของการมาค่ายครั้งนี้ 


เรียนรู้แบบพี่สอนน้อง

           จากนั้นผมแบ่งกลุ่มเป็นสองหมวดใหญ่ๆ คือ หมวดร้อยแก้ว เรื่องเล่า ที่เน้นไปว่าให้เป็นเพียงเรื่องเล่านั้นความจริงแล้วเพียงแค่อยากให้นักศึกษาผู้เป็นดั่งนกน้อยได้หัดบินด้วยการเขียนเรื่องราวของตนเองอย่างเรียบง่ายและมี่ซับซ้อนมาก ซึ่ง อาจารย์สันติภาพ ชารัมย์ อดีตเคยเป็นนักข่าวอิสระมาก่อน รับบทเป็นผู้ชี้แนวทาง ชี้นกชี้ไม้ พาผู้ร่วมงานสามสิบกว่าคนหัดเขียนอย่างสนุกสนาน บ้างบ่อนร้อน  บ้างบ่นไม้รู้จะเขียนอะไร แต่สุดท้ายเมื่อรวมกลุ่มกันเพื่ออวดผลงานสร้างสรรค์อย่างเร่งด่วนก็เห็นมีแววหลายคนทีเดียว

            อีกด้านหนึ่งเป็นหมวดการเขียนเชิงบทกวี ฝั้งนี้ ท่าน ผศ.บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ ประธานสาขาของเราลงมือลงแรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาโดยตรง ทั้งเพลง ทั้งบทกวี ถูพรั่งพรูออกมาสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนฝึกหัดอย่างเต็มที่ท่ามกลางหมู่แมกไม้ที่เขียวขจีกลางสันเขาแผงม้า เสียงหัวเราะและการร้องเพลงดังขึ้นเป็นระยะๆ ผลัดเปลี่ยนกันแลกเปลี่ยนอย่างเป็นกันเอง หาใช่รูปแบบครูกับศิษย์เหมือนแต่ก่อนไม่  เพราะผมแจ้งกับทุกคนไว้แล้วว่า “งานนี้ไม่ให้มีครู ไม่ให้มีศิษย์ มีเพียงพี่กับน้องเท่านั้น เพื่อให้การเรียนรู้ในครั้งนี้เกิดช่องว่างระหว่างวัยน้อยที่สุด และไม่อยากให้เป็นการเรียน แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจเสียมากกว่า"

                   การเรียนรู้ภาคเช้าเป็นไปด้วยความราบรื่น สนุกสนาน ต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวรรณกรรมกันอย่างถึงพริกถึงขิง สลับกับการนันทนาการให้ความสนุกสนานแก่ผุ้ร่วมกิจกรรมพอหายง่วง ก่อนที่จะเดินทางไปสู่ สวนดอกไม้แห่งวังน้ำเขียว (ฟอร่า พาร์ค) โดยก่อนที่จะก้าวลงสู่ลานดอกไม้นานาพันธุ์ ผมก็ให้โจทย์อย่างกว้างๆไปกับน้องๆทุกคนว่า ขอให้การเดินทางในทุ่งดอกไม้ครั้งนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจในการเขียนงานของเราทุกคน ในค่ำคืนนี้ ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง เพราะเราจะประกวดกันดูว่าใครจะเป็นเลิศนักเขียนข้ามชั่วโมงได้บ้าง ทุกคนดูตื่นเต้น และที่ตื่นเต้นมากที่สุดก็คือ สวนดอกไม้ด้านหน้านั้นสวยมากเสียทีเดียว (ผมแอบหวั่นใจอยู่เหมือนกันว่า งานนี้คงไม่มีใครสนใจเขียนอะไรให้ผมอ่านหรอก แต่ก็ไม่พูดอะไรเพราะเชื่อว่า เขาจะมีความรับผิดชอบตนเองอย่างมีจิตสำนึก รักษ์การเขียน) แล้วทุกอย่างก็เกินความคาดหวัง ยามเย็นก่อนทานข้าวผลงานการเขียนถูกส่งมาที่ผมอย่างล้นหลาม ทั้งรูปแบบกวีและเรื่องเล่า แต่ละผลงานมีทั้งการเล่าถึงการเดินทางทั้งวันที่ผ่านมา และเล่าบรรยายถึงความงดงามของฟอร่า พาร์ค ประปราย



รางวัลเรื่องเล่า(ชั่วคราว) ดีเด่น

  ผลงานทุกชิ้นที่ส่งมา ตอนแรกก็เพียงคิดว่าจะทดสอบผู้ร่วมค่ายเล่นๆ แต่ในความเล่นๆ เห็นเขาทำกันจริงจังจึงพลาดไม่ได้ที่เราน่าจะมีสิ่งตอบแทนเขาบ้าง ทุกเรื่องถูกกลั่นกรองอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากอาจารย์ผู้ร่วมค่ายทั้ง ๖ ท่าน ก่อนที่จะมีแนวความคิดว่า “เราหารางวัลให้เด็กๆเราดีไหม” แน่นอนว่าแนวคิดไม่เดียวดาย เพราะ ท่านอาจารย์บุณย์เสนอ ตอบสนองแนวความคิดเราทันทีเลยว่า “เอาเลย...อะไรที่เป็นการส่งเสริมนักศึกษาเราเอาเลย” เอาเป็นว่าเรามีงบก้อนแรกในการเป็นทุนรางวัล ๒,๐๐๐ บาท เสียแล้ว จากนั้นเรื่องการให้รางวัลนี้จึงถูกตอบรับอีกครั้งจาก ท่านปลัด อนุวัตร์ ศิริสวัสดิ์ (เจ้าของเรือนภูงามรีสอร์ท) สบทบทุนเราอีก ๒,๐๐๐ บาท สรุปแล้วกองทุนฉุกเฉิน เราเกิดขึ้น ๔,๐๐๐ บาท ภายในเวลาข้ามคืน

  การคัดเลือกเราไม่ได้กำหนดว่าจะต้องได้อันดับที่เท่าไหร่ เพียงแต่กำหนดกรอบไว้เพียงว่า ใครสมควรได้รางวัลต้องได้ ผลปรากฏว่ามีผู้สมควรได้รับรางวัล ๕๐๐ บาท ถึง ๕ เรื่อง รางวัล ๒๐๐ บาท ๓ เรื่อง และรางวัลชมเชยรางวัลละ ๑๐๐ บาท อยู่ ๙ เรื่อง ทุกคนตื่นเต้นและสร้างแรงกระตุ้นในการเขียนได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางคนถึงขั้นบ่นว่า เราน่าจะเขียนดีกว่านี้ อิอิ...เพราะเชื่อมั่นว่าตนเองเขียนได้ดีกว่านี้แน่ (นั่นแหล่ะ...คือลักษณะการทำกิจกรรมแบบฉบับผทมล่ะ ไม่บอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ)


เดินทางกลับ..ลาแล้ววังน้ำเขียว

             หลังจากที่เรามอบรางวัลเรื่องเล่างานวรรณกรรมข้ามชั่วโมงเสร็จในภาคเช้า ถ่ายรูปเป็นที่น่าจดจำกันเป็นที่เรียบร้อย ท่านปลัดใจดี เจ้าของรีสอร์ตเราก้เอ่ยปากว่าจะขอเป็นผผู้นำเที่ยววังน้ำเขียวด้วยตนเอง ทุกคนจึงใจชื่นขึ้นมาอย่างมากกว่างานนี้เรามีไกด์กิตติมศักดิ์แล้วเรา ซึ่งแน่นอนว่า ก่อนเดินทางโจทย์เราก็เกิดขึ้นอีกว่า ขอให้ทุกคนเอาเรื่องราวที่ตนเองเขียนมานั้น ไปเขียนต่อให้เสร็จแล้วส่งใหม่ (ซึ่งอาจจะเกิดอะไรขึ้นอีกก็เป็นได้) ผู้ร่วมกิจกรรม (น้องๆ) ต่างฮือฮากันเป็นการใหญ่ที่จะได้มีโอกาสเขียนใหม่ มีเสียงสอดขึ้นมาท่ามกลางรถเลยว่า “ประกวดอีกนะคะ..หนูจะเขียนมันๆเลย...”

             เราเดินทางออกจากเรือนถูงามรีสอร์ต ไปไร่องุ่น สวนลุงไกร ซึ่งเป็นไร่องุ่นเชิงการท่องเที่ยว ท่ามกลางแนวอุทยานแห่งชาติทับลาน บรรยากาศที่นั่นไม่บอกก็รู้ว่าสวย และสดชื่นมาก เด็กๆทุกคนเปลืองแฟร์ตกล้องถ่ายภาพไปเยอะในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งแรกก่อนที่ไกด์กิตติมศักดิ์ของเราจะอธิบายความเป็นมาของไร่เล็กน้อย และจ่ายเงินซื้อน้ำองุ่นกันละละหลายแพคทีเดียว 


           ...จากนั้นรถก็หันหน้าเบี่ยงสู่ผาเก็บตะวัน บนอุทยานแห่งชาติ พักกินข้าวเที่ยงเอาแรงกันก่อน เพราะตะลอนนิดเดียวเที่ยงเสียแล้ว ข้าวสวยกะหมูทอดคือเมนูบนผา วันนี้ สำหรับผาเก็บตะวันนั้น แรกได้ยินชื่อผมก็เชื่อมโยงไปถึงเพลง “เก็บตะวัน ของ อิทธิ พลางกูร” ผมคิดว่าคุณอิทธิ ก็คงมาเก็บตะวันที่นี่จริงๆนั่นแหล่ะ เพราะตะวันที่นี่ยามเที่ยงสาดแสงจ้า ร้อนแรงจริงๆ แต่ดูสีหน้าทุกคนยังคงมีไฟฝันเต็มปี่ยมทีเดียว..

           ...ลงจากผาเก็บตะวันเราเดินทางไปที่ฟาร์มเห็ด อันนี้เป็นของใครนั้นผมไม่ทราบจริงๆ รู้เพียงว่ามาที่นี่อิ่ม เพราะผลิตภัณฑ์จากเห็นมากมายถูกนำมาให้เราชิมกันทั่วทุกคน ชมการปลูกเห็ดสักพักก็มาถึงขั้นตอนการจ่ายเงินค่าของฝากอีกตามเคย แต่ที่นี่ก็ไม่ได้มากมายเท่ากับตลาดไทยสามัคคี ที่นั่นห่างจากฟาร์มเห็ดไม่มาก แต่เป็นสถานที่รวบรวมของดีวังน้ำเขียวไว้ให้ผู้คนนักท่องเที่ยวละลายทรัพย์กันยามกลับ

           เราอำลาไกด์ (ท่านอนุวัตร์ ศิริสวัสดิ์) กันที่ตลาดไทยสามัคคีแห่งนี้ และส่งเด็กๆค่ายวรรณกรรมกลับสู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ก็เกือบค่ำ ในการไปค่ายครั้งนี้ผมคิดว่า แม้จะเป็นค่ายวิชาการสักหน่อย แต่ผมก็คิดว่านี่เป็นการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนที่มีรสชาติและมีกลิ่นความหวังอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ต้องขอขอบคุณท่านหัวหน้าที่เป็นผู้หนุนเสริมกิจกรรมอย่างดีเยี่ยม และท่านปลัดอนุวัตร์ ศิริสวัสดิ์ เจ้าของรีสอร์ตที่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ในครั้งนี้

          การเขียนเรื่องราวในครั้งนี้ อาจจะดูเหมือนสารคดีท่องเที่ยวในตอนท้ายเพราะผมพยายามเขียนให้เป็นแนวทางเดียวกับนักศึกษาที่เขาอยากจะเขียนเป็นเรื่องเป็นราวบ้าง แต่กระนั้นก็คงไม่ทิ้งแนวทางการเล่าความทรงจำอันดีงามบนเส้นทางชีวิตนี้ เพราะการทำกิจกรรมนั้นไม่ได้บังคับให้ใครทำ จิตอาสาในการเป็นผู้หนุนเกื้อกิจกรรมก็เช่นกัน ไม่มีใครบังคับได้ แต่เพราะนี่คือ...จิตอาสา..จึงบังเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ท่ามกลางกิจกรรมนักศึกษาที่กำลังเติบหน่อเนื้อคนรุ่นใหม่...



หมายเลขบันทึก: 514231เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กิจกรรม ใครทำ คนนั้นได้...ได้อะไรๆๆมากกว่าที่คิด...แต่ที่แน่ๆได้ความเป็นคนมากยิ่งขึ้น

ชื่นชมผู้นำและกิจกรรมดีๆคับ 

ขอบคุณครับพี่นุ้ย...ที่นี่ผมต้องก้าวเดินช้าๆ เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรร่วมกันกับนักศึกษาครับ...

การเขียน คือภาพสะท้อนกระบวนการ หรือทักษะชีวิตที่มีต่อการ "สังเกต"  ของผู้คน
ผู้เรียน  สามารถใช้การเขียนเป็นกลไกในการพัฒนาตนเอง  ทั้งในการเรียนและการใช้ชีวิต
ฝึกให้ผู้เรียน  เขียนในเรื่องที่ใกล้ตัว,สนใจ....
การฝึก จำเป็นต้องเริ่มต้นให้เขาทำแบบต่อเนื่อง
หมายถึง  มอบหมายเป็นการงานเลยยิ่งดี
เพราะถ้าไม่กำหนดแบบนี้ ผู้เรียนก็จะไม่ใส่ใจ
มันจะเหมือนที่พี่บอกว่า  ถ้าไม่บังคับก็จะไม่มีระยะสิ้นสุด, ไม่ใส่ใจ,ไม่ลงมือทำ,ไม่กระตือรือร้น
แต่หากให้เขามีอิสระในการมอง - เก็บเกี่ยว-ตีความ ฯลฯ...

การเขียนเชิงบันทึกประจำวันในรูปแบบง่ายๆ  หรือเขียนสั้นๆ เป็นวาทกรรม หรือ "แคนโต้"  ก็ดีเหมือนกัน
แต่สำคัญคือให้แต่ละคนมีอิสระในการเลือกรูปแบบการเขียน และเลือกประเด็นตามความสนใจของเขา
....

ชื่นชม และให้กำลังใจนะครับ


ไม่แตกต่างจากที่ มมส  เท่าไหร่นัก....เคยได้พูดคุยกับ "นิสิต" เขาบอกว่าไม่รู้หรอกว่ารุ่นพีหรืออาจาย์จะให้ทำอะไรที่แรกก็ไม่อยากทำ   แต่พอลองทำตามที่พี่ ๆ และอาจารย์ให้ทำ   เขาบอกว่าเขาอยากทำอีก   อยากหาประสบการณ์     เพราะสิ่งที่อาจารย์ และสิ่งที่พี่ ๆ ให้ทำเขารู้สึกว่ามีความสุข  จนต้องไปชวนเพื่อนมาทำงานด้วยกัน ทุกครั้งที่มีโครงการของคณะ     

 

นั้นแสดงว่า   นิสิตกลุ่มนั้นเกิดแรงศรัทธาในขบวนการที่พี่ และอาจารย์นำทาง   ชื่นชม  และเป้นกำลังใจให้อาจารย์น้องสมปองนะจ๊ะ 


อ่านแล้ว ....นึกถึงอดีต ตอนที่เคยไปเป็นผู้ช่วยวิทยากร ค่ายเยาชนยาเสพติด

เกี่ยวกันไหม...เนี๊ยะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

ผมมาเรียนเอกภาษาไทย ยังบ่เคยไปออกค่ายจักเทือเลย 5555

บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ

ขอบคุณ อ.สมปอง ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์แก่เด็กภาษาไทยของเรา สักวันหนึ่ง พวกเขาคงรู้ว่า การอ่านทำให้เป็นคนเต็มคน และการเขียนทำให้เป็นคนเต็มคนยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท