สูไวบ๊ะ
นางสาว สูไวบ๊ะ สุวรรณกำพฤกษ์

แนวทฤษฏีนวัตกรรม


ทฤษฏีนวัตกรรมที่ถือว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 2 ทฤษฏีด้วยกัน ทฤษฏีแรก คือ ทฤษฏีของ Roger ซึ่ง Roger ได้กล่าวว่า"การที่สังคมมนุษย์จะใช้เทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใดในสังคมได้ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประดิษฐ์ และผู้ใช้ในสังคม กลับไปกลับมาจนกลายเป็นที่ ยอมรับ"

นอกจากนี้ Roger ได้แบ่งชนชั้นของกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยี ไว้ 5 ขั้นด้วยกัน 

ขั้นที่ 1 Inventor คือ คนกลุ่มแรกในสังคม ที่นอกจากเป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้นแล้วยังรวมไปจนถึงผู้ใช้งานที่มีความรู้ ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอนั่นเอง ร้อยละ 2.5

ขั้นที่ 2 Early Adopters เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ อาจเป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม  ร้อยละ 13.5

ขั้นที่ 3 Early Majorityกลุ่ม นี้จะตัดสินใจได้ต้องคิดหลายรอบแต่ต้องใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมของกลุ่มนี้มักดูจากการตัดสินใจของ สองกลุ่มแรก ร้อยละ 34%

ขั้นที่ 4 Late Majorityกลุ่ม นี้กว่าจะมีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้วแ ละมีความจำเป็นต้องการใช้งานจริงๆ จึงจะใช้ ในความคิดของผู้เขียนคิดว่า นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใดเข้าถึงการยอมรับของคนกลุ่มนี้ได้ถือว่าประสบความ สำเร็จแล้ว  มีอยู่ร้อยละ 34

ขั้นที่ 5 Laggard เป็นกลุ่มที่มีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเมื่อตกรุ่นไปแล้ว และเป็นกลุ่มสุดท้ายในสังคม กลุ่มนี้จะเลือกซื้อโดยสอบถามข้อมูลจากคนรอบข้างโดยเฉพาะดูพฤติกรรมของคนในสังคมกลุ่มก่อนๆ มีประมาณร้อยละ 16

ส่วนทฤษฏีที่สอง คือ ทฤษฏีผ่าเหล่าผ่ากอ เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสินค้าหรือบริการ ที่สามารถที่จะล้มล้างเทคโนโลยี สินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิมในตลาด 

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฏีนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 514226เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท