กบ ช่วยให้น้ำนมบูดช้า????


ในอดีตฟาร์มโคนมในรัสเซีย  สมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น หรือเทคโนโลยีที่เก็บน้ำนมแบบทันสมัย  ตอนนั้นมีเกษตรกรเชื่อกันว่าหากปล่อยกบให้ว่ายอยู่ในถังนม  แล้วจะช่วยให้น้ำนมบูดเสียช้า  หรือเก็บน้ำนมได้นานขึ้น   และปฏิบัติต่อๆ กันมาด้วยความเชื่อ

ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้ามากขึ้นก็มี  นักชีวเคมีที่สนใจเรื่องนี้แล้วทำการศึกษาวิจัย  ก็พบว่า  ผิวหนังกบนั้นมีสรรพคุณพิเศษอย่างหนึ่งคือ สามารถผลิตสารต้านแบคทีเรียบางชนิดได้  ซึ่งกบแต่ละสายพันธุ์อาจจะผลิตสารยับยั้งแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ต่างกัน   และยังพบว่า  กบที่ผ่าตัดรังไข่ออกสามารถรักษาแผลผ่าตัดด้วยตัวมันเอง  โดยไม่ติดเชื้อแบคทีเรียใดๆ  ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้ยาปฏิชีวนะ

กรณีนี้ทำให้เห็นการเริ่มจาก Tacit Knowledge ที่เป็นภูมิปัญญา  แล้วกลายเป็นโจทย์วิจัยต่อมาทำให้ค้นพบวิทยากรใหม่ที่เป็น Explicit Knowledge มากขึ้น

อ้างอิง  http://www.biosciencetechnology.com/news/2012/12/frog-bucket-milk-folklore-leads-potential-new-antibiotics

http://www.wwno.org/post/scientists-look-new-drugs-skin-russian-frog



หมายเลขบันทึก: 513566เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2012 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2012 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท