วางแผนการจัดการข้อมูลอย่างไรทำให้โครงการบรรลุเป้าหมาย?


หลายครั้งที่นักพัฒนาสุขภาพ เฉกเช่น บุคลากรสาธารณสุข ประสบความล้มเหลวจากการทำโครงการ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จมาจากการวางแผนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำอย่างไรจึงจะประสบค์ความสำเร็จ โดย Save time Save Budget go to Successful บทความนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการหาคำตอบเหล่านี้

Health information management
(การจัดการข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข)

แลกเปลี่ยนความรู้โดย รศ.นพ.สมเดช  พินิจสุนทร อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย กาญจนา  นิ่มสุนทร  นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

     สืบเนื่องจากแผนพัฒนาสาธารณสุข   และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้น  ซึ่งเป็นลักษณะของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ในอดีต แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของการรวบรวมข้อมูลข่าวสารจนถึงในปัจจุบันซึ่งทรัพยากรทางสุขภาพที่มีความสำคัญประกอบไปด้วย บุคลากร เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ สิ่งสนับสนุนต่างๆ ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ได้แก่  การมีปัญหามากมาย แล้วปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานหรือองค์กรของคุณคือปัญหาอะไร เช่น ปัญหาการมีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสุขภาพด้านอื่นๆ การมีงบประมาณไม่เพียงพอ และการขาดทรัพยากรอื่นๆ ทั้ง อาคารสถานที่  อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาเวชภัณฑ์ การขัดแย้งกันในองค์กร  ปัญหาดังกล่าวจะต้องมีการวางแผนการบริการจัดการที่ดีและจะต้องพิจารณาความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาในแต่ละเรื่อง  ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งต้องการเครื่องMRI เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคแต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเครื่องมือนี้ไม่มีความจำเป็นและเหมาะสมกับโรงพยาบาลชุมชน สามารถที่จะส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่มีความพร้อมกว่าได้  ปัญหานี้จึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลแห่งนี้

     นอกจากนี้ อาจารย์รศ.ดร.สมเดช พินิจสุนทร ยังได้ยกตัวอย่างการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่เป็นระบบ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย  โดยการตรวจร่างกายและการสัมภาษณ์ ครั้งที่ 4  พ.ศ. 2551 ซึ่งมีวิธีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ  ตัวอย่างเช่น 
มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการที่ชัดเจน  มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นระบบจากทะเบียนราษฎร์ที่มีความน่าเชื่อถือ  มีแบบสอบถาม แบ่งตามกลุ่มอายุ  มีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบและชัดเจนและมีการลดความซับซ้อนของข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด  เพื่อให้เห็นภาพรวม  โดยประยุกต์ใช่้แนวคิดในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ Leader: มีประสบการณ์ มีความสนใจอยากจะทำงาน และมีเหตุมีผล Preparation: มีทีมทำงาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือ มีการบริหารจัดการ  มีการติดต่อประสานงานล่วงหน้าก่อนเข้าไปดำเนินงาน  Field operation: การติดต่อประสานงาน วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล และการตรวจร่างกาย Data management: การส่งต่อสิ่งส่งตรวจ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล

     สรุป :  ในการจัดการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ จะต้องมีการดำเนินการอย่างมีระบบ โดยเริ่มจาก มีวัตถุประสงค์ในดำเนินการอย่างชัดเจน  มีภาระงานในการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีกิจกรรมการดำเนินงาน มีทีมการทำงาน มีการประสานงานที่ดี มีความรักและมีจิตวิญญาณที่จะทำงาน 

คำสำคัญ (Tags): #health information management
หมายเลขบันทึก: 513717เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท